นิยามแห่งกฏธรรมชาติ

นิยามแห่งกฏธรรมชาติ


นิยาม ๕
ตามหลักของพุทธศาสนา นิยามหรือกฎธรรมชาติมี ๕ อย่าง คือ

๑. พีชนิยาม กฎแห่งพืช ธรรมดาของพืช เช่น ปลูกถั่วได้ถั่ว (ไม่ใช่งา) อ้อยมีรสหวาน ดอกทานตะวันหันหน้าไปทางดวงอาทิตย์

๒. อุตุนิยาม กฎแห่งฤดู ธรรมดาของฤดู เช่น ฝนตก แดดออก ลมพัด ลมไม่พัด น้ำขึ้น น้ำลง ดอกบัวกลางวันแย้มกลางคืนหุบ ดอกแก้วต่างต้นบานพร้อมกัน

๓. กรรมนิยาม กฎแห่งกรรม ว่าด้วยการกระทำของมนุษย์ คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
 
๔. จิตนิยาม กฎแห่งจิต ธรรมชาติของจิต เช่น เกิดดับตลอดเวลา รับอารมณ์ทีละอย่าง

๕. ธรรมนิยาม กฎแห่งธรรมะ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา การที่สิ่งมีชีวิตต้องวนเวียนเกิดแก่เจ็บตาย ยากจะหลุดพ้นได้ ก็เป็นไปตามธรรมนิยามนี้เอง
 
เนื่องจากนิยามมี ๕ (แต่นิยามอื่นล้วนสรุปลงในธรรมนิยาม) ปรากฏการณ์ต่างๆ จึงเกิดจากกฎธรรมชาติหลายอย่างรวมกัน ดังนั้น ความเข้าใจที่ว่า ทุกสิ่งในโลกล้วนขึ้นกับกรรมนิยาม จึงเป็นความเข้าใจที่ผิด อย่างไรก็ตาม กรรมนิยามเป็นนิยามที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์ เพราะเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง มนุษย์มีสิทธิที่จะเลือกทำกรรมตามความพอใจ แล้วกรรมนั้นจะเป็นผู้ลิขิตโชคชะตาหรืออนาคตของมนุษย์ ส่วนนิยามอื่นๆ เป็นเรื่องของธรรมชาติ เช่น กลางวัน กลางคืน ฤดูหนาว ฤดูร้อน เกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์ มนุษย์จะห้ามปรามหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มนุษย์จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ เช่น ประดิษฐ์หลอดไฟเพื่อให้แสงสว่างในเวลากลางคืน ประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศเพื่อผ่อนคลายความหนาวร้อน สุขทุกข์ของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับกรรมนิยามเป็นสำคัญ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์