ลด ละ ปลด วาง กับ ความยึดติด

ลด ละ ปลด วาง กับ ความยึดติด




ลด ละ ปลด วาง กับ ความยึดติด
พระอาจารย์สยาดอ อู โชติกะ

ก่อนที่คุณจะ ลด ปลด วาง ความยึดติดในบุคคล หรือสิ่งหนึ่งส่งใดได้
พึงสำรวจความยึดติดนั้นในใจตนเองเสียก่อน

การเข้าใจความยึดติดนั้นสำคัญยิ่ง
เพราะคุณต้องเข้าใจมันให้ลึกซึ้งได้เสียก่อน
จิตจึงจะเป็นอิสระ


หากคุณดึงดันบังคับจิตให้ละลดปลดวาง สิ่งหนึ่งสิ่งใด
ทั้งๆที่ยังไม่เห็นความยึดติดนั้นตามความเป็นจริงได้แล้วล่ะก็
ไม่ช้าไม่นานมันก็จะหวนคืนขึ้นมาใหม่

หนทางเดียวที่จะกำจัดมันได้อย่างเด็ดขาดก็คือ

ต้องมองเห็นมันจนชัดเจนและเข้าใจมันจนลึกซึ้งเท่านั้น

การบีบบังคับตัวเองให้ละลดปลดวาง
หาใช่การละวางที่แท้จริงไม่


คนส่วนมากสร้างเกราะที่มองไม่เห็น
แต่ทะลลุทะลวงเข้าไปไม่ได้ขึ้นมาป้องกันตนจากการถูกทำร้ายจิตใจ
แล้วก็ต้งหน้าตั้งตาแสวงหาความพอใจ
จากเงินทอง ลาภยศ ความบันเทิงเริงรมย์
สิ่งเสพติด สุราเมรัย และความสุขทางเพศ

เพียงเพราะพวกเขารู้สึกเหงาที่ไม่มีใครรักและเข้าใจเขาอย่างแท้จริง
ทุกคนล้วนขลาดเกินกว่าที่จะกล้าเปิดใจออกมา
กลัวเกินกว่าจะปล่อยใจให้บอบบางต่อการกระทบกระทั่งใดใด


มันอาจจะมีความรักความกรุณาแบบฝืนใจ
ความจำต้องพอใจในสิ่งที่มี
และความถ่อมตนแบบข่มใจด้วยเช่นกัน

เบื้องหลังความรู้สึกเหล่านี้

อาจแฝงไว้ด้วยความเกลียด กลัว และหยิ่งผยองในตัวเอง
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมองให้เห็น
ความเกลียด ความกลัว ความหยิ่งผยอง ฯลฯ

การมองให้ทะลุก็อาจจะเป็นหนทางลัดอีกเส้นหนึ่งด้วยเช่นกัน

อาตมาก็ลำบากใจยามที่ต้องติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้คนด้วยเช่นคุณ
คนส่วนใหญ่ล้วนแต่มีความคิดความสนใจที่ผิวเผิน
โชคดีที่อาตมาเป็นพระภิกษุ
จึงสามารถหลีกเลี่ยงคนที่ตัวเองรับไม่ได้

แต่อย่างไรเสียเราก็เป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์สังคม
เราอยู่ตามลำพังไม่ได้
ยังต้องพบปะสัมผัสกับมนุษย์ด้วยกัน
อีกทั้งเรายังอยู่ในโลกที่คนส่วนใหญ่
ขาดสติ เห็นแก่ตัว ขาดความเกรงใจ
โง่งมหยิ่งผยอง ขี้อิจฉา ริษยา ฯลฯ


เพราะฉะนั้นก็จำเป็นอยู่เอง
ที่คนฉลาด และไวต่อความรู้สึก
จะต้องทนทุกข์จากการพบปะเกี่ยวข้องกับผู้คน
ความเข้าใจผู้คนให้ลึกซึ้งและความอดกลั้นจึงสำคัญยิ่ง


พึงเตือนตนให้ระลึกถึงพระพุทธพจน์ไว้เสมอ

“ปุถุชฺชโน อุมฺมตฺตโก” *
(ปุถุชนเป็นหมือนคนวิกลจริต ไว้เสมอ)


คุณกำลังรับมือกับผู้คนที่เพี้ยนเจียนบ้า

มนุษย์เราทุกคนแก่ลงเรื่อยๆ
แต่ก็จะใช่ว่าจะต้องเติบโตขึ้นด้วย


คนที่คุณรับมืออยู่ น่าจะเหมือนพวกเด็กที่แก่เกินวัย

ตราบใดที่คุณยังวิ่งหนีจากผู้คนไม่ได้
ก็ต้องพยายามใช้ทั้งปัญญาและกรุณา
เมื่อต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คน


หากเราไม่มีอะไรสักอย่างที่เหมือนคนอื่น
ก็ย่อมไม่มีเรื่องใดแบ่งปันเล่าสู่กันฟังกับเขา เธอผู้นั้นได้
คุณจะรู้สึกเป็นคนแปลกหน้าอยู่อย่างนั้น

หากคุณต้องการมิตร
คุณต้องลองนึกดูว่า คุณกับพวกเขามีอะไรเหมือนกันบ้าง
หากคุณสนใจพวกเขา
เขาก็ย่อมจะรู้สึกสนิทสนมกับคุณไปเอง


 
(คัดลอกบางตอนมาจาก : “มิตรภาพ สัมพันธภาพ กับความเมตตา” ใน หิมะกลางฤดูร้อน (Snow in the Summer)โดย พระอาจารย์สยาดอ อู โชติกะ พระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่า,แปลและเรียบเรียงโดย มณฑาทิพย์ คุณวัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ ๙ โดย สำนักพิมพ์ DMG, หน้า ๒๕๕-๒๕๗)

  
* หมายเหตุ :

คำว่า “ปุถุชฺชโน อุมฺมตฺตโก”

ไม่ทราบที่มาของข้อความนี้
และไม่พบในพระไตรปิฏกตามธรรมเนียมของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
คัมภีร์อรรถกถาทั้งหมด
ทั้งคัมภีร์อรรถกถาของพระอภิธรรม
หรืออรรถกถาอื่นก็ไม่รวมไว้ในพระไตรปิก
ซึ่งต่างจากธรรมเนียมของนิกายมหายาน

อย่างไรก็ตาม

ข้อความนี้มีปรากฏอยู่ในบางอรรถกถา
เช่น ใน อรรถกถามัชชิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายสูตร ที่กล่าวว่า

“อุมฺมตฺตโก วิย หิ ปปุถุชฺชโน”

พระพุทธโฆษาจารย์ก็มีกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเช่นกัน
และอาจพบได้ใน
ขุททกนิกายอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ทิฏฐิกถา (๒)
อัตตานุทฏฐินิเทสสวรรณณา
อีกด้วย




ทึ่มา ลานธรรมจักร

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์