จริยธรรมและอำนาจ

จริยธรรมและอำนาจ




จริยธรรม และ อำนาจ

อำนาจ เป็นคำกลางๆ
หมายถึง ความสามารถของบุคคล
ที่จะทำให้บุคคลอื่นปฏิบัติตามความต้องการของตน

ถ้าเป็นระดับหน่วยงาน

อำนาจของผู้นำ
คือความสามารถของผู้อื่นที่จะทำให้คนอื่นๆ ในหน่วยงานนั้น
ทำตามความต้องการของตน


อำนาจจึงเป็นเรื่องที่มีทั้งคุณธรรมและไม่มีคุณธรรม

การใช้อำนาจที่มีคุณธรรมไม่ใช่เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ของตนเอง
หรือเพื่อความยิ่งใหญ่ของตน
แต่เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อความยิ่งใหญ่ของตน
แต่เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น หรือของหน่วยงาน

อำนาจหน้าที่ เป็นเรื่องของสิทธิในการใช้อำนาจที่มีอยู่
ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในหน่วยงาน
จึงมีทั้งความชอบธรรมและไม่ชอบธรรม
เพราะอาจขัดแย้งกับคุณธรรมหรือจริยธรรม
จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกหลักจริยธรรมเสมอไป


อิทธิพล มีความหมายคล้ายคลึงกับอำนาจ
แต่มักใช้ในเรื่องของความสามารถ
ที่จะโน้มน้าวชักจงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ทั้งดีและเลว


แต่ไม่ใช่เป็นความสามารถในการบังคับโดยใช้เป็นเครื่องมือ
หรือวิธีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคล

ดังนั้น ผู้ใดที่มีทั้งอำนาจและอิทธิพล
จึงสามารถผลักดันให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยากที่ผู้อื่นจะต้านทานได้เป็นความเลวที่มีระดับ

ปัญหาทางจริยธรรมเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด
เช่น สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตนเองเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง
มากกว่าผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม

ผู้บริหารสามารถใช้อำนาจอย่างมีจริยธรรมได้อย่างไม่ยาก
ถ้าคำนึงถึงแนวทางของ ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
และถ้ามี ขันติ และโสรัจจะ ด้วย
ก็จะก้าวสู่ตำแหน่ง ผู้นำในฝัน ได้อย่างสบาย ...สบาย


  

(ที่มา..... “คนเหนือคน” : โครงการพบกันครึ่งทาง,
พิมพ์ที่โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๕๒-๕๔)



จาก..ลานธรรมจักร

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์