หน่ายกาม



         กามฉันท์หรือกามตัณหา เกิดขึ้นจากความไม่ฉลาด หลงคิดเห็นอรมณ์ต่าง ๆ  เป็นที่ถูกใจและยินดี สามารถข่มได้ด้วยวิธีทั้ง 6 ดังต่อไปนี้
 
   1. เพ่งใจให้เห็นอสุภารมณ์ คืออารมณ์ที่ปฏิกูลน่าเกลียดไม่งามของสังขารร่างกาย จนให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายความรักใคร่หายจากความกำหนัดยินดี

   2. เพ่งพินิจพิจารณาความเป็นปฏิกูลของร่างกาย (แยกออกเป็นอาการ 32 ที่เรียกว่า กายคตสติภาวนามี ผม ขน เล็บ ฟัน เนื้อ เอ็นกระดูก เป็นต้น)

   3. ใช้สติสำรวมอินทรีย์ เฝ้าระวังทวารทั้งหก (คือ ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ เมื่อได้ประสบพบเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อย่าให้กำหนัดยินดียินร้ายเกิดขึ้นในจิตใจ)

   4. ให้รู้จักประมาณการบริโภคอาหาร อย่าให้อิ่มมากจนเกินไป จนเป็นเหตุให้เกิดความกำหนัดทางกายและลุกลามเข้าไปถึงจิตใจให้เกิดความเศร้าหมองด้วยฉันทะราคะ

   5. ทำความวิสาสะคบหาสมาคมสนทนาปราศรัยสนิทสนมคุ้นเคยกับกัลยาณมิตร
เพื่อนผู้ดีงามที่จะชักชวนให้สนทนาในทางที่จะ....เสื่อมคลายหายจากความรักใคร่กำหนัดยินดี และยินร้ายในรูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

   6. ฝึกฝนปฏิบัติตนในทางที่ถูกตรงตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา



บทความจาก หนังสือก้าวข้ามความทุกข์ด้วยธรรมะ
บทความจาก หนังสือสะพานบุญก้าวข้ามความทุกข์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์