มือของเราสอนธรรมะเราได้ด้วยหรือนี่?

มือของเราสอนธรรมะเราได้ด้วยหรือนี่?


มือของเราสอนธรรมะเราได้ด้วยหรือนี่?


         ลูกจงดูมือของตัวเองทั้งหงายมือและคว่ำมือ  ขณะหงายมือและคว่ำมือให้พิจารณามือเราไปด้วย  ลูกจงหงายมือและคว่ำมือหลาย ๆ ครั้ง  พ่อจะถามว่าเรามีมือเหมือนกันไหม???? 


......... (เหมือนกันค่ะ) 


แล้วตรงไหนไม่เหมือนกัน???


............ (ขนาดมือไม่เท่ากัน  นิ้วมือไม่เหมือนกัน  ความสั้นยาวของนิ้วไม่เท่ากัน  มือหยาบกระด้างไม่เหมือนกัน) 


ทำไมถึงไม่เหมือนกัน??? 


เพราะเป็นคนละคนกันใช่ไหม??? 


เพราะหลากหลายการดูแลใช่ไหม???? 


เหมือนกับชีวิตเราไหม????  
    


ชีวิตแต่ละคนแตกต่างกัน  ลูกลองหงายมือและคว่ำมืออีกครั้ง  แล้วลูกจงพิจารณามือที่คว่ำกับมือที่หงายว่ามือส่วนไหนสวยกว่ากัน? 


...........(หงายมือสวยกว่าค่ะ) 


เพราะอะไร? 


..........(ผิวพรรณสวยกว่า  เต่งตึงกว่า) 


หงายมือหมายถึงชีวิตของเรา  นี่คือตัวเราที่มีพระธรรม  เมื่อมีพระธรรมก็เหมือนกับมือที่หงาย 


แต่หงายแล้วก็ยังไม่เหมือนกันอีก  เหมือนกับชีวิตของเรา  ขาวไม่เท่ากัน  ความนิ่มไม่เหมือนกัน  ความละเอียดของผิวไม่เท่ากัน  ความผ่องใสก็ไม่เท่ากัน 


คนที่มือหนามือด้านก็เหมือนกับคนที่รู้พระธรรมแล้วจิตยังหยาบ  หรือคนที่รู้พระธรรมดีแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตาม  
    


มือคว่ำเปรียบเหมือนกับคนที่ไม่มีพระธรรม คือ ดำมืด 


มือหงายคือคนที่มีพระธรรมคือสว่าง 


ชีวิตของคนเรามีสองด้านคือมืดกับสว่าง  จิตของคนมีหลากหลาย  แม้แต่จิตที่เป็นกุศลยังมีจิตกุศลมากจิตกุศลน้อยเลย 


เหมือนกับมือของคนนับล้านทั่วโลกที่ไม่เหมือนกัน  หากมือเหมือนกันก็เปรียบเหมือนกับคนที่มีจิตเหมือนกันมีกุศลเหมือนกันหรือคนที่มาทางเดินเดียวกัน 


เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ในธรรมะก็ใช่ว่าเขาจะดีเสียทุกคนหรือเขาจะพร้อมเสียทุกคน  มีไม่พร้อมก็มาก  และมีพร้อมที่จะไปก็มาก 
     บางคนเหมือนคนที่พร้อมที่จะไปแต่มือยังไม่นิ่ม  เหมือนการทาโลชั่นต้องใช้เวลาไหม กว่ามือจะนิ่มเหมือนเดิม? 


จิตคนก็เช่นกัน  บางคนเร่งวิปัสสนา  เร่งกรรมฐาน  เร่งสวดมนต์  เร่งทำความเพียรทั้งวันทั้งคืน  แต่ยังไม่เห็นผลอะไร 


ถึงเราหักโหมนั่งสวดมนต์ทั้งวันทุ่มเททั้งวันทั้งคืนแล้วแต่ยังไม่เห็นผลอะไร 


นี่เป็นเพราะจิตเราเหนื่อย กายเราเหนื่อย เราก็เป็นทุกข์  เราควรทำพอดีๆ  เหมือนการทาโลชั่น  หากเราทาตลอดเวลาทามากเกินไปก็เปลืองโลชั่นเปล่า ๆ  เพราะโลชั่นที่เราทาซึมซาบเข้าผิวได้ไม่หมด 


เช่นเดียวกันกับจิตของเราเวลาปฏิบัติ ให้ทำเต็มที่แบบพอดีๆ  ทางสายกลางที่เราไม่เหนื่อย  เราไม่ทุกข์  หากเราเหนื่อยเราก็พัก 


เหมือนทาโลชั่นเราควรทาพอดีกับผิวแล้วเราก็หยุดทา  หากอยากทาโลชั่นมากกว่านั้นอีกก็ไม่ได้ช่วยให้ผิวดีขึ้นได้  ทางที่ดีเราควรเว้นระยะเวลาในการทาโลชั่น  
      


เช่นเดียวกับเราเราควรปฏิบัติแบบไม่ทุกข์  ทำพอดีๆ แบบทางสายกลาง  พ่อไม่ได้สอนให้มุ่งทางธรรมจนลืมทางโลก  ไม่ใช่  ถ้าเราทำแต่ทางนี้แล้วทำให้ข้างหลังเดือดร้อน  หน้าที่ทางโลกไม่ทำก็ไม่ใช่  ต้องทำให้สมดุลกันทั้งทางโลกและทางธรรม  ทั้งทางกายและทางจิต.......

ขอบคุณที่มา  ::  ปู่มาสอน แบบ ให้คิดคะ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์