การทำความดีแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

การทำความดีแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

วัดพระธรรมกาย 6 : การทำความดีแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

คนส่วนใหญ่ในโลกเมื่อเวลาทำความชั่ว จะทำแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แต่พอจะทำความดีจะทำแบบเล็กๆน้อยๆ เช่น
- นั่งเล่นไพ่ได้คราวละหลายๆชั่วโมง แต่พอให้นั่งสมาธิ ประเดี๋ยวเดียวบอกเมื่อย
- ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เที่ยวกลางคืน ใช้เงินถึงไหนถึงกัน บ้างก็กู้หนี้ยืมสิน แต่พอจะทำบุญบอกสิ้นเปลืองเสียดายทรัพย์
- เด็กเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ได้ดึกดื่น บางทีถึงสว่าง แต่พอให้อ่านหนังสือเรียนบอกง่วงนอน
- กลุ่มวัยรุ่นถูกมองหน้า หาว่าเขาหมิ่นศักดิ์ศรียกพวกตะลุมบอน บาดเจ็บล้มตายแต่ 
ให้นั่งสมาธิบอกกลัวขาเป็นเหน็บชา
ทำให้สังคมไหลไปสู่ทางเสื่อม เพราะคนส่วนใหญ่ให้กิเลสเป็นตัวนำในการตัดสินใจ
ทิศทางสังคมจะเปลี่ยนได้เมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระบรมโพธิสัตว์ที่ทุ่มเททำความดีแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นแบบอย่างสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนอีกจำนวนมากทำความดีอย่างจริงจังตามอย่าง
>>พระภิกษุรุ่นบุกเบิกของวัดพระธรรมกาย ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สร้างความดีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ตั้งแต่ยังเป็นนิสิตนักศึกษา ตั้งใจบวชอุทิศชีวิต โดยไม่อาลัยต่อความสุขสบาย ความสำเร็จทางโลก จึงเป็นแบบอย่างสร้างแรงบันดาลใจในการทำความดีให้กับพระภิกษุรุ่นต่อๆมาถึงปัจจุบัน ขยายผลไปถึงอุบาสก อุบาสิกา ศิษย์วัด แม้ญาติโยมวัดพระธรรมกายจำนวนมากก็เป็นผู้ที่ตั้งใจทำความดีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน นี้เป็นความโดดเด่นที่ดูแตกต่างจากคนทั่วไปในปัจจุบัน จึงเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์ว่าหลงบุญ บ้าบุญ
ผู้ที่อ่านเรื่องราวในสมัยพุทธกาล บางคนไม่เชื่อว่าจะมีบุคคลที่ตั้งใจทุ่มเททำความดีขนาดนั้นอยู่จริง เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างวัดเชตวันโดยเอาเงินเป็นแท่งปูเรียงเต็มพื้นที่เพื่อซื้อที่ดิน สร้างวัดใหญ่รองรับพระภิกษุได้นับพันรูป สิ้นทรัพย์รวมถึง 540 ล้านกหาปณะ คิดเป็นเงินปัจจุบันมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ต่อมาวิบากกรรมเก่าส่งผล ฐานะยากจนลง จนแม้จะเลี้ยงพระก็ทำได้แค่ต้มข้าวต้มด้วยปลายข้าวกับน้ำผักดอง 
หากเป็นสมัยนี้หลายคนคงคิดว่า ทำไมบุญไม่ช่วย หมดศรัทธาเลิกทำบุญ และคงมีผู้ตำหนิอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่าหลงบุญ บ้าบุญ ทำบุญจนหมดเนื้อหมดตัว 
วันหนึ่งเทวดาที่ซุ้มประตูบ้านเศรษฐีเหาะลงมาห้ามเศรษฐีให้เลิกทำบุญ เพราะข้าวก็จะไม่มีกินอยู่แล้ว แทนที่จะเชื่อ อนาถบิณฑิกเศรษฐีซึ่งเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบันแล้ว มีศรัทธาในพระรัตนตรัยที่มั่นคงไม่คลอนแคลน จึงไล่เทวดาไปบอกว่าถ้าเป็นเทวดามิจฉาทิฐิอย่างนี้ ไม่อนุญาตให้อยู่ที่ซุ้มประตูบ้านเรา สุดท้ายเทวดาต้องขอขมาโดยไปตามทรัพย์กลับคืนมาให้ ผลบุญส่งเศรษฐีก็กลับรวยขึ้นกว่าเก่า
>>วัดพระธรรมกายมุ่งสร้างสังคมดังเช่นครั้งพุทธกาลให้กลับคืนมา โดย พระภิกษุก็ตั้งใจบวชด้วยอุดมการณ์ ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง นุ่งห่มจีวรเป็นปริมณฑล มีศีลาจารวัตรงดงาม ศึกษาปฏิบัติธรรมและเผยแผ่ธรรม เป็นเนื้อนาบุญแก่ญาติโยม ญาติโยมก็ตั้งใจศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรม และอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ช่วยเหลือกิจการงานพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง เช่น การตักบาตร การชวนคนบวชพระ การทอดผ้าป่าช่วยวัดใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การต้อนรับคณะพระธุดงค์ธรรมยาตรา เมื่อร่วมในพิธีกรรมสงฆ์ก็สำรวมกาย วาจา ใจ ภาพที่ออกมาจึงเป็นระเบียบเรียบร้อย งดงาม เพราะความร่วมใจของทุกคน
ญาติโยมวัดพระธรรมกายตั้งใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง ญาติโยมซึ่งมีฐานะยากจนก็ทำบุญคราวละ 10 – 20 บาท ที่มีฐานะปานกลาง ก็อาจทำบุญคราวละร้อยหรือพัน ที่มีฐานะดีก็อาจทำบุญคราวละเป็นหมื่น แสน หรือล้าน ญาติโยมบางคนมาวัดแรกๆยังยากจนทำบุญครั้งละ 10 บาท เมื่ออยู่ในบุญตั้งใจทำความดีตามโอวาทคำสอนที่ได้รับ ขยันขันแข็ง ไม่ยุ่งอบายมุข สุดท้ายร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีทำบุญคราวละเป็น 10 ล้านบาทก็มี
ในญาติโยมเรือนล้าน ผู้ที่ทุ่มทำบุญมากจนเกินตัวก็คงมีอยู่ แต่เราไม่ควรเอากรณีของคนเพียงส่วนน้อยมาโจมตีจนสังคมมีอคติต่อการให้ทาน เหมือนถ้ามีนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาบางคนอ่านหนังสือมากจนล้มป่วย เราก็ไม่ควรโจมตี รร.เตรียมฯ ว่าสอนผิด ทำให้เด็กหลงการเรียน เรียนมากไปจนป่วย ควรมองภาพรวม
จริงๆแล้วการให้ทานเมื่อทำอย่างมีวัตถุประสงค์ ไม่มีคำว่ามากไป พระโพธิสัตว์ท่านถึงขนาดให้ชีวิตของตนเองเป็นทานด้วยซ้ำไป ซึ่งทำได้ยากยิ่งกว่าการให้ทรัพย์เป็นทาน
ปัญหาของสังคมไทยขณะนี้ไม่ใช่เรื่องคนให้ทานมากไป แต่อยู่ที่คนใช้ทรัพย์ไปกับอบายมุขทั้งเหล้า บุหรี่ การพนันมากไป มากกว่าการทำบุญเป็นสิบเท่า เราไม่ควรโจมตีคนทำบุญ แต่ควรใช้เวลา สติปัญญา รณรงค์ให้คนไทยเลิก ลด ละ อบายมุขดีกว่า
มีประเด็นโจมตีวัดพระธรรมกายซึ่งขัดแย้งกันเองคือ
- วัดนี้สอนให้ทำบุญจนหมดเนื้อหมดตัว
- วัดนี้คนเข้าวัดมีแต่เศรษฐี คนรวย
ถ้าวัดสอนให้ลูกศิษย์ทำบุญหมดเนื้อหมดตัวจริง วัดก็น่าจะเหลือแต่คนจน คนหมดตัว วัดจะมีแต่ลูกศิษย์ที่เป็นเศรษฐี คนรวยได้อย่างไร
>>ความจริงคือ วัดสอนให้ญาติโยมรู้จักประหยัด อดออม ไม่ยุ่งอบายมุข ขยันขันแข็งทำการงาน และรู้จักการทำบุญ ทั้งทาน ศีล ภาวนา เมื่อผลบุญส่งฐานะร่ำรวยขึ้น ก็เก็บเงินส่วนหนึ่งมาทำบุญ ลูกศิษย์วัดส่วนใหญ่จึงมีฐานะร่ำรวยขึ้น

_หมายเหตุ ขอขอบคุณข้อมูลจาก ดร.รัฐรพี พิพัฒน์ธนวงศ์

การทำความดีแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์