สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน, ฌาน, ญาณ, อภิญญา

ขอขอบคุณ Trader Hunter พบธรรม

ญาณ มี 7 อย่างคือ
บุเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตของคนหรือสัตว์ได้
จุตูปปาตญาณ ปัญญาที่รู้ว่าคนหรือสัตว์ก่อนจะมาเกิดเป็นอะไรมาก่อน เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร
เจโตปริยญาณ ปัญญาที่รู้ใจคน รู้อารมณ์ความคิดจิตใจของคนและสัตว์
อตีตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในอดีต เหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้ว ทั้งในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ ของคนและสัตว์
ปัจจุปปันนังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในปัจจุบันว่าขณะนี้ใครทำอะไรอยู่ และมีสภาพอย่างไร
อนาคตตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในการต่อไปว่า คน สัตว์ สรรพวัตถุ เหล่านี้ต่อไปจะเป็นอย่างไร รู้ได้ตามภาพที่ปรากฏ ถ้าภาพที่ปรากฏไม่ชัดเจน ก็อธิษฐานถามก็จะรู้ชัดและไม่ผิด
ยถากัมมุตญาณ ปัญญาที่รู้ผลกรรม คือ รู้ว่าคนเราที่ทุกข์หรือสุขทุกวันนี้ ทำกรรมอะไรมาในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติจึงเป็นเช่นนี้ และจะแก้ไขได้หรือไม่ประการใด
อภิญญาหก อภิญญา แปลว่า ความรู้อย่างยิ่งสูงกว่า ญาณมี 6 อย่าง
เมื่อเราฝึกการใช้ฌาณทั้ง 7 จนคล่องแคล่วชำนาญดีแล้ว อภิญญาจะค่อยๆ เกิดตามมา อภิญญาทั้ง 6 ได่แก่
อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น อยู่ยงคงกระพัน ล่องหนหายตัว ย่นระยะทางได้ เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน เดินบนผิวน้ำ หรือเดินลงไปในน้ำได้
ทิพยโสต มีหูทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกลหรือเสียงอมนุษย์ ได้ยินเสียงสัตว์ เสียงเทพ เสียงพรหม รู้เรื่อง
จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์ แต่รู้หมดทุกภพทุกชาติ ถ้าฌาณธรรมดาจะรู้เพียง 4-5 ชาติ แต่อภิญญารู้หมดทุกภพทุกชาติ
เจโตปริยญาณ รู้วาระจิต รู้ความคิดในใจของคนและสัตว์ได้
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ของคนหรือสัตว์ได้ทุกภพทุกชาติ
อาสวักขยญาณ ปัญญาที่ขจัดอาสวกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป อภิญญาข้อนี้เองจะเป็นหนทางให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้
สมถะ แปลว่า ความสงบ กาย วาจา ใจ วิปัสสนา แปลว่า การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง กรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่ สมถะวิปัสสนากรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่เพื่อเกิดความสงบทาง กาย วาจา ใจ เป็นการทำปัญญาให้เห็นแจ้ง
ฌาน
ฌาน คือ การหยั่งรู้หรือการเพ่งในองค์กรรมฐาน ฌานนั้นมี 4 รูปฌาน และ 4 อรูปฌาน รวมกันเราเรียกว่า สมาบัติ 8 และอุปสรรคขวางกั้นฌานคือ นิวรณ์ 5
พระพุทธเจ้าสอนให้เราเริ่มจากทาน คือรู้จักการให้ เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนี่ยวหรือละความโลภก่อน แล้วจึงมาถึงศีลคือ การไม่เบียดเบียนกัน สมาธิคือการฝึกจิตตั้งมั่นในการบำเพ็ญเพียรภาวนาจนเกิดฌาน คือ การหยั่งรู้ แล้วจะเกิดฌาน คือ ปัญญานั่นเอง อย่างที่เราเรียกว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
ฌานนั่นมี 4 รูปฌาน และ 4 อรูปฌาน
ฌานหนึ่งหรือปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์
วิตก : คือ ยังภาวนาพุทโธอยู่
วิจาร : คือ การคิดว่าพุทหายใจเข้า โธหายใจออก
ปิติ : มีอาการ 5 อย่างคือ ขนลุก น้ำตาไหล ตัวโยก ตัวลอย ตัวขยายใหญ่ขึ้น (อาจมีเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง)
สุข : จิตที่อิ่มในอารมณ์
เอกัคคตารมณ์ : จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน
ฌานสองหรือ ทุติยฌาน จะมีเพียงแค่ ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์
ฌานสามหรือ ตติยฌาน จะมีเหลือเพียง สุข กับ เอกัคคตารมณ์
ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน คนเราส่วนมากมักจะติดอยู่ในฌานสาม จะมีแต่สุขกับเอกัคคตารมณ์ หรือจิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เมื่อสุขแล้วก็ไม่อยากคิดอะไร จึงติดอยู่ในสุขไปไหนไม่ได้ ฌานหนึ่งถึงฌานสามเรียกว่าสมถะกรรมฐาน คือ ความสงบในกาย วาจา ใจ ถือเป็นสมถะกรรมฐาน เราต้องใช้วิปัสสนาด้วย วิปัสสนาคือ การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง เมื่อจิตสงบอยู่ในฌานสาม ให้รีบพิจารณา พิจารณาอะไร พิจารณาพระไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
ลักษณะ 3 อย่าง คือถ้าเรานั่งสมาธิไปนานๆ มันจะเกิดความปวดเมื่อย ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เราเรียกว่า ทุกขัง คือ ภาวะที่ทนได้ยาก อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง เราจะนั่งอยู่อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน ทั้งเดือน คงจะไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงจากนั่งเป็นยืน เดิน นอน การเปลี่ยนแปลงนี้เราเรียกว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง
อนัตตา คือ กายนี้ไม่ใช่ของเรา ถ้าเป็นของเรา เราจะต้องไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่แก่ ไม่เฒ่า เพราะกายนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นอนัตตา ตัวไม่ใช่ตนของเรา ความตายไม่มี

สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน, ฌาน, ญาณ, อภิญญา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์