จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ 
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ 
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ 
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ 
หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ 
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ 
จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน 
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต 
จิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต 
จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า 
หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า 
จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น 
จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือ
จิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง 
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิต
ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ 
อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ 
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.
_____________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
ขยายความ [เฉพาะคำที่ยากแก่ความเข้าใจ]
3.1.จิตเป็นมหรคต = คำว่า "มหรคต"มหัคคต มีความหมายเหมือนกัน หมายถึงจิตที่เข้าถึงความเป็นใหญ่ ได้แก่ฌานจิตขั้นต่างๆ ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน รวมทั้งจิตที่มีพรหมวิหาร 4
ตัวอย่างที่แสดงว่าจิตมีพรหมวิหารเป็นมหรคต คัดลอกบางส่วนจากพระไตรปิฎกเล่ม 19 เมตตสูตร
จงมีใจประกอบด้วย[เมตตา,กรุณา,มุทิตา,อุเบกขา][ย่อรวมกัน จริงๆเขียนแยก]แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคตหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
3.2.จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า=สภาพจิตในลักษณะต่างๆที่ หยาบกว่าที่เคยรู้สึก เช่น จิตยังอยู่ในกามาวจร หยาบกว่าจิตที่เข้าฌาณ [ทั้งจิตตนเอง หรือ จิตผู้อื่น[ในกรณีรู้วาระจิตผู้อื่น]] 
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า =สภาพจิตในลักษณะต่างๆที่ประณิต ละเอียดกว่าขึ้นกว่าที่เคยรู้สึกเป็นลำดับไป[ทั้งจิตตนเองหรือจิตผู้อื่น[ในกรณีรู้วาระจิตผู้อื่น]]
3.3. 
เห็นจิตในจิตภายใน ==> ระลึกรู้สภาวะจิตตนเอง 
เห็นจิตในจิตภายนอก==> ระลึกรู้สภาวะจิตผู้อื่น

ขอขอบคุณ Trader Hunter พบธรรม

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์