กำหนด “จุดรู้” ไว้ “จุดเดียว” รวม “ความรู้สึก” ทั้งหมด

กำหนด “จุดรู้” ไว้ “จุดเดียว” รวม “ความรู้สึก” ทั้งหมด ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ ไว้ที่ “จุดเดียว” โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ “รู้ตัว” อย่างเดียว มี “สติ” รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ อย่าบังคับจิต อย่าปล่อยจิตให้ล่องลอย ไปตามยถากรรม อย่าปรุงแต่ง อย่าตามความคิดของตนเอง ให้มี “สติรู้อยู่ที่จุดเดียว”
จากนั้น ค่อยๆ “รักษาจิต” ให้อยู่ในสภาวะรู้ "อยู่กับที่" ต่อไป
ครั้น พลั้งเผลอ สติอ่อน รักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไป เสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด

ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้ บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจ.. ในการ เจริญจิตครั้งต่อๆไป พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง
เมื่อกำหนดถูก และ พุทโธ ปรากฏใน มโนนึก ชัดเจนดีก็ให้ "กำหนดนึก" ไปเรื่อย อย่าให้ "ขาดสาย" ได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นไป สู่อารมณ์ทันที ความไม่ขาดสาย ของ “พุทโธ” จะต้องเป็นไป ด้วยความไม่ลดละ

ข้อควรจำ ในการ “กำหนดจิต” นั้น ต้องมี “เจตจำนง” แน่วแน่ ในจิต จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"หรือ “สติ” ...

กำหนด “จุดรู้” ไว้ “จุดเดียว” รวม “ความรู้สึก” ทั้งหมด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์