กัป, อสงไขย, อันตรกัป, และ มหากัป..หน่วยนับเวลาในพุทธศาสนา


เรื่องของหน่วยนับเวลาในพุทธศาสนา กัป,อสงไขย, อันตรกัป, และ มหากัป


1 อสงไขยปี เท่ากับ 1 x 10 ยกกำลัง 140 ปี ( 1 ตามด้วยศูนย์อีก 140 ตัว )

1 รอบอสงไขย เท่ากับ 1 อันตรกัป

ใช้วิธีนับอายุลดลงจาก 1x10^140 ปี ลดลง 1 ปี ในทุก 100 ปีต่ำลงมาจนเหลืออายุขัย 10 ปี แล้ว เพิ่มขึ้นไปใหม่จนเท่าเดิมคือ 1x10^140 ปี

(^ = ยกกำลัง)

64 อันตรกัป เป็น 1 อสงไขยกัป


4 อสงไขยกัป เท่ากับ  1 มหากัป


1 มหากัป มี 256 อันตรกัป (256 รอบอสงไขย )

1 กัป เท่ากับ 3.3 x 10^24 ปี
1 กัป ไม่เท่ากับ 1 อันตรกัป

# # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # #


เรื่องของ กัป จากพระไตรปิฏก ประมาณคำว่า 1 กัป ได้ดังนี้
สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ และ สูง 1 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป
วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร
ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 16X16X16 = 4096 ลูกบาศก์กิโลเมตร
ประมาณว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด 0.5 มิลลิเมตร
1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตร
จะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,00เมล็ด
ดังนั้น 16 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = 16 X 2,000,000 = 32,000,000 เมล็ด
ถ้าเป็นปริมาตร คือ กว้างxยาวxสูง ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ
32,000,000 X 32,000,000 X 32,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000เมล็ด
ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ
32,768,000,000,000,000,000,000 X 100 = 3,276,800,000,000,000,000,000,000   ปี

จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้าน ปีประมาณ 3.3 X 10^24 ปี


# # # # # # # # # # # # # # # # # # # # #  # # # # # # # # # # #

หลังจากที่เห็นดังนี้แล้ว หน่วยนับเวลาที่ใหญ่ที่สุด...นานที่สุด คือ มหากัป ครับ

ที่พูดว่า พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมามากตั้ง ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป นั่น เศษไม่ใช่มหากัปครับ แต่เป็น อสงไขยต่างหากที่เป็นเศษ เพราะอสงไขยเป็นหน่วยที่เล็กกว่ามหากัป

และอีกอย่างหนึ่งพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมายิ่งใหญ่เป็นแสนมหากัปเหมือนกัน แต่แตกต่างกันเพียง อสงไขยเท่านั้น

พระพุทธเจ้าแบบปัญญาธิกะ บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

พระพุทธเจ้าแบบศรัทธาธิกะ บำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

พระพุทธเจ้าแบบวิริยะธิกะ บำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

ซึ่งจะทำให้ใน ๑ มหากัปมีพระพุทธเจ้าได้มากที่สุด ๕ พระองค์ ไม่ขัดแย้งกับพระไตรปิฎก

แต่ถ้าใช้หน่วยมหากัปเป็นเศษ ใน ๑ มหากัป จะมีพระพุทธเจ้าได้พระองค์เดียว ซึ่งขัดแย้งกับ  ๑ มหากัปมีพระพุทธเจ้าได้มากที่สุด ๕ พระองค์

และอีกอย่างจำนวนอสงไขยต้องเป็นอสงไขยปี เพราะถ้าเป็นอสงไขยกัป ๔ อสงไขยกัปเท่ากับ ๑ มหากัป
เช่น พระพุทธเจ้าที่บำเพ็ญบารมีแบบ ปัญญาธิกะ จะต้องเรียกว่า บำเพ็ญบารมี หนึ่งแสนหนึ่งมหากัป ซึ่งไม่น่าจะถูก


เมื่อเราดูมาถึงตรงนี้แล้ว จึงควรพูดว่า พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมามากตั้ง ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป จึงจะใกล้เคียงและถูกต้องมากกว่า


ที่มา kammatan.com


กัป, อสงไขย, อันตรกัป, และ มหากัป..หน่วยนับเวลาในพุทธศาสนา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์