กุญแจใจ-กุญแจธรรม

กุญแจใจ-กุญแจธรรม

'การปฏิบัติ'...เป็นหัวใจ หรือเป็นลูกกุญแจดอกเอก...
ที่พูดอย่างนี้ เพราะเปรียบเหมือนมันถูกปิดใส่กุญแจไว้ ถ้าไม่
ใช่ลูกกุญแจของมันเอง แม้สอดเข้าไปแล้วมันก็ไขไม่ได้ อาจ
แย้งว่า สมัยนี้เขาเอาเหล็กงอๆ ไปงัดไปไขมันก็ออกได้ นั่นมัน
เป็นเรื่องของ...'สมมุติ'...มันไม่ใช่เรื่อง...'ของจริง'....

ที่พูดนี้ เรื่องนี้...ถ้าเป็นเรื่องของมันจริงเมื่อสอดเข้า
ไป แล้วบิด มันไขทันที...ดังนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้า จึง
เอาไปใช้ได้ทุกกาลเวลา ทำไมจึงว่าเอาไปใช้ได้ทุกขณะกาลเวลา
ก็ไม่เดือดร้อน..ทุกขณะจิตนึกคิด - เห็นตัวเรา เป็นคนไม่หลง
ตน ไม่ลืมตัว ; เรียกว่า คนเห็นธรรม-รู้ธรรม-เข้าใจธรรม-
อยู่ด้วยธรรม-เบิกบานด้วยธรรม...

'เห็นธรรม' : ไม่ใช่ว่าไปเห็นสีแสงผีเทวดา : อันนั้นท่าน
เรียกว่า..'นิมิต'..แต่ก็ไม่ใช่นิมิตเรื่องที่ผมพูดนี้ นิมิตอันนั้นมัน
เป็นของมายาจิตใจ : จิตใจมันหลอกลวงเฉพาะคนที่ไม่รู้...,ส่วน
คนที่รู้แล้ว จิตใจชนิดนั้นจะหลอกลวงไม่ได้...

'เห็นธรรม'..ก็คือ เห็นตัวเรานี้เอง : ตัวเรา...คือธรรมะชั้น
เปลือก, ตัวคำพูดของเรานี้ เป็นวินัย, ตัวจิตใจนึกคิด คือตัว...
'อภิธรรม'...จึงว่า - สามปิฎกนี้ ศึกษาลงไปเห็นแจ้ง รู้จริงได้ไม่
ผิดพลาด พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสรับรองอยู่แล้ว..ธรรมะ มันมีอยู่
ก่อนแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีคนค้นพบเท่านั้นเอง...

'เราผู้เป็นตถาคตไปถึงแล้วแห่งนั้น เราจึงนำมาสอนพวก
เธอทั้งหลาย ให้เธอทั้งหลายจงประพฤติ ปฏิบัติตามอย่างเราตถาคต
นี้ ก็จะรู้จะเห็นจะเป็นจะมี อย่างเราตถาคตนี้...ฯ'

นี่ ท่านสอน - จึงว่า ไม่ใช่พูดต้องประพฤติปฏิบัติ ต้องประ-
พฤติปฏิบัติเหมือนกันกับพระพุทธเจ้า จึงจะเรียกว่า รักการรักงาน
รักพระพุทธเจ้า, จึงว่า - 'รักพระพุทธเจ้า'ก็คือ รักการกระทำของพระ
พุทธเจ้า ถ้าเราไม่รักการไม่รักงานไม่รักหน้าที่ของเราแล้ว เราละเลย
ไปแล้ว พระพุทธเจ้าก็จะยังไม่ปรากฏ - มันเป็นอย่างนั้น, เราจึงไม่เห็น
พระองค์ อย่างพระองค์ตรัสว่า....'แม้จะจับชายจีวรอยู่ก็ไม่เห็นเราฯ'

'พระพุทธเจ้า' ก็คือ...ความเห็นแจ้ง, หรือว่า สะอาด - สว่าง
- 'สง, ฯลล : เรื่องของคำพูดมันดิ้นได้อย่างนี้...คำว่า'เห็นแจ้ง'นั้นคือ
อะไร?....คำว่า'สว่าง'หมายถึงอะไร?....คำว่า'สงบ'หมายถึงอะไร?....
เรื่องของคำพูดนี้เราดิ้นได้, สะอาดก็หมายถึงไม่สกปรก, สว่าง ก็หมาย
ถึงการเห็นแจ้ง, สงบ หมายถึงการไม่เดือดร้อน : เราพูดได้ แต่บางที
ที่เราพูดได้นี้ เราอาจไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้...

จึงว่า - ต้อง'ปฏิบัติ', ต้องมีการกระทำเหมือนกันกับพระพุทธ-
เจ้านั้น เราก็เคยได้ยินกันมาว่า....ในสมัยที่พระพุทธเจ้า ยังเป็นเจ้าชาย
สิทธัตถะ ยังไม่ตรัสรู้ธรรม พระองค์ก็ไปร่ำเรียนหลายครูหลายอาจารย์
รวมทั้งไปอดข้าวไปอดน้ำก็ยังไม่รู้ธรรม, อันนั้นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธ-
เจ้า มันเป็นคำสอนของลัทธิอื่น เป็นเรื่องของพวกฤาษี เป็นเรื่องดึกดำบรรพ์

ต่อเมื่อ..พระองค์ได้มาบำเพ็ญทางจิต ได้รู้แจ้งเห็นจริงตามความ
เป็นจริงแล้วนี้ พระองค์จึงประกาศว่า...'เราได้รู้แล้ว - เห็นแล้ว - เข้าใจแล้ว'
จึงเอามาสอนพวกเรา หรือว่าสอนคนในอินเดีย การสอนนั้นท่านก็สอน
ของจริงเท่านั้น 'ของจริง' ก็คือ..ตัวธรรมะนั้น มันดิ้นไม่ได้, จะรู้ล่วงหน้า
ไม่ได้, คาดคิดเอาไม่ได้, ด้นเดาเอาไม่ได้ : ให้ตัวมันเป็นเองแล้วก็จะร้อง....
'อ๋อ! หมายถึง สิ่งนี้ - สิ่งนี้ - สิ่งนี้ ที่ท่านพูด อย่างนั้น - อย่างนั้น - อย่างนั้น
จึงว่า - 'การปฏิบัติเป็นหัวใจ หรือเป็นลูกกุญแจดอกเอก'.......ฯ

: หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์




เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์