ความอยาก

   เมื่อได้กินอาหาร ลิ้นก็มีความอร่อย เกิดความพอใจในภาวะช้วคราว
ก็หลงกับภาวะอันนั้น จึงอยากมีความอร่อยอีก ก่อให้เกิดการแสวงหา
ขึ้นไปอีก เมื่อจิตคิด พอกายรับรู้เป็นสัญญา ก็จะส่งไปที่ใจ เมื่อใจไม่มี
สติรู้ทัน
ก็ยึดมั่นถือมั่น จึงเกิดภาวะของการสั่งสม เกิดการแสวงหาดิ้นรน
ตามคามนึกคิด และตามความอยากไปเรื่อยๆ
ไม่มีที่สิ้นสุดหรือเพียงพอ

   หูก็เหมือนกัน ได้ยินเสียงก็อยากได้ยินอีก เสียงไม่เพราะก็อยากจะ
สลัดออกไป ส่วนเสียงที่เพราะก็อยากจะดึงเข้ามา ทั้งที่จริงแล้ว สิ่งที่
เกิดขึ้นทางอายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่รับรู้รูป รส
กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ นั่นเป็นเพียงภาวะอาการทีเกิดกระทบกันเท่านั้น

   รสชาติหรือเวทนาที่เกิดขึ้นที่พอจะทนอยู่ได้ หรือที่เรียกว่าสุขเวทนา
ที่มีนิดหน่อยนี้ เป็นอาการที่พอให้เราดำรงชีวิต เผ่าพันธุ์ ดำรงความรู้สึก
ให้อยู่ได้ง่ายๆเท่านั้นเอง เช่นการกินอาหาร ถ้าไม่มีรสชาดเลย เราก็ไม่
อยากกิน เมื่อไม่อยากกิน ก็ต้องสูญพันธุ์ไป ที่กินนั้นเพื่ออะไร? ก็เพื่อให้
มันกลืนง่าย แต่คนทั้งหลายกลับติดในภาวะอันนั้น แล้วเป็นทาสของความ
รู้สึก และหลงเพลิดเพพลินกับความรู้สึกที่ได้มา

   ในเรื่องของกามารมณ์ก็เหมือนกัน เป็นเรื่องของการสึบพันธุ์ และทำให้
มีมนุษย์สืบต่ออยู่ในโลกนี้ต่อๆไป แต่มนุษย์กลับเห็นว่าเรื่องนี้เป็นความสุข
ก็เลยจริงจังก้บมัน มีการแสวงหาที่ไม่รู้จักพอ ไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงหลง
เข้าไปในเวทนานั้นๆ

   ตัวที่หล่อเลี้ยงก็คือ ความยึมั่นถือมั่น ความหลง ความไม่รู้จริง แต่ถ้ารู้แจ้ง
เห็นจริง จิตก็จะปล่อยวางของมันเอง


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์