จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)


จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)


การทำสมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่ดีมาก คือรวมจิตรวมใจให้เข้าอยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่าให้มัน ฟุ้งซ่าน มันเที่ยวไปมากมายหลายปีมาแล้วหลายสิบปีมาแล้ว มันไม่รวมเข้ามาอยู่ในตัวของเราสักที มันไม่รวมมาอยู่อันหนึ่งอันเดียวสักที ไม่เป็นสมาธิภาวนา

คราวนี้แหละเราจะเอาให้เป็นสมาธิภาวนา ตั้งจิตให้แน่วแน่ลงอันเดียว พิจารณาลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้าพุท โธออกหรือพุทออก โธเข้าก็ตามใจเถอะ สองอันนั้นให้นิ่งแน่วอยู่กับอันนั้นทีเดียว

สติกำหนดให้อยู่ในที่นั้นอย่าให้ไปในที่อื่น สติเป็นเครื่องควบคุมจิต เมื่อเราควบคุมอยู่แล้วมันจะนิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียว จิตที่คิดว่าพุทเข้าโธออกก็ดีที่พิจารณาอยู่นั้น เมื่อจิตรวมเข้าไปแล้วอยู่อันเดียวแล้วมันจะหายไป อันนั้นมันจะไม่ปรากฏเลยคำบริกรรมอันนั้น จะปรากฏแต่ความสว่างโล่งอยู่คนเดียว นั่นแหละเห็นจิตของเราแล้วคราวนี้

จิตมันไม่อยู่มันส่งส่าย สติตามไม่ทันก็เลยไม่รู้เรื่องของจิตว่าไปถึงไหนต่อไหน คราวนี้ถ้าสติตามทันอย่างนี้ จิตมันรวมมันเป็นหนึ่งแล้วมันปล่อยวางหมด มันโล่งหมดจะเห็นจิตของตนอันนั้นอันโล่งๆ อันนั้น จะเห็นจิตของตน

คราวนี้มันรวมจิตแล้วคราวนี้รวมจิตกับใจเข้าอีกเป็นสองอย่างอีกเหมือนกัน ให้เข้าใจว่าใจอันหนึ่งจิตอันหนึ่ง จิตนั่นหมายความถึงความคิดความนึกความปรุง ความแต่งสัญญาอารมณ์ต่างๆ มันเป็นจิตอันนั้น ครั้นปล่อยวางอันนั้นหมดไม่มีอะไรเลย สงบนิ่งแน่วโล่งๆ อยู่เฉยๆ มีแต่ความรู้สึก อันนั้นเรียกว่าใจ คือผู้รู้สึกนั่นเรียกว่าใจ

พระพุทธเจ้าท่านก็เทศนาว่า จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น ท่านก็พูดหรอกแต่ทำไมท่านพูดสองคำ ทำไมถึงเรียกว่าจิต ทำไมถึงเรียกว่าใจ คือมีลักษณะอาการต่างกันอย่างนี้แหละ จึงเรียกว่าจิตจึงเรียกว่าใจ

ขอให้ใจอยู่เฉยๆ นิ่งเฉยๆ อันนั้นแหละเป็นใจ ใจคือไม่ส่งไปหน้าไม่ส่งไปหลัง ไม่ส่งไปอดีตอนาคตไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญอยู่เฉยๆ คือผู้เป็นกลางๆ นั่นเอง ลองพิจารณาดูว่าความกลางๆ นั้นเป็นอะไร ในขณะนี้ก็เอาละเราสังเกตดูอย่างนี้ก็แล้วกัน

เรากลั้นลมหายใจ คำว่าลมหายใจนั้นก็หมายความว่าใจนั่นแหละ ลมนั้นมันอยู่กับใจ ใจอยู่กับลม เรากลั้นลมสักพักหนึ่งชั่วอึดใจเดียวเท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรหรอกหมดเรื่อง ลองๆ ดูซิ กลั้นลมหายใจอึดเดียว มันเฉยไม่มีอะไรเลยนั่นแหละตัวใจ คราวนี้ระบายลมออกไปมันก็วิ่งไปตาม อันนั้นเรียกว่าเป็นจิต

ใจนี้ถ้าหากว่าเราหัดชำระจิตปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงหมด จนกระทั่งเข้าถึงใจบ่อยๆ มันจะสบาย โลภ-โมโทสันสารพัดทุกสิ่ง กองกิเลสทั้งปวงหมดหายหมด ครั้นเข้าถึงใจแล้วหายเลยทีเดียว แม้แต่การเจ็บการป่วยเข้าก็ยังกลั้นลมหายใจให้บรรเทาได้เหมือนกัน

ไม่ใช่ชำระกิเลสหรอกแต่กลั้นลมหายใจมันหายมันบรรเทาทุกข์ได้เหมือนกันชั่วครู่หนึ่งขณะหนึ่งใช้ได้อย่างนั้น อันนี้เพื่อทดลองทดสอบดูว่าใจจะเป็นอย่างไร ให้รู้เรื่องของมันเท่านั้นแหละ แต่แท้ที่จริงมันยังมีการอบรมจิตมากมาย

อบรมไปจนกระทั่งจิตมันเชื่องจนกระทั่งจิตมันอยู่แน่วแน่เข้าถึงใจ แล้วมันจึงจะอยู่นานตั้งเป็นชั่วโมงหรือตั้งครึ่งวันมันก็อยู่ได้กับความสงบอันนั้น นี่แหละจงทำความสงบ จงทำจิตกำหนดจิตอย่างว่านี่แหละ ไม่ทันถึงใจก็เอากำหนดเอาจิตนั่นเสียก่อน

ให้พิจารณากำหนดจิต จิตอันหนึ่ง สติอันหนึ่ง ใจอันหนึ่ง จิตคือ สติ กำหนดจิตมันเชื่องแล้วมันจึงเข้าหาถึงใจ ถ้าหากมันยังไม่เข้าถึง ใจก็ให้กำหนดเอาที่จิตนั่นแหละ ไปก่อนจนกว่ามันจะวางลงไปได้
__________________

จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์