จุดเริ่มต้น.......อยู่ที่ใหน??

จุดเริ่มต้น แห่งการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ไหน??


ผู้ใฝ่ธรรมทั้งเพศบรรพชิตและฆราวาส ส่วนมากมีศรัทธาในการ
ตั้งใจปฏิบัติธรรมกันอยู่ไม่น้อย และต่างก็มีความรู้ความเข้าใจใน
หลักธรรมกันมากมาย แต่หลักแห่งการปฏิบัติจริงๆนั้น ยังไม่มี
ยังจับไม่ได้ ยังไม่เข้าใจ ยังไม่รู้จะเริ่มต้นทำกันตรงไหน...อย่างไร
จึงพยายามที่จะแสวงหาครูบาอาจารย์ แสวงหาสำนักปฏิบัติธรรม
แสวงหาความรู้จาก ตำหรับตำราบ้าง แสวงหาในคัมภีร์พระไตรปิฎก
บ้าง ด้วยเข้าใจว่าพระธรรมแท้ๆ อยู่ ณ ที่นั่น ในนั้น

ขออธิบายว่า นั่นเป็นธรรมภายนอก เป็นหลักเพื่อให้รู้ ให้เข้าใจ
ให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังเช่น การรู้และเข้าใจในแผนที่เท่า
นั้น ยังมิใช่ของจริง หากท่านยังไม่ลงมือเดินทางด้วยตนเองจริงๆ
แล้ว แผนที่หรือความรู้นั้นก็ไม่สามารถนำท่านไปถึงจุดหมายปลาย
ทางที่แท้จริงได้ ดังนั้น..."ธรรมแท้ๆ จะต้องเกิดขึ้นที่ตัวเรา อันเป็น
ธรรมภายใน".....ต่างหาก หมายถึงจะต้องเริ่มต้นเดินทางด้วย
ตนเองจริงๆอีกที คือต้องกระทำที่ตนเอง นั่นเอง

แล้วเราจะเริ่มที่จุดไหนล่ะ...จะทำอย่างไรล่ะ...นี่คือปัญหาที่แท้จริง
ของนักปฏิบัติธรรมทุกท่านที่กำลังมีปัญหาอยู่ เพราะเขาไม่รู้จะเริ่ม
ต้นอย่างไร...ควรจะทำอย่างไร หาจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติไม่เจอ
ปฏิบัติแล้วเป็นสิ่งยากยิ่ง จนเกินความสามารถของตนที่จะทำได้
เพราะทำเท่าใดก็ไม่ได้ผลสักที นั่นเป็นเพราะยังไม่เข้าใจหลักแห่ง
การปฏิบัติที่แท้จริงนั่นเอง จึงวนอยู่นั่นหาทางเดินไม่เจอ

".....หลักแท้ๆ ของการปฏิบัติธรรม มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ ปัจจุบันทุก
ขณะของปัจจุบันที่รู้สึกตัว คือจุดเริ่มต้นทั้งสิ้น...." ยกตัวอย่างเช่น
ขณะนี้เรากำลังอ่านหนังสืออยู่ รู้และเข้าใจก็คือจุดเริ่มต้นแห่งความ
เข้าใจ

เมื่อรู้และเข้าใจแล้ว เราจะต้องมีความตั้งใจด้วย คือตั้งใจที่จะปฏิบัติ
จริงๆ ก็ต้องมีปัจจุบันแห่งการปฏิบัติอีก หมายถึงการกระทำ ขอให้
เข้าใจว่า...'ธรรมแท้ๆ จะต้องมีสติรู้อยู่ภายในกาย ภายในใจตนเท่า
นั้น' จึงจะใช่ และ 'รู้' นั้นจะต้องเป็นรู้ของปัจจุบันด้วย เช่น...

ตื่นเช้าขึ้นมา พอรู้สึกตัวก็ให้เรามี...'สติ' คือมีความรู้สึกตัวย้ำความ
รู้สึกลงไปอีกที ด้วยการรู้การกระทำที่เกิดขึ้นภายในกาย ภายในใจตน
หรือการตามดูกายตามดูใจตน สนใจดูการเคลื่อนไหวของกายว่า...
ปัจจุบันขณะนั้นกายเกิดอะไรขึ้น มันเป็นอย่างไร สุขหรือทุกข์ มันทำ
อะไรก็ให้ตามดูตามรู้ อาการอันเป็นการกระทำที่เคลื่อนไหวของมันไป
เรื่อยๆ เมื่อทำแล้วภายในจิตใจเกิดอาการอย่างไร ยินดียินร้าย ก็ให้
รู้ทันปัจจุบันขณะของอารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจตนด้วย ดู...'ใจ' และ
'อารมณ์ของใจ' ที่เกิดขึ้นด้วย 'สติ' จึงจะเป็นผู้ดู ผู้รู้ ผู้เห็น หรือ 'พุทธะ'
ก็คือตัวนี้นั่นเอง

พยายามจับปัจจุบันขณะทั้งกายและใจให้ทันจริงๆ คอยสังเกตุดูว่า
เหตุเกิดนั้นเกิดจากไหน จากกายสู่ใจ หรือจากใจสู่กาย มันสัมผัส
สัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น ก็ให้พยายามเฝ้าดู เฝ้ารู้
เฝ้าเห็น และค้นคิดพิจารณาหาสาเหตุอันเป็นจุดเริ่มต้น คือเหตุที่แท้
จริงของมันให้ได้ เพราะธรรมะเป็นเรื่อง...'โอปนยิโก ปัจจัตตังฯ'
คือการรู้ตน เห็นตน ทำตน

".....การเฝ้ารู้กายรู้ใจภายในของตนอยู่เสมอในทุกอิริยาบท ทุก
การกระทำ พูดคิด ในขณะปัจจุบันที่ตนรู้ตนอยู่เสมอนั่นแหละ คือ
การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง..."

หากรู้ภายนอกกายนอกใจตนแล้ว ยังมิใช่ธรรมแท้ๆ นั่นเป็นธรรม
ภายนอก เป็นธรรมสมมุติ เป็นธรรมบัญญัติอยู่ ธรรมแท้ๆจะต้อง
อยู่ภายในเท่านั้น คือ...ภายในใจ ของบุคคลใดบุคคลนั้นนั่นเอง

หากรู้ธรรมภายใน อันเป็นเหตุแท้ๆได้หมดได้จริงเมื่อไหร่ก็สามารถ
รู้ธรรมภายนอก อันเป็น 'ผล' ได้ด้วย เพราะธรรมภายในเป็นเหตุ
เป็นตัวจริง ส่วนธรรมภายนอกนั้นเปรียบเสมือน 'เงา'

การวิ่งไล่จับเงาอันเป็นธรรมภายนอก แม้จะวิ่งไล่จับสักเท่าไหร่
ก็ไม่สามารถจะจับได้อย่างแน่นอน หากจิตไม่รู้เท่าทัน เกิดหลงยึด
ก็จะเป็นอุปทานได้อีกเช่นกัน ดังนั้นหากจับธรรมภายใน อันเป็น
ตัวจริงได้แล้ว..."เงา" อันเป็นธรรมภายนอก ก็จะรู้เองเพราะมัน
เป็นผลสะท้อนจากธรรมภายในที่เกิดขึ้นแล้วนั่นเอง

ธรรมภายนอกก็เกิดจากธรรมภายในนี้แหละ ที่เป็นเหตุเมื่อรู้
ธรรมภายในใจตนได้แล้ว ก็จะรู้ธรรมภายนอกได้หมดเช่นกัน
เช่นนี้ที่เรียกว่า...'โลกะวิทู' นั่นแหละ..ฯ

~ขอขอบคุณที่มา: ...ธรรมะกับการปฏิบัติธรรม ~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์...ฯ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์