ฉลาดสรรสาระ

ฉลาดสรรสาระ


ฉ ล า ด ส ร ร ส า ร ะ
พระมหาอุเทน ปญฺญาปริทตฺโต (สัจจัง)
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ


อสารเร สารมติโน
สาเร จาสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ
มิจฺฉาสงฺกปปโคจราฯ


(ขุ.ธ. ๒๕/๑๑/๑๖)

คนเหล่าใดรู้สาระว่าหาสาระมิได้
และเห็นสิ่งที่หาสาระมิได้ว่าเป็นสาระ
คนเหล่านั้นดำริผิดเที่ยวไป
ไม่บรรลุธรรมที่เป็นสาระ.


:b8: :b8: :b8:

สาระอสาระประจักษ์แท้
คนใดแลกลับกันน่าหวั่นหนอ
มองอสาระเป็นสาระเฝ้าพะนอ
สาระพอจะเห็นเป็นอสาระไป

คนนั้นช่างโง่เขลาเข้าใจผิด
มิจฉาปิดดวงตาพาหลงใหล
สารธรรมส่องสว่างทางอำไพ
ดูสิไม่เห็นเลยเฉยเมยเมินฯ


:b8: :b8: :b8:
รรพสิ่งบางอย่างในโลกนี้
บางอย่างบอกคุณและโทษ
คือ “สาระและอสาระ” อยู่ในตัว
เหมือนต้นไม้ เช่น มะขามมีแก่น กล้วยไร้แก่น

แต่ทั้งนี้ก็อยุ่ที่ปัญญาของแต่ละคน
ว่าจะมองเห็นสาระและอสาระหรือไม่
และเมื่อมองเห็นแล้ว
จะ “ฉลาดสรรสาระ” เพียงใด


เห็นสิ่งที่เป็นสาระแท้กลับไม่ยอมเลือก
กลับเลือกเอาสิ่งที่ไม่ใช่สาระแทน
อยู่ในประเภท “ดีไม่ชอบ กอบเอาชั่ว”

ถ้าเป็นอย่างนี้ก็พลาดจากแก่น
คว้าเอาแต่เปลือกร่ำไป
ซึ่งกล่าวโทษใครไม่ได้
นอกจากความมืดบอดทางปัญญาของตนเอง
ดูเหมือนว่า “การเห็นผิดเป็นชอบ”
มักเกิดขึ้นอยู่สมอ โดยเฉพาะคนที่สมาทาน “มิจฉาทิฏฐิ”


อย่างไรก็ตาม
สาระและอสาระนั้น แยกขาดออกจากกัน
ไม่ผสมปนเปเหมือนผัดรวมมิตร
สาระมิใช่อสาระ อสาระมิใช่สาระ
เหมือนธรรมกับอธรรมนั่นเอง

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่เราควรศึกษาให้ถ่องแท้
ก่อนเลือกสรร ทว่าสวนที่เลือกสรรจริงๆ
คือ “กระบวนทรรศน์” ที่ต้องปรับให้ตรงสาระ
มองสาระออก บอกสาระถูก


หากทรรศนะผิดจะมองพลาด
แล่นเลยออกนอกท่าไป
ไกลเกินกว่าจะย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่


คนบางคนช่างมุทะลุดื้อรั้น
ไม่ยอมปรับกระบวนทรรศน์เลยเลย
อยู่กับสิ่งใดกทะเลาะกับสิ่งนั้น
เออออพอใจสิ่งมิใช่สาระ
ชีวิตจึงไร้แก่นสารกลวงเปล่า

ดูสิยังเที่ยวสะเปะสะปะอวดรู้ไปทั่ว
พิโธ๋เอ๋ย “พ่อตาบอดคลำช้าง”


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : “เสียงธรรมจากพระโอษฐ์ ๑๐๘ คาถา อมตพจนาจากพระไตรปิฎก”
เรียบเรียงโดย พระมหาอุเทน ปญฺญาปริทตฺโต จัดพิมพ์โดย บริษัทสร้างสรรค์บุ๊ค จำกัด,
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒, หน้า ๑๓๖-๑๓๗)



ขอบคุณบทความจาก ธรรมจักรดอทเน็ต

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์