ทุกเวลาคือ“การภาวนา”

ทุกเวลาคือ“การภาวนา”


ทุกเวลาคือ“การภาวนา”(ของฝากจากหลวงปู่เณรคำ)


การบำเพ็ญเพียรภาวนาของหลวงปู่เณรคำสมัยตอนเป็นสามเณร.. จะไม่รอโอกาส ไม่รอเวลา จะไม่เอาเรื่องใหญ่มาเป็นข้อพิจารณา แต่เราจะเริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้เองทุกอย่าง เมื่อเรามีการเข้าไปสัมผัสรู้ รับรู้ในสิ่งนั้น โดยใช้อำนาจของสติ ความระลึกได้ มีความตั้งมั่นพินิจพิจารณาใคร่ครวญสิ่งนั้นให้ดี จับมันยกขึ้นมา สิ่งนั้น แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ผลที่ได้มหาศาลมาก

เราทุกคนอาจจะเข้าใจว่า การบำเพ็ญเพียรภาวนานั้น ฉันต้องรอนั่งสมาธิ ๑ ชม. ๒ ชม. หรือว่าการบำเพ็ญภาวนา ฉันต้องเดินจงกรม ๓๐ นาที กำหนดอิริยาบถท่าทางไปตามสภาวะ ผลมันถึงจะเกิดกับฉัน การคิดอย่างนั้นก็ถูกต้อง อันเป็นแนวทางดั้งเดิม

แต่แนวทางใหม่ เหมือนกับที่เราต้องเข้าใจว่า ระบบเดิมมันต้องรอเวลา มันต้องรอโอกาส เดี๋ยวก็ต้องรอเวลาว่างจากการทำงาน เดี๋ยวก็ต้องรอเวลาว่างจากการปฏิบัติภารกิจในแต่ละวัน ในการปฏิบัติของหลวงปู่ไม่เคยมีการรอคอยเวลา ทุกเวลาเป็นการภาวนาไปหมด ทุกความรู้สึก ทุกสัมผัส จะเป็นสภาวะที่เราจะเข้าไปทำการเจริญสติ ณ จุดนั้นให้ได้

อย่างที่สมัยตอนเป็นสามเณรบำเพ็ญอยู่ พอออกจากที่นั่งสมาธิ ไปเดินจงกรมเสร็จเรียบร้อย ยืนทำสมาธิเสร็จ ก็ไปทำภารกิจอื่นๆ อย่างเช่น กวาดใบไม้ มือที่จับด้ามไม้กวาด เราก็รู้ว่าเราจับด้ามไม้กวาด บางทีเห็นผมร่วงลงสู่พื้น เราก็พิจารณาเส้นผมนั้น สัมผัสรู้ในสิ่งที่มันหลุดร่วงออกมา มดกัด ยุงกัด หรือว่าลมพัดกระทบผิว แม้กระทั่งความคิดที่มันคิดอยู่ในปัจจุบัน ขณะเราคิดอะไรอยู่ เราก็ไปจับรู้ในความคิดอันนั้นเสีย รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ทรงคุณค่ามาก

ผลที่ได้เข้าไปกำหนดรู้อันนั้นนี่ มันจะรวมกันเป็นหนึ่งในใจของเรา คือ ความเป็นผู้ที่มีความระลึกได้ในทุกสภาวะ ทุกอาการที่เกิดขึ้น พุทธศาสนิกชนทุกคนนี่ จึงสามารถที่จะบำเพ็ญโดยวิธีนี้ได้ โดยท่านไม่ต้องมาอ้าง ไม่ต้องมีข้อแม้ว่า ไม่มีเวลาปฏิบัติ ทุกคนมีเวลา เพราะฉะนั้น ข้ออ้างนั้นก็คือ เป็นการสนองกิเลส มันไม่ใช่ สิ่งที่จะทำให้จิตใจของเราเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้ อย่างหลวงปู่กำลังนั่งบรรยายธรรมอยู่ที่นี่ก็เหมือนกัน หลวงปู่มีความระลึกได้อย่างสม่ำเสมอคงเส้นคงวา มีความสัมผัสรู้อยู่ตลอดเวลา แล้วก็มีสติต่อเนื่องตลอดเวลา สมาธิต่อเนื่อง ปัญญาก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ธรรมะอาจจะให้ความหลากหลายแก่ท่านพุทธศาสนิกชน ที่สำคัญที่สุดก็คือ เราเข้าใจกันแล้วว่า สิ่งละเอียดเล็กน้อย มันมีคุณค่า


ในสากลกายนี้ ที่มีเนื้อ หนัง เอ็น กระดูก หรือว่าในเวทนา ทุกสัมผัสที่มันเกิดขึ้น หรือว่าในจิตในธรรมทั้งหลาย ทุกอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ มีความสัมพันธ์กันหมด พอหลวงปู่ไม่รู้ ผู้แนะนำไม่มี ก็เลยมานั่งสมาธิ กำหนดจิตให้เข้าสู่ความสงบนิ่ง เจริญปัญญาวิปัสสนา ก็คือ การบำเพ็ญของหลวงปู่ ความหยั่งรู้แจ่มแจ้งในความเป็นจริงของชีวิตมันมีมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ความหยั่งรู้ตรงนี้มันชัดเจนแจ่มแจ้งมาก สิ่งที่มันรู้ในกายในใจก็ไม่มีข้อสงสัยแล้ว โลกธรรมทั้งหมดเราก็ไม่สงสัย


แล้วนับประสาอะไรกับเครื่องคอมพิวเตอร์ พอสงสัยอะไร ก็นั่งสมาธิดู ปรากฏว่าเห็นโปรแกรมขึ้นมา มันมหัศจรรย์มาก มันให้รายละเอียดอะไรต่างๆ มากมาย พอจับจุดมันได้ก็พบว่ามันก็มีสาระแก่นสารของมัน เหมือนกับจิตผู้ที่ปฎิบัติธรรมกรรมฐาน เราอย่ามองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่มันปรากฏอยู่ในทุกขณะจิตในปัจจุบัน สรุปแล้วก็เลยใช้คอมพิวเตอร์ได้จากการนั่งสมาธิ ตั้งแต่เด็กไม่เคยจับมาก่อนเลย มหัศจรรย์มาก แปลว่า ผลของการปฏิบัติธรรมที่เราทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ให้อะไรหลากหลายมากมาย เป็นสิ่งที่เรารับรู้ ค้นคว้า แล้วนำมาปฏิบัติ



-----------------
พิมพ์คัดลอกมาจากหนังสือ ชาติหน้าไม่ขอมาเกิด 2
หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก
จาก หน้า ๑๙๙ - ๒๐๒

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์