นิทานสุภาษิต เรื่อง บ่างช่างยุ


บ่างช่างยุ

โบราณนำเอาสัตว์ชนิดหนึ่งเป็นสัตว์ป่า ลักษณะคล้ายกระรอกมีหนังเป็นพังผืดสองข้างของลำตัว ตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหาง เมื่อกางออกจะคล้ายปีกนก ใช้ร่อนลงไปจากที่สูงโดยไม่ต้องไต่ และไปได้ไกล ๆ

โบราณนำคำว่า “บ่างช่างยุ” มาจากนิทานสุภาษิตที่มีเนื้อเรื่องว่า บ่างอาศัยร่วมกับค้างคาวในป่า ทั้งบ่างและค้างคาวต่างก็กินผลไม้เป็นอาหาร แต่บ่างนั้นเคลื่อนไหวช้าทำให้ออกหากินไม่ทันค้างคาวจึงเกิดความเดือดร้อนมิประสงค์จะให้ค้างคาวอยู่ร่วมกัน

ณ ที่ต้นไม้นั้นมีนกและหนูทำรังอยู่ด้วยกัน ค้างคาวนั้นไปหานกก็ว่าเป็นนกเพราะบินได้ ไปหาหนูก็ว่าเป็นหนูเพราะหน้าตาเหมือนกัน นกและหนูจึงรับค้างคาวเป็นเพื่อน บ่างจึงหวังที่ให้ค้างคาว หนูและนกต้องแตกกันจึงไปเล่าบอกข้อเท็จจริงให้ฟัง และยุว่าค้างคาวเป็นสัตว์ร้ายจะนำเอาพิษมาทิ้งไว้ให้นกหนูตาย (เพราะขี้ค้างคาวมีกลิ่นแรง) นกหนูเชื่อบ่างจึงช่วยกันขับไล่ไม่ให้ค้างคาวอยู่ที่ต้นไม้นั้น ค้างคาวจึงต้องจากไป

โบราณนำเอาคำพังเพยนี้ มาเตือนคนว่าคนที่ พูดส่อเสียด ให้ทะเลาะกัน ยุยงส่งเสริมให้แตกร้าว ให้แตกแยกกันว่า เป็นพวก “บ่างช่างยุ”

นิทานสุภาษิต เรื่อง บ่างช่างยุ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์