ประตูเมือง ๔ ทิศ

ประตูเมือง ๔ ทิศ



พระอรรถกถาจารย์ท่านสอนว่า...'สติปัฏฐานทั้งสี่' เปรียบเสมือน
ประตูเมือง ๔ ทิศ เพียงเข้าประตูหนึ่งประตูใดก็เข้าเมืองคือนิพพาน
ได้แล้ว

ประตูแรก คือ...กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เหมาะสำหรับผู้มีตัณหาจริต ที่มีปัญญาไม่มากนัก
ประตูที่ ๒ คือ...เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เหมาะสำหรับผู้มีตัณหาจริต ที่มีปัญญากล้า
ประตูที่ ๓ คือ...จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เหมาะสำหรับผู้มีทิฏฐิจริต ที่มีปัญญาไม่มากนัก
ประตูที่ ๔ คือ...ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เหมาะสำหรับผู้มีทิฏฐิจริต ที่มีปัญญากล้า

พวกเราส่วนมากมีปัญญาไม่กล้านัก จึงควรสนใจ...กายานุปัสสนาสติ-
ปัฏฐาน หรือจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานให้มากสักหน่อย ทั้ง ๒ ปัฏฐาน
นี้เป็นทางบรรลุมรรคผลนิพพานได้เช่นเดียวกับปัฏฐานอื่นที่ยากกว่า
นั่นเอง

ตัวอย่างเช่น...หากเราจะเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยอิริยาบท-
บรรพ คือการตามรู้กายที่อยู่ในอาการยืน-เดิน-นั่ง-นอน เนืองๆ ในที่
สุดจิตก็จะจดจำสภาวะของรูปที่เคลื่อนไหวและหยุดนิ่งได้ จะเห็นกาย
เป็นรูปยืน-เดิน-นั่ง-นอน ไม่เห็นว่าเรายืน-เดิน-นั่ง-นอน พอรูปยืน-
เดิน-นั่ง-นอนปรากฏ สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามทำให้เกิด
ขึ้น เมื่อจิตมีสติ จิตก็เป็นกุศล เมื่อจิตเป็นกุศล จิตก็มีความสุข เมื่อจิต
มีความสุข จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับการรู้กายรู้ใจตนเอง ไม่หลงไปที่อื่น
เมื่อจิตมีความตั้งมั่น จิตก็สามารถเจริญวิปัสสนา คือตามรู้รูปยืน-เดิน-
นั่ง-นอนได้โดยไม่ต้องพยายามจะรู้ เมื่อจิตตามรู้รูปยืน-เดิน-นั่ง-นอน
มากเข้า ก็จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของรูปว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา

อนึ่ง...การรู้รูปไม่ใช่จะรู้ได้แต่รูป เพราะการเจริญวิปัสสนานั้นไม่ว่าจะใช้
อารมณ์ในบรรพใด ก็ต้องมีการจำแนกรูปนามด้วยกันทั้งสิ้น เพราะการ
จำแนกรูปนามเป็นปัญญาขั้นพื้นฐานก่อนที่จะเกิดการเจริญวิปัสสนาอัน
เป็นการเห็นความเกิดดับของรูปนาม

ดังนั้น ผู้ที่เริ่มการปฏิบัติด้วยการรู้รูปเช่นอิริยาบท ๔ ก็จะรู้จักนามอันได้
แก่จิตและความรู้สึกทั้งหลายด้วย โดยนามเป็นผู้รู้รูปและเป็นผู้สั่งให้รูป
เคลื่อนไหว นามและรูปมีความสัมพันธ์กัน และนามก็เกิดดับมีความไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเช่นกัน ด้วยเหตุนี้การเจริญกายานุปัสสนา
สติปัฏฐานจึงทำให้
๑. รู้และเข้าใจความเป็นจริงของทั้งรูปและนามว่ามีลักษณะเป็นไตรลักษณ์
๒. ละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวตน และ
๓. ละความยึดถือรูปนามได้ในที่สุด
การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเพียงอย่างเดียว จึงสามารถช่วยให้
ผู้ปฏิบัติบรรลุถึงนิพพานได้ดังที่กล่าวมานี้

ส่วนการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามรู้สภาพของจิตใจที่
เป็นกุศลและอกุศลเนืองๆ ในที่สุดจิตจะจดจำสภาวะของจิตได้ว่าจิตที่เป็น
กุศลเป็นอย่างนี้ จิตที่เป็นอกุศลเป็นอย่างนี้ อาการของจิตต่างๆนานาเป็น
อย่างนี้ พอสภาวะใดที่จิตจดจำได้แล้วปรากฏ สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่
ต้องพยายามทำให้เกิด แล้วจิตจะเป็นกุศล มีความสุข มีความตั้งมั่น
และเกิดปัญญารู้ความจริงของจิตใจได้ในที่สุด อนึ่ง การรู้จิตก็ไม่ใช่จะ
รู้ได้แต่จิต เพราะผู้ปฏิบัติก็ย่อมจะรู้จักรูปไปได้ด้วย รวมทั้งสามารถเห็น
ลักษณะของรูปนามจนเกิดปัญญาละความเห็นผิด และปล่อยวางความ
ถือมั่นในรูปนาม เข้าถึงนิพพานได้เช่นกัน

สรุปแล้ว...ไม่ส่าจะเจริญสติปัฏฐานในบรรพใดที่มีอารมณ์ปรมัตถ์ ก็ล้วน
แต่เป็นการฝึกซ้อมให้จิตเกิดสติ ระลึกรู้รูปนามตามความเป็นจริงได้ด้วย
กันทั้งนั้น จนกระทั่งเปิดปัญญาและวิมุตติในที่สุด เพื่อนนักปฏิบัติไม่จำ-
เป็นจะต้องเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานซึ่งละเอียดลึกซึ้งมาก ก็เข้าถึง
ความหลุดพ้นได้เช่นกัน แต่ถ้าผู้ใดมีปัญญากล้าจะเจริญธัมมานุปัสสนา
สติปัฏฐานหรือเจริญสติด้วยการทำกรรมฐานทางทวารทั้ง ๖ ก็เป็นเรื่อง
ที่สมควรอนุโมทนาด้วย เพราะผู้มีปัญญากล้าจะรู้สึกว่าการเจริญกายา-
นุปัสสนาสติปัฏฐานและจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นเรื่องน่าเบื่อ คับแคบ
และไม่น่าสนใจเท่าใดนัก...ฯ

~หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์