ประวัติของวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา

การเข้าพรรษา

สมัยหนึ่งพระ ฉัพพัคคีย์ พากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ในระหว่างเดินทางนั้น ได้พลาดพลั้งไปหยียบ พืช และไร่นาที่ชาวบ้านเพาะปลูกบ้าง ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึง วันแรม 15 ค่ำ เดือน 11 นั่นแลคือที่มาของการเข้าพรรษา ในช่วงเข้าพรรษานี้เอง ที่พระภิกษุสงฆ์และสามเณรต้องเรียนและศึกษาพระธรรมวินัยต่างๆ ซึ่งในอดีตนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้ดุจปัจจุบันทำให้ความเป็นอยู่ของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ต้องประสบความลำบากเพราะขาดแสงไฟส่องสว่าง จึงได้มีประเพณี ถวายเทียนจำนำพรรษา ขึ้น ในขณะเดียวกัน ช่วงเข้าพรรษาเป็นฤดูฝน และพระภิกษุเองก็มีเพีงผ้าไตรจีวร ๓ ผืน การจะสรงน้ำแต่ละครั้งก็จำต้องเปลือยกายซึ่งเป็นสิ่งที่มองดูแลไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้เองก นางวิสาขามหาอุบาสิกา จึงได้คิดถวาย “ผ้าวัสสิกสาฏก” หรือ ผ้าอาบน้ำฝน แด่พระภิกษุ และสามเณร โดยได้กราบทูลขออนุญาติจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสมเด็จพระสัมมสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรง พุทธานุญาติ ให้พระภิกษุมีผ้าจำนำพรรษาได้ ทั้งนี้ยังทรงบัติญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า

ผ้าอาบน้ำฝนจะ ต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยปิฎก มิเช่นนั้นพระสงฆ์จะต้องอาบัตินิคสัคคิยปาจิตตีย์ คือ ต้องทำผ้ากว้างยาวให้ถูกขนาดตามพระวินัย คือ ยาว 6 คืบพระสุคต กว้าง 2 คืบครึ่ง ตามมาตราปัจจุบันคือ ยาว 4 ศอก 3 กระเบียด กว้าง 1 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว 1 กระเบียดเศษ ถ้าหากมีขนาดใหญ่กว่านี้ พระสงฆ์ต้องตัดให้ได้ขนาด จึงจะปลงอาบัติได้

นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ด้วย หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัติ โดยพระพุทธเจ้ายังได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ว่า หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาใช้ได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ กล่าวคือ ทรงวางกรอบเวลาหรือเขตกาลไว้ 3 เขตกาล[29] คือ


เขตกาลที่จะแสวงหา ช่วงปลายฤดูร้อน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลา 1 เดือน

เขตกาลที่จะทำนุ่งห่ม ช่วงกึ่งเดือนปลายฤดูร้อน ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลาประมาณ 15 วัน

เขตกาลที่จะอธิษฐานใช้สอย ช่วงเข้าพรรษา ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 12 รวมเวลา 4 เดือน

ด้วยกรอบพระพุทธานุญาตและกรอบเวลาตามพระวินัยดังกล่าว เมื่อถึงเวลาที่พระสงฆ์ต้องแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน พุทธศานิกชนจึงถือโอกาสบำเพ็ญกุศลด้วยการจัดหาผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระสงฆ์ จนเป็นประเพณีสำคัญเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษามาจนปัจจุบัน”

การปวารณาออกพรรษา

ต่อมาครั้นภิกษุทั้งปวงได้อยู่จำพรรษาจนครบไตรมาส บริบูรณ์แล้วจึงได้มีการปวารณาออกพรรษา ในวัน แรม 15ค่ำ เดือน 11 ในช่วงหลังออกพรรษนี่เอง จะมีประเพณีสำคัญต่างๆ เช่น การเทศน์มหาชาติ การถวายผ้ากฐิน และการตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นต้น

ที่มา:pranamo


ประวัติของวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์