ผู้ที่ปฏิบัติธรรมได้ยาก

ผู้ที่ปฏิบัติธรรมได้ยาก

   ผู้ทำกรรมหนัก จิตจะบันทึกความรู้สึกที่ทำกรรมอันนั้นไว้ในใจ

ทั้งลหุกรรม และครุกรรม ทั้งดีและชั่ว จะเป็นการยากที่จะทำวิปัสสนาญานให้

ปรากฏในจิตของคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะฝืนต่อวิบากจิตตัวเองไม่ได้ ผู้ที่ปฏิบัติรรม

ได้ยาก ได้แก่

   1. ผู้ทำร้ายพระพุทธเจ้า

   2. ผู้ฆ่าพระอรหันต์

   3. ผู้ยุยงพระสงฆ์ให้แตกกัน

   4. ผู้ที่ฆ่าพ่อแม่

   5. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปราชิก
(เสพกาม ลักขโมย ฆ่ามนุษย์ ชอบโกหก

อวดดี อวดอ้างคุณธรรมอันยิ่งใหหญ่ที่ไม่มีในตน เช่นสมาธิ สมาบัติ มรรค ผล)

  
6. คนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมาถึง บุคคลผู้เห็นความทุกข์ว่าเป็นความสุข

บุคคลผู้ขาดเหตุผล ไม่ยอมเชื่อไม่ยอมพิสูจน์

  
7. ผู้หลงเพลิดเพลินติดสุขในกามคุณ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสอารมณ์

ติดความสะดวกสบาย (พวกเทพนิกาย หรือหรือพวกที่ใช้ชีวิตแบบเทวดา)

  
8. ผู้ติดในอัปปนาสมาธิ คือสมาธิแบบตัวแข็ง ดิ่ง นิ่ง เป็นสมาธิแบบ...

พรหมลูกฟัก เป็นอสัญญีพรหม เป็นอัตตาที่ละเอียดยากจะถอนได้ โยคาวจร

พวกนี้ขันธ์ห้าไม่สมบูรณ์ จะเหลือเพียงรูปขันธ์ ส่วน เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญานดับหมด
เป็นการสะกดจิตตัวเอง นี้พวกนี้ได้ตายจากมรรคผลไปแล้ว

เพราะ การปฏิบัติวิปัสสนาแบบพุทธนั้น ให้ดับทุกข์ที่เกิดจากอุปทานใน

ขันธ์เท่านั้น ไม่ใช่ให้ดับขันธ์ห้า

  
9. ผู้ทำอนันตริยกรรม
คือ กรรมอันหนักยิ่ง จะให้ผลชัดเจนขณะทำวิปัสสนา
ผลกรรมจะผุดขึ้นรบกวนจิตเสมอ จนไม่สามารถข้ามพ้นได้ รวมทั้งภิกษุผู้ต้อง

อาบัติหนักด้วย ท่านอุปมาเหมือนต้นตาลยอดด้วน ย่อมไม่มีโอกาสงอกอีก ส่วน

มิจฉาทิฏฐิหมายเอาการยึดความเห็นแบบสุดโต่งทั้งนัตถิทิฏฐิ คือ
ความเห็นว่า

โลกไม่มีอะไร บาป บุญ นรก สวรรค์ สุข ทุกข์ไม่มี จะปฏิบัติไปทำไม โลกนี้ โลก

หน้าไม่มี ตายแล้วตายไป คนปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติก็ตายเหมือนกัน เอาจริงเอาจัง

อะไรกับชีวิต เสพสุขสนุกสนานไปวัน ๆ ยังดีกว่าอีก

  
10. ผู้ติดอยู่ในสัสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือเห็นว่าโลกนี้มี โลกหน้าก็

ย่อมมีมีวันนี้ก็ย่อมมีวันพรุ่งนี้ มีกลางวันก็ย่อมต้องมีกลางคืน สัสสตทิฏฐิ เห็นว่า

เที่ยง ไม่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับชีวิตแน่นอน ปัจจุบันร่ำรวยอย่างไร

วันข้างหน้าก็ร่ำรวยอย่างเดิม ปัจจุบันมีความสุข อนาคตก็ต้องเป็นเหมือนเดิม

รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร อนาคตก็ต้องเป็นอย่าง

นั้น ความเห็นทั้งสองอย่างเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นที่ไม่ได้ก่อประโยชน์ให้กับ

ชีวิตตนเองเลย กลับเป็นมลทิน ดังเช่นภูเขาขวางกั้นจิตตนที่ข้ามพ้นได้ยากยิ่ง

   การที่จิตเรารู้อยู่กับปัจจุบันโดยแจ่มแจ้ง มีอิสระลอยตัวไม่ข้องแวะยึด

ติดความรู้ความเห็นใด ๆ รู้อยู่เฉพาะเหตุปัจจัยในขณะนั้น ๆ นี่คือ........

จิตเป็นสัมมาทิฏฐิ หมายถึงผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว


            คัดจาก หนังสือการรู้ธรรมแบบรู้แจ้ง

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์