รักษาใจ กับ ข่มใจ


การรักษาใจ กับ การข่มใจ
โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม



วันนี้จะบรรยายธรรม อนุสาวรีย์ของสมเด็จพระบรมศาสดา
แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ซึ่งเป็นหลักแห่งพระศาสนาที่นับถือของตน
คนเราจะต้องมีพระศาสนาเป็นเครื่องจูงใจ
จึงจะทำความรู้และความประพฤติของตนให้ประกอบด้วยประโยชน์
การนับถือพระศาสนาต้องเคารพนับถือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของ
ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของพระองค์
นับถือพระสงฆ์เป็นผู้ปกครองรักษา เช่นเดียวกับอาณาจักร
อย่างพวกทหารเคารพนับถือสมเด็จพระมหากษัตริย์
และประพฤติตามวินัยที่ทรงบัญญัติ
สำหรับหมู่คณะของตนไม่ฝ่าฝืน
นับถือนายที่เป็นผู้ใหญ่เหนือตน
อันได้รับการศึกษาคุ้นเคยในกิจการ
ซึ่งสมเด็จพระมหากษัตริย์ทรงวางพระทัย
แต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชา
ฉะนั้นพระศาสนา ปฏิบัติให้ถูกทางแล้ว
ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุคคลทุกจำพวก
แม้พวกข้าราชการทหารก็ต้องยึดธรรมเป็นหลัก
จึงจะนับว่าเป็นทหารที่ดี

ธรรมที่ทหารควรยึดถือเป็นหลักนั้น
จะยกขึ้นกล่าวในที่นี้ ๒ ประการคือ
๑ ความรักษาใจ
๒. ความข่มใจ


ธรรม ๒ ประการนี้เป็นของสำคัญ
เพราะใจเป็นเครื่องกระทบอยู่รอบข้าง
ถ้าไม่มีธรรมกำกับอยู่ด้วย
มักจะเพลิดเพลินไปในอารมณ์ที่ล่อให้มัวเมา
และสะดุ้งหวาดหวั่น ด้วยอำนาจอารมณ์ที่ขู่ให้ตกใจ
เมื่อใจแชเชือนไปเช่นนั้น
การพูดการทำก็ย่อมเชือนไปตามกัน

เมื่อความประพฤติเสีย แม้จะมีวิทยาความรู้สักเพียงไร
ก็ไม่เป็นประโยชน์ กลับจะใช้ความรู้ในทางที่ผิด
เป็นดังนี้ ก็ด้วยอำนาจความคิดอันวิปริต
สมดังสุภาษิตโบราณท่านกล่าวไว้ว่า
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ข้อนี้ ต้องจำใส่ใจไว้


ที่มา คัดลอกจาก...กฎแห่งกรรม - ธรรมปฏิบัติ เล่มที่ 17

รักษาใจ กับ ข่มใจ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์