วาจาของสัตบุรุษ-อสัตบุรุษ

วาจาของสัตบุรุษ-อสัตบุรุษ


วาจาของสัตบุรุษ-อสัตบุรุษ


ภิกษุ ท. !
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น สัตบุรุษ.๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-
ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษในกรณีนี้ แม้มีใครถามถึง ความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏจะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ไม่ถูกใครถามอยู่ ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ยังนำมาเปิดเผยให้ปรากฏ จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน กล่าวความดีของผู้อื่นโดยพิสดารบริบูรณ์

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือแม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ยังนำเปิดเผย
ทำให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อถูกถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ไม่
นำเอาปัญหาไปหาทางทำให้ลดหย่อนบิดพลิ้ว แต่กล่าวความไม่ดีของตนโดยพิสดารเต็มที่

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือแม้มีใครถามถึงความดีของตน ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
ทำไมจะต้องกล่าวถึง เมื่อไม่ถูกใครถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน ก็นำเอา
ปัญหาไปกระทำให้ลดหย่อนหลีกเลี้ยวเสีย กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดารเต็มที่.

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็นสัตบุรุษ

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นที่รู้กันว่าเป็นสัตบุรุษ.
จตุกฺก.อํ.๒๑/๑๐๐/๗๓
วาจาของอสัตบุรุษ
ภิกษุ ท !
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น อสัตบุรุษ.๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-
ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษในกรณีนี้
แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำมาเปิดเผยให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำ
เอาปัญหาไปทำให้ไม่มีทางหลีกเลี้ยวลดหย่อน แล้วกล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างเต็มที่โดยพิสดาร.

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น
อสัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ
แม้ถูกใครถามอยู่ถึงความดีของบุคคลอื่นก็ไม่เปิดเผย
ให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น ก็นำ
เอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนไขว้เขว แล้วกล่าวความดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่.

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น
อสัตบุรุษ.

ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ
แม้ถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ปกปิดไม่เปิด
เผย ให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็นำ
เอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนไขว้เขว แล้วกล่าวความไม่ดีของตนอย่างไม่พิสดารเต็มที่

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.
ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ
แม้ไม่มีใครถามถึงความดีของตน ก็นำมาโอ้อวดเปิดเผย จะกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่ลดหย่อนหลีกเลี้ยว กล่าวความดีของตนอย่างเต็มที่โดยพิสดาร.

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น
อสัตบุรุษ

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล เป็นที่รู้กันว่าเป็นอสัตบุรุษ.
จตุกฺก.อํ.๒๑/๑๐๐/๗๓.


ที่มา หนังสือ พุทธวจน ฆราวาสชั้นเลิศ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์