ศาสนาเดียวในโลกที่สอนเรื่องการพ้นทุกข์

ศาสนาเดียวในโลกที่สอนเรื่องการพ้นทุกข์


ศาสนาพุทธ

        พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวงคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้น การศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี (อิทัปปัจจยตา) และความเป็นไปตามธรรมชาติ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา
         (สิ่งเคารพสูงสุด) สรณะ (ที่พึ่ง) อันประเสริฐของพระพุทธศาสนาเรียกว่า พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ โดย "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสรู้ "พระธรรม" แล้วทรงสั่งสอนให้พระภิกษุได้รู้ธรรมจนหลุดพ้นตามในที่สุด ทรงจัดตั้งชุมชนของพระภิกษุให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุกด้วยการบัญญัติพระวินัยเพื่อเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตยเพื่อศึกษาพระธรรม (คันถธุระ) และฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้น (วิปัสสนาธุระ) เรียกว่า "พระสงฆ์" (สงฆ์ แปลว่าหมู่, ชุมนุม) แล้วทรงมอบหมายให้พระสงฆ์ทั้งหลายเผยแผ่พระธรรม เพื่อประโยชน์สุขของสัตว์โลกทั้งปวง •(ศาสดา) พระพุทธเจ้าได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในภูมิภาคที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน ตั้งแต่เมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ใน ทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน จัดเป็น1ใน3ศาสนาสากลหรือศาสนาโลก (หรือศาสนาที่เป็นศาสนาประจำชาติในหลายประเทศ) ประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนมากที่สุดคือประเทศจีน
        (คัมภีร์) หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา ในยุคก่อนจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ใช้วิธีท่องจำ (มุขปาฐะ) โดยใช้วิธีการสวดมนต์ เป็นเครื่องมือช่วยในการเปรียบเทียบความถูกต้อง และเรียกรวมกันทั้งหมดว่า "พระธรรมวินัย" ต่อมาภายหลังเรียกแยกเป็น "พระธรรม" คือความรู้ในสัจธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วและได้นำมาแสดงแก่ชาวโลก กับ "พระวินัย" คือข้อตกลง กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่ออกบวช เพื่อให้ผู้บวชใช้ยึดถือปฏิบัติ ในการครองเพศ สมณะ มีความขวนขวายมากในด้านที่ถูกต้องเป็นสาระแก่ชีวิต มีความขวนขวายน้อยในด้านอื่นที่ไม่เป็นสาระ เป็นชุมชน   ตัวอย่างที่ดำเนินชีวิตเพื่อความพ้นทุกข์ โดยมีหมวดอภิธรรมไว้อธิบายคำจำกัดความของศัพท์ในหมวดพระธรรม และมีหมวดอภิวินัยไว้อธิบายคำจำกัดความคำศัพท์ในส่วนพระวินัย จนมาถึงยุคสังคายนาครั้งที่ 3 ได้มีการบันทึกพระธรรมและพระวินัยเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นภาษาบาลี เรียกว่า "พระไตรปิฏก" แปลว่าตะกร้าสามใบ ซึ่งหมายถึง คัมภีร์หรือตำราสามหมวดหลักๆ ได้แก่
1. วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
2. สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมทั่วไป และเรื่องราวต่างๆ
3. อภิธัมมปิฎก ว่าด้วยธรรมะที่เป็นปรมัตถ์ธรรม หรือธรรมะที่แสดงถึงสภาวะล้วน ๆ ไม่มีการสมมุติ
        วินัยปิฎก จัดเป็นรากของพระศาสนา (ถ้าพระภิกษุประพฤติไม่น่าเลื่อมใสศาสนาก็จะล่มจม) สุตตันตะปิฎก จัดเป็นกิ่ง ใบ ผล ร่มเงาของพระศาสนา (ธรรมะต่างๆย่อมมีประโยชน์หลายอย่างต่างๆกันไปแต่ละคน สามารถพลิกแพลงเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก ให้ความร่มเย็น เกิดศาสนาทายาท) อภิธรรมปิฎกจัดเป็นลำต้นของพระศาสนา (ธรรมะที่พลิกแพลงหลากหลายเพื่อนำไปใช้ต่างๆกันไป ย่อมจะทำให้เกิดความแตกแยกทางความคิดได้ต้องมีอภิธรรม ยึดเป็นหลักเทียบเคียงความถูกต้องของหลักการในพระศาสนา) 
       (ผู้สืบทอด) ผู้นับถือศาสนาพุทธที่ได้บวชเพื่อศึกษา ปฏิบัติตามคำสอน (ธรรม) และคำสั่ง (วินัย) และมีหน้าที่เผยแผ่พระธรรมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ (ชาย) และ พระภิกษุณีสงฆ์ (หญิง) ส่วนผู้นับถือที่ไม่ได้บวชจะเรียกว่าฆราวาส หรือ อุบาสก (ชาย) / อุบาสิกา (หญิง) โดยเมื่อรวมบุคคลสี่ประเภทคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะเรียกว่า พุทธบริษัท 4 อันหมายถึง พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ พุทธสาวก อันเป็นกลุ่มผู้ร่วมกันนับถือ ร่วมกันศึกษา และร่วมกันรักษาพุทธศาสนาไว้ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้บวชที่ตั้งแต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ 20 ปี จะเรียกเป็น สามเณร สำหรับเด็กชาย และ สามเณรี สำหรับเด็กหญิง ลักษณะการบวชสำหรับภิกษุ/ภิกษุณี จะเรียกเป็น การอุปสมบท สำหรับ สามเณร/สามเณรี จะเรียกเป็น การบรรพชา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์