สนทนาธรรม...กับพระธรรมธีรราชมหามุนี

สนทนาธรรม...กับพระธรรมธีรราชมหามุนี


ถาม: มีบางคนเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า เวลาเราจะตายจะกำหนด
'พอง-ยุบ'ดี หรือจะกำหนด'พุท-โธ'ดี ทั้งสองอย่างนี้ อย่างไหนจะถูก
ดี?
ตอบ: ถูกดีด้วยกันทั้งสองอย่าง แต่ดีคนละอย่าง คำว่า'พุท-โธ'
นั้นเป็นอารมณ์ของ..."สมถะ" ถ้าตายไปในขณะนั้นย่อมไปสู่สุคติ
โลกสวรรค์ เช่น มัฏฐกุณฑลี เทพบุตรเป็นตัวอย่าง...ส่วนคำว่า
'พอง-ยุบ' เป็นอารมณ์ของ..."วิปัสสนา" มีอานิสงส์อย่างสูงทำให้
ผู้นั้นเข้าถึงโลกกุตตระ คือ เข้าถึงมรรคผลนิพพาน อย่างต่ำก็ไป
สู่สุคติโลกสวรรค์

ถาม: บางคนสงสัยว่า..'อริยสัจ 4 'นี้ไม่เป็นอภิธรรม เมื่อเป็นเช่น
นี้ 'อภิธรรม' กับ'อริยสัจจ์' ก็คนละอันใช่ไหม?
ตอบ: ไม่ใช่...อภิธรรมกับอริยสัจจ์เป็นอันเดียวกัน

ถาม: ถ้าผู้ปฏิบัติต้องการจะกำหนดอภิธรรม แต่ลงมือกำหนดพอง
ยุบ จะถูกอภิธรรมไหม เพราะเหตุใด?
ตอบ: ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะว่าอภิธรรมนั้นก็คือ...จิต เจตสิก รูป
นิพพาน การกำหนดพอง-ยุบนั้น เมื่อเริ่มปฏิบัติ จิต เจตสิก รูป ก็มี
อยู่พร้อมแล้ว ขาดแต่พระนิพพานเท่านั้น เมื่อปฏิบัติถึงมรรคผลเมื่อ
ใดก็ถึงพระนิพพานเมื่อนั้น

ถาม: การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติจะกำหนดทางตา ทางหู
ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็ได้ใช่ไหม?
ตอบ: ใช่...กำหนดได้ทุกๆทาง โบราณท่านว่า ไม่หนี ไม่สู้ ไม่อยู่
ไม่ไป...เป็นวิสัยของนักปฏิบัติ

ถาม: เมื่อเป็นเช่นนั้น ขณะที่ตาเห็นรูป ผู้ปฏิบัติกำหนดว่า...เห็นหนอ
เห็นหนอ อย่างนี้ เอาตรงไหนเป็นอริยสัจ 4?
ตอบ: ขณะที่รูปคือสีปรากฏแก่ตา กำหนดว่า...'เห็นหนอๆตรงที่่
อาการเห็นเกิดขึ้นนั่นแหละ เรียกว่า..'ชาติ' ชาตินั่นแหละคือสมุทัยสัจ
อาการเห็นดับไปเรียกว่า..'ชรามรณะ' ชรามรณะนั่นแหละเรียกว่า
ทุกขสัจ ทั้ง..'สมุทัยและทุกข์'ดับลงไป เป็น...'นิโรธสัจ'...'ปัญญา'
ที่ตามรู้ทันในขณะนั้นเรียกว่า ดับลงไปตอนไหน เมื่อไร เป็น..มรรคสัจ
แม้ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อริยสัจ 4...ก็สามารถ
เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติได้เช่นกัน...ในการเดินจงกรมภาวนาว่า...ขวาย่าง
หนอ ซ้ายย่างหนอ เป็นต้น...อริยสัจ 4 ก็สามารถเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ
ได้เช่นเดียวกันนี้...ฯ

~พระธรรมธีรราชมหามุนี...(โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙). วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์