หัวใจบัณฑิต

หัวใจบัณฑิต

หัว..ใจของบัณฑิต มีอยู่ ๔ อย่าง สุ. จิ. ปุ. ลิ.

     สุ.  คือ  สุตะ    ฟัง 
     จิ.  คือ  จินตะ   คิด
     ปุ.  คือ  ปุจฉา   ถาม 
     ลิ.  คือ  ลิขิต    เขียน
 
ผู้ที่เว้นจาก สุ. จิ. ปุ. ลิ. แล้วจะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร

เพราะอยากจะเป็นบัณฑิต ต้องฟังให้มาก ๆ ฟังให้เข้าใจ

ฟังแล้วก็ต้องคิด ทบทวน หาเหตุผล ทำไมจึงเป็นอย่างนี้

ต้องได้เหตุได้ผล อย่าเชื่อทันที ต้องทบทวนดูเหตุผล
เสียก่อน ถ้ายังไม่ได้เหตุผล ก็ถามผู้รู้ว่า  มันยังไงกันแน่ อะไรอย่างนี้ ถามแล้วกลัวจะลืม ก็เอามาเขียนไว้  บันทึกไว้ เผื่อทีหลัง จะได้นำมาอ่านได้ ถ้าทำอย่างนี้เป็นบัณฑิตได้  และ..อีกอย่างหนึ่ง คำว่า " ศึกษา " เราชอบใช้พูดกันทั่ว ๆ ไป คำว่าศึกษา ไม่ใช้คำว่าเรียน คำว่าฟัง แต่คำว่าศึกษา หลักฐานดั้งเดิมของท่าน ไม่ใช่เรียนหนังสือนะ หรือเรียนตำรา ศึกษาว่า

ขณะเห็นนี้  ศึกษาหรือเปล่า ศึกษาธรรมขณะ เห็น นี่นะ ทางตาก็มีธรรม  ทางหู ทางจมูก....ทางใจ ทั้ง ๖ ทางนี้ก็มีธรรมทั้งนั้น แต่ละทวารที่ที่เขาเกิด มีธรรมหรือเปล่า มีธรรมอะไรศึกษาหรือเปล่า ถ้ามัวแต่อ่าน  แต่ฟังอยู่เฉย ๆ ผ่าน ๆ ไป ก็ไม่ได้ประโยชน์ เพราะว่าก็ต้องพยายามศึกษาให้รู้ ให้เข้าใจ ให้หายสงสัย เพราะความลังเลสังสัยเป็นนิวรณ์  เป็นวิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นธรรมเครื่องกั้นความดี แต่ศึกษาตามตัวหนังสือไม่พอ ถ้าศึกษาตามตัวหนังสือได้ ก็สำเร็จกันไปหมดแล้ว

อ่านพระไตรปิฎกจบ ไม่ใช่อ่านจบอย่างเดียวนะ ท่องได้ด้วยทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์ พระวินัย ๒๑,๐๐๐ พระสูตร ๒๑,๐๐๐ พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ พระธัมมขันธ์

เมื่อคราวทำสังคายนาที่ประเทศพม่า เขานิมนต์พระจาก
ประเทศต่าง ๆ ไป เอาตำราพระไตรปิฏกมาตรวบสอบ ไม่ได้อ่านพระไตรปิฎก แต่สวดปากเปล่าเหมือนสวดปาติโมกข์ อ่านจบพระไตรปิฏกท่องได้ แต่เข้าใจหรือเปล่า แล้วยังเอามาสอนในเมืองไทย ให้งมงายไปตาม ๆ กัน เยอะแยะเลย

เพราะ..การศึกษานั้น จริง ๆ แล้วต้องศึกษาตอนที่ธรรมกำลังปรากฎ กำลังมีอยู่ ให้รู้ว่าเป็นธรรมจริง ๆ ถ้าเราเข้าใจทวารหนึ่งทวารใด ทวารอื่น ๆ ก็ง่ายขึ้น เพราะมีลักษณะทำนองเดียวกัน แล้วเราจะเห็นคุณค่าของพระศาสนา พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มันลึกซึ้งอย่างนี้เอง จึงเข้าใจยาก ที่จะรู้ตามได้...

ที่มา  :  สมาธิดอทคอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์