ให้ดูจิตเจ้าของ...(หลวงปู่ชา สุภทฺโท)

ให้ดูจิตเจ้าของ


พิจารณาธรรมที่ตรงไหน...ธรรมมันเกิดที่ตรงไหน...ดับที่ตรงไหน...
อย่าไปดูที่อื่น ดูที่จิตของเรา จิตนี้มันเป็นกำลังมากที่สุด ตา หู จมูก
ลิ้น กาย อย่างนี้ก็เป็นลักษณะเท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรหรอก เหมือน
กับรถยนต์ ตารถยนต์มันมีแสงใหญ่ สว่าง อย่างนั้น แต่รถยนต์มัน
เห็นไหม หรือคนนั่งอยู่บนรถยนต์มันเห็นไหม ตัวรถยนต์มันเห็นแสง
สว่างหรือเปล่า นี่ก็เหมือนกันนะ ความเป็นจริงแสงสว่างเกิดจากตา
รถยนต์ แต่รถยนต์ไม่เห็น

เราก็เหมือนกันน้อมเข้ามาเป็นโอปนายิกธรรม...เราอยู่ในสถานที่ที่
เราสงบ สงบอยู่ที่นี้ ที่นี่ในป่านี้ แต่เราก็ต้องการความสงบ บางทีบาง
คนมาอยู่ที่นี่ก็ไม่เห็นความสงบเหมือนกัน เสมือนกับรถยนต์ มีตาแต่
ว่ารถยนต์ไม่เห็น คนนั่งอยู่บนรถยนต์นั้นเห็น อย่างนี้ดหมือนกัน

ให้เรารู้จักว่าธรรมทั้งหลายมันเกิดที่ตรงไหน...ดับที่ตรงไหน อะไรๆ
มันเป็นอย่างไร มันจึงจะรู้จัก ธรรมะเป็นเรื่องอุบายอย่างนี้ เพราะว่า
ธรรมะเรามองไม่เห็นชัด ไม่มีอะไร มีเรื่องอุบาย อาตมาจึงชอบพูด
ธรรมะ พูดเรื่องอุบายให้เห็นอย่างนี้ เช่น...เราเห็นว่าโลกนี้วุ่นวาย
ความเป็นจริงโลกนี้ไม่วุ่นวาย เราวุ่นวายเองของเรา

ให้น้อมเข้ามา เช่น...เห็นต้นไม้ต้นหนึ่ง มันแก่ ใบมันร่วงลงไป เรา
มองเห็น เห็นต้นไม้ก็รู้จักแล้ว ก็น้อมมองเข้ามาหาเราว่าเป็น...
'ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ'...ต้นไม้มันแก่ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ตัว
เราแก่ก็ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ดห็นธรรมที่เสมอกันแล้ว เห็นข้าง
นอกก็เห็นข้างใน เห็นข้างในก็เห็นข้างนอก อันนี้ก็เป็นอนุสสติเรา
อย่างหนึ่ง ให้ปลงสังขารแล้วพิจารณาเรื่อยไป เมื่อเรารู้จักธรรมะ
เช่นนี้ ก็เหมือนกับคนที่เดินทางไป เดินไปแล้วก็เดินทางกลับมา
แล้วก็หยุดอยู่ นี้เป็นลักษณะของคนเดิน คนกลับเดินไปก็ได้ กลับ
มาก็ได้ หยุดอยู่ก็ได้ ...

แต่ธรรมะที่พระพุทธเจ้า หรือที่นักปราชญ์ทั้งหลายท่านสอนว่า เมื่อ
จิตถึงธรรมะอันแท้จริงแล้ว อาการเดินไปก็ไม่มี อาการกลับมาก็ไม่มี
อาการหยุดก็ไม่มี นี้เข้าใจไหมว่าจะอยู่ที่ตรงไหน สิ่งทั้งหลายนี้มันจะ
ปรากฏขึ้นมากับผู้ปฏิบัติ อันนี้มันเป็นธรรมที่เรียกว่ามันเป็น...'สัจธรรม'
ที่ตั้งอยู่ไม่ใช่ของใครทั้งนั้นแหละ ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของใคร
ทั้งนั้นแหละ อันนี้เป็นสัจธรรมอยู่อย่างนี้ ไม่ใช่ของใครอยู่อย่างนี้ ไม่
ไปกับใครทั้งนั้นแหละ อยู่อย่างนี้ เดินไปก็ไม่ไป ถอยกลับก็ไม่ถอย
ยืนหยุดอยู่ก็ไม่หยุดอยู่เหมือนกัน ไม่มีการเดินไป ไม่มีการถอยกลับ
ไม่มีการหยุดอยู่

อันนี้เป็นธรรมที่เป็นปัจจัตตัง ถ้าผู้ประพฤติปฏิบัติไปถึงที่ตรงนั้น จะไม่
สงสัยอะไรทั้งนั้น จบลงที่ตรงนั้น อย่างนั้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็ดีแล้ว
แต่ว่าระยะหนึ่งก็ปฏิบัติเป็นช่วง 10 วัน 20 วัน เดือนหนึ่งหรือตอน
เช้า ตอนเย็น เราได้มานั่ง ทำความสงบแบบนี้ก็ดี แต่ว่ามันยังไม่ยิ่ง
ถ้าหากจะให้มันยิ่งแล้ว...การทำสมาธินั้นก็ไม่ใช่การนั่งอย่างเดียว
เดิน ยืน นั่ง นอน เป็นสมาธิเป็นวงกลมอยู่เรื่อย...ให้เรามีสติ

พูดถึงด้านจิตใจของผู้ประพฤติปฏิบัติของเรา ให้เป็นวงกลม ให้มีสติ
ไม่ใช่ว่าบางทีก็เข้าใจว่าเรานั่งกรรมฐานนี้ เราเลิกจากการกระทำนี้แล้ว
ก็หมดการกระทำกรรมฐาน ไม่ใช่อย่างนั้น อย่าให้มันหมดสิ เหมือน
เราบริโภคข้าว มันอิ่มแล้ว ออกจากที่นั่งเดินไปมันก็ยังอิ่ม นอนมันก็
ยังอิ่ม ไปมันก็ยังอิ่ม มันมีกำลังอย่างนั้น ให้เราเข้าใจอย่างนั้น พอที่
เราออกจากกรรมฐานนี้ ไม่ใช่เราออก ไม่ใช่ว่าเราหยุด เราจะต้องให้
มีสติอยู่เรื่อยในจิตของเราอยู่อย่างนั้น

เราทันหรือเปล่า การกระทบมันก็เป็นอย่างหนึ่ง เช่นว่า ตา หู จมูก
ลิ้น กาย มันจะกระทบแบบนี้ เรียกว่าการกระทบ เช่นว่านกมันร้อง
พอเสียงนกมันร้องกระทบเฉยๆ เมื่อนกมันร้องจบไปแล้ว ความรู้สึกนึก
คิดขึ้นมาอย่างนี้ แหมเสียงนกนี่มันสนุกว่ะ หรือคิดว่าอยากจับนกนี้
เป็นอาหาร อยากจะจับนกนี้ไปขาย นี่เรียกว่าเกิดจากตรงนั้น ไอ้กระทบ
เฉยๆได้ยินเฉยๆ นี่ไม่มีอะไร แต่ถ้ามีอวิชชาเป็นพื้น เมื่อกระทบแล้ว
เออเสียงนั้นสนุกอย่างนี้ รูปนั้นสวย กลิ่นนั้นหอม เราชอบ มันจะเป็น
ไปตามทำนองนี้ อันนั้นมันเรียกว่า เรื่องกระทบเฉยๆ มันอย่างหนึ่ง
แต่เมื่อกระทบแล้วมันรู้ ยึดหมายไปตามอาการทั้งหลายเหล่านั้น ไป
เก็บสิ่งต่างๆมารวมที่จิตของเรา รู้สึกขึ้น เรียกว่าการกระทบเฉยๆ...ฯ

~ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์~

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์