ดวงอาทิตย์จุดเทอร์โบใส่อุกกาบาต

อุกกาบาต243ไอดา บันทึกโดยยานสำรวจกาลิเลโอ ในปี 2536อุกกาบาต243ไอดา บันทึกโดยยานสำรวจกาลิเลโอ ในปี 2536


นักวิทยาศาสตร์


พิสูจน์แสงแดดจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนพื้นผิวส่งผลให้อุกกาบาตหมุนเร็วขึ้น และมีวงโคจรที่ไม่อยู่นิ่ง แสดงว่าระบบสุริยะเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาไม่ซ้ำซากน่าเบื่อ


ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ


สามารถยืนยันทฤษฎีที่เชื่อกันมานานว่า คลื่นแสงจากดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อการหมุนรอบตัวเองของอุกกาบาต เนื่องจากคลื่นแสงกระทบยังพื้นผิวที่บิดเบี้ยวของอุกกาบาตเหมือนมีแรงมาช่วยหมุน แต่ทฤษฎีดังกล่าวยังไม่มีใครพิสูจน์ให้เห็นชัดเสียที ทีมงานจึงเฝ้าจับตาอุกกาบาตสองก้อน ก้อนแรกมีขนาด 1.5 กม. อีกก้อนขนาด 111 เมตร

ทฤษฎีดังกล่าวเสนอว่า


เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับอุกกาบาต พลังงานแสงอาทิตย์จะถูกดูดกลื่นเข้าไปบนผิวอุกกาบาตก่อนจะแผ่คลื่นความร้อนกลับไปสู่อวกาศ เนื่องจากอุกกาบาตไม่ได้มีรูปร่างกลมเหมือนดาวเคราะห์ คลื่นความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงเปรียบเสมือนกับเครื่องยนต์ขับเคลื่อนที่ผลักให้อุกกาบาตหมุนเร็วขึ้น


ดวงอาทิตย์จุดเทอร์โบใส่อุกกาบาต


นักวิจัย กล่าวว่า


อุกกาบาตจะหมุนติ้วเร็วมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่แสงแดดตกกระทบ เปรียบได้กับกังหันลมที่ลมเข้ามาปะทะ ถ้าลมแรงมันก็หมุนเร็ว ถ้าลมเอื่อยก็หมุนช้าลง


นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเบลฟาสต์ ไอร์แลนด์


และมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ฟินแลนด์ ได้คำนวณพลังแสงอาทิตย์ที่มีต่ออุกกาบาต และเมื่อนำไปคำนวณหารอบหมุนตัวของอุกกาบาตในช่วงหลายปีพบว่าสอดคล้องกับสูตรที่คำนวณไว้

พวกเขาใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่และเรดาร์เฝ้าจับตา


ดูการหมุนรอบตัวเองของอุกกาบาต 2000 พีเอช 5 อุกกาบาตลูกเล็กที่อยู่ใกล้โลก พบว่าหมุนเร็วขึ้นปีละ 1/พันวินาที มีผลให้วงโคจรของมันเข้าๆ ออกๆ วงโคจรของโลก และมีระยะห่างจากโลกใกล้สุดเท่ากับ 5 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์


ดวงอาทิตย์จุดเทอร์โบใส่อุกกาบาต


นักวิจัย กล่าว


ผลกระทบที่เกิดขึ้นแม้จะเล็กน้อยมาก แต่ถ้าเทียบกับขนาดของอุกกาบาตขนาดเล็กแล้วต้องยอมรับว่ามันหมุนเร็วขึ้นมาก เพราะอุกกาบาตลูกนี้หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 12 นาทีเท่านั้น"

นักวิจัยยังกล่าวถึงอพอลโล 1862


ซึ่งเป็นอุกกาบาตอีกลูกที่ใหญ่กว่าว่า รอบที่หมุนเร็วขึ้นอาจทำให้อุกกาบาตลูกนี้กระเทาะ เห็นได้จากอุกกาบาตลูกนี้มีบริวารขนาดเล็กวนเวียนอยู่ใกล้ๆ เหมือนดวงจันทร์ ซึ่งน่าจะเป็นเศษที่แตกออกมา


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

ดวงอาทิตย์จุดเทอร์โบใส่อุกกาบาต


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์