ภาพถ่ายครั้งแรกของหลุมอุกกาบาตชิกซูลับ -- ฆาตกรผู้ฆ่าไดโนเสาร์

ภาพถ่ายครั้งแรกของหลุมอุกกาบาตชิกซูลับ -- ฆาตกรผู้ฆ่าไดโนเสาร์


ทฤษฎีการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์โดยอุกกาบาตชนโลกนั้นถูกเสนอขึ้นตั้งแต่ปี 1980


เมื่อเร็วๆนี้องค์การนาซาภายใต้โครงการที่เรียกว่า Shuttle Radar Topography Mission (SRTM)ได้แถลงข่าว แสดงภาพถ่ายภูมิประเทศความละเอียดสูงที่เป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงหลุมอุกกาบาตขนาดยักษ์กว้างประมาณ 180 กิโลเมตร ลึก 900 เมตรซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุแห่งการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสัตว์โลก
ทฤษฎีการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์โดยอุกกาบาตชนโลกนั้นถูกเสนอขึ้นตั้งแต่ปี 1980 ซึ่งทำให้สัตว์โลกเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วกว่า 70 % สูญพันธุ์ ในทศวรรษ ที่ 90 ได้มีการค้นหาร่องรอยอุกกาบาตที่ถูกตั้งชื่อว่า Chicxulub นี้โดยใช้ดาวเทียมและการสำรวจภาคพื้นดินพบว่ามันอยู่ตรงคาบสมุทร ยูคาทาน ในเม็กซิโก โดยเห็นได้จากรอยหินปูนที่เป็นขั้นบันไดแต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก จนกระทั่งได้ภาพจากนาซ่านี้ซึ่งเป็นการทำแผนที่แบบ 3 มิติโดยทำบนกระสวยอวกาศที่โคจรรอบโลก ซากของการชนครั้งนั้นจึงสามารถเห็นได้ชัดเจนอย่างยิ่ง


จากภาพจะเห็นวงนอกของหลุมอุกกาบาต Chicxulub


ที่เป็นแอ่งมีขนาดลึก 3-5 เมตรและกว้าง 5 กิโลเมตร ซึ่งถ้าเราไปเดินแถวๆนั้นเราไม่มีทางรู้เลยว่าเป็นขอบหลุมอุกกาบาตทั้งนี้เนื่องจากมันใหญ่มากนั่นเอง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจุดศูนย์กลางของการชนอยู่เลยคาบสมุทรออกไปในทะเลคาริบเบียน การกระแทกอย่างรุนแรงสร้างความไม่คงตัว(instability) ให้แก่ชั้นหินใต้ผิวโลกต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปชั้นหินนี้ถูกปกคลุมด้วยตะกอนหินปูนซึ่งถูกกัดกร่อนได้ง่าย ความไม่คงตัวของชั้นหินที่ขอบนี่เองที่ทำให้ชั้นหินปูนยุบตัวตรงขอบ ทำให้เห็นเป็นรอยดังกล่าว


ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าการชนของอุกกาบาตที่ทำให้เกิด ชิคซูลับ นี้ทืให้เหล่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์ได้อย่างไร


อย่างไรก็ตามยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าการชนของอุกกาบาตที่ทำให้เกิด ชิคซูลับ นี้ทืให้เหล่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์ได้อย่างไร โดยมีที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดมี 3 ทฤษฎีคือ อุกกาบาตชนแล้วทำให้เกิดฝุ่นผงลอยขึ้นปกคลุมชั้นบรรยากาศและบดบังแสงอาทิตย์ทำลายห่วงโซ่อาหารบนโลก อีกทฤษฎีหนึ่งคือการชนทำให้เกิดกำมะถันฟุ้งกระจายกลายเป็นเมฆของกรดกำมะถันที่บดบังแสงอาทิตย์และเกิดฝนกรด สุดท้ายคือประกายไฟจากอุกกาบาตหรือดาวหางที่พุ่งชนก่อให้เกิดไฟป่าขึ้นทั่วโลก

ภาพนี้ได้จากเก็บข้อมูลจากกระสวยอวกาศ Endeavour ภายใต้โครงการ SRTM และถูกส่งผ่านไปยัง National Imagery and Mapping Agency (NIMA) เพื่อวิเคราะห์และสร้างเป็นแผนที่ขึ้นมา โดยข้อมูลมีขนาดประมาณ 8 terabyte (เทราไบท์ = 1024 GB หรือเท่ากับความจุของแผ่นซีดี 12,500 แผ่น)

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์