16 ตุลาคมนี้ เต็มตาวงแหวนดาวเสาร์ เอียงทำมุมเข้าหาโลกมาที่สุดในรอบ 14 ปี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)(สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย 16 ตุลาคมนี้ ดาวเสาร์หันวงแหวนเอียงทำมุมเข้าหาโลกมากที่สุด เห็นชัดสุดในรอบ 14 ปี หนุนโรงเรียนจัดกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน ตั้งกล้องส่องดาวเสาร์สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนสนใจเรียนรู้ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์

16 ตุลาคมนี้ เต็มตาวงแหวนดาวเสาร์ เอียงทำมุมเข้าหาโลกมาที่สุดในรอบ 14 ปี

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 ดาวเสาร์หันวงแหวนเอียงทำมุมเข้าหาโลกมากที่สุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ปี 2546 ประมาณ 26.96 องศา ปกติแล้วระนาบวงแหวนของดาวเสาร์จะทำมุมเอียงจากระนาบวงโคจรมากที่สุดทุกประมาณ 14 ปี เป็นผลให้วงแหวนดาวเสาร์มีลักษณะปรากฏแตกต่างไปในแต่ละปี คืนดังกล่าว หากสังเกตดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดหน้ากล้องตั้งแต่ 4 นิ้ว และกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวน A และวงแหวน B แยกกันอย่างชัดเจนโดยมีช่องแบ่งแคสสินีอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนทั้งสอง


ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 สามารถสังเกตดาวเสาร์ได้ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับกลุ่มดาวคนยิงธนู จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจชมความสวยงามของวงแหวนดาวเสาร์ในคืนดังกล่าว รวมถึงโรงเรียนทั่วประเทศโดยเฉพาะโรงเรียนในโครงการกระจายโอกาสเรียนรู้ดาราศาสตร์ 77 จังหวัดฯ ที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์จาก สดร. ใช้โอกาสนี้จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ตั้งกล้องโทรทรรศน์ให้นักเรียนและชุมชน ร่วมส่องวงแหวน

ดาวเสาร์แบบเต็มตา เชื่อว่าวงแหวนดาวเสาร์ที่สวยงามจะช่วยสร้างความประทับใจและแรงบันดาลใจแก่เยาวชนให้สนใจเรียนรู้ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น


ภาพลักษณะปรากฏของดาวเสาร์ ตั้งแต่ปี 2547 (บนซ้าย) - 2558 (ล่างขวา) ภาพจาก : https://apod.nasa.gov/apภาพลักษณะปรากฏของดาวเสาร์ ตั้งแต่ปี 2547 (บนซ้าย) - 2558 (ล่างขวา) ภาพจาก : https://apod.nasa.gov/ap


ภาพจำลองลักษณะปรากฎดาวเสาร์ในวันที่ 16 ตุลาคม 2560ภาพจำลองลักษณะปรากฎดาวเสาร์ในวันที่ 16 ตุลาคม 2560


ภาพจำลองตำแหน่งดาวเสาร์บนท้องฟ้าในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 เวลา 19:00 น.ภาพจำลองตำแหน่งดาวเสาร์บนท้องฟ้าในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 เวลา 19:00 น.

ที่มา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Facebook : www.facebook.com/NARITpage
Twitter : @N_Earth ,
Instagram : @NongEarthNARIT


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์