หนูไร้พ่อต้านสังคม-ไม่ตอบสนองฮอร์โมนความรัก

ภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ตภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ต


ดร.เกเบรียลลา ก๊อบบี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแม็กกิล ประเทศแคนาดา ศึกษาพฤติกรรมหนู

และได้ข้อสรุปว่า พ่อมีบทบาทสำคัญมากในครอบครัว ถ้าเด็กเล็กปราศจากพ่อแล้วเมื่อโตขึ้นก็จะขาดทักษะการเข้าสังคมเนื่องจากขาดความมั่นใจ คณะของ ดร.ก๊อบบี้นำหนูมาศึกษาโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเอาตัวพ่อออกมาตั้งแต่อายุเพียง 3 วัน กลุ่มที่สองให้พ่อกับแม่หนูเลี้ยงจนโตคืออายุ 30-40 วัน

จากนั้นจึงนำหนูมาวิเคราะห์เซลล์สมอง พบว่าเซลล์สมองของหนูที่มีแต่แม่เลี้ยงดูไม่ค่อยตอบสนองกับ "ฮอร์โมนออกซีโตซิน (Oxytocin)"

หรือฮอร์โมนความรักที่มักถูกปล่อยออกมาในสมองเมื่อมีเพศสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด หมายความว่า หนูกลุ่มนี้ไม่ค่อยรู้สึกดีเมื่อต้องอยู่รวมกลุ่ม หนูไม่มีพ่อยังมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ซึ่งถ้านำหนูที่มีทั้งพ่อและแม่ 2 ตัวมาอยู่ในกรงเดียวกันมันจะทำความรู้จักกัน แต่ถ้านำหนูไม่มีพ่อ 2 ตัวมาอยู่ด้วยกันมันจะเพิกเฉยไม่พยายามทำความรู้จัก

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาของ ดร.รูธ เฟลด์แมน จากมหาวิทยาลัยบาร์-อิลาน ประเทศอิสราเอล ที่พบว่า สามีภรรยามีระดับฮอร์โมนออกซีโตซินเพิ่มขึ้นหลังจากผู้เป็นภรรยาคลอดบุตร ผู้เป็นแม่มีระดับฮอร์โมนนี้มากเมื่อมอง กอด จูบ ร้องเพลงให้ลูก ส่วนพ่อที่เล่นกับลูกมากกว่าก็จะมีระดับออกซีโตซินมากกว่าพ่อที่ไม่ค่อยเล่นกับลูก

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์