อันตรายจากฟลูออรีน

อันตรายจากฟลูออรีน


โรงงานอุตสาหกรรม


ที่ปล่อยฟลูออรีนปะปนเข้าสู่บรรยากาศนั้นมีโรงงานทำอลูมิเนียม ทำอิฐจากดินชนิดต่าง ๆ ถลุงเหล็ก ทำปุ๋ยเคมี และเคมีภัณฑ์ประเภทฟอสเฟต เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสารประกอบฟลูออรีนนั้นได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นโอกาสที่สารประกอบฟลูออรีนจะสะสมอยู่ในอากาศจึงมีมากขึ้นด้วย

ฟลูออรีนเข้าปะปนอยู่ในบรรยากาศ ได้ 2 สถานะ คือ


1. ในรูปของก๊าซ

เช่น ไฮโดรฟลูออริกแอซิด (Hydrofluoric acid) (HF) ซิลิคอนเตต้าฟลูออไรด์ (Silicontetrafluoride) (SiF)

2. ในรูปของอนุภาคที่มีขนาดเล็ก

เช่น โซเดี่ยมอลูมิเนียมฟลูออไรด์ (Sodium aluminium fluoride), เอพาไตต์ (Apatite), แคลเซียมฟลูออไรด์ (Calcium fluoride), ไอออนฟลูออไรด์ (Iron fluoride)

อันตรายจากฟลูออรีน


อันตรายจากฟลูออรีน


1. อาการแพ้พิษฟลูออรีนชนิดเฉียบพลัน

ในกรณีที่ได้รับฟลูออรีนเป็นจำนวนมาก มักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย สุขภาพทรุดโทรม ท้องเดิน กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยและตายในที่สุด

ถ้าทำการวิเคราะห์ส่วนประกอบของกระดูก

จะพบฟลูออรีนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และถ้าทำการตรวจปัสสาวะ จะพบฟลูออรีนเป็นจำนวนมากเช่นกัน

2. อาการแพ้พิษฟลูออรีนชนิดเรื้อรัง

ในกรณีที่ได้รับฟลูออรีนในปริมาณไม่มากนัก ก็จะเกิดการสะสมของฟลูออรีนไว้ในร่างกายทีละน้อย จะทำให้เกิดความเสียหายและข้อบกพร่องขึ้นกับระบบโครงกระดูกและฟัน สำหรับความผิดปกติของฟันเกิดขึ้น โดยเคลือบฟันจะมีลักษณะเป็นจุดสีขาวขุ่นๆ ซึ่งเดิมมีลักษณะใส

นอกจากนี้ยังทำให้ฟันไม่แข็งแรงเท่าที่ควร

ฟันจึงมักชำรุดแตกบิ่นง่าย ส่วนในระบบโครงกระดูกอาการที่พบคือ กระดูกจะเจริญเร็วมาก ซึ่งอาจจะสังเกตได้จากกระดูกขา กราม กระดูกซี่โครง ขากระเผลก เดินลำบาก ซึ่งเป็นผลจากการเจริญมากเกินไปของกระดูก หรือเกิดจากที่หินปูนไปจับกับเอ็นและข้อต่อของขา จึงทำให้ขาแข็ง ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นอาการแบบถาวร


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ Digital Library for school net
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

อันตรายจากฟลูออรีน


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์