ขุดกรุสินค้า 7 อย่าง ที่ทำให้สตีฟ จ็อบส์ ขายหน้า


เมื่อใดที่สตีฟ จ็อบส์ คิดที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่เมื่อใด เมื่อนั้น จะต้องสร้างปรากฏการณ์ให้แก่โลกไอที่ทุกครั้งไป แต่ก็คงจะต้องมีบ้างบางครั้งที่ผลงานไม่น่าประทับใจนัก และนี่คือสินค้า 7 ประเภทของที่รังสรรค์ขึ้นโดยจ็อบส์ ที่ประสบความล้มเหลวทั้งด้านการตลาดหรือไม่ก็ความสามารถที่ไม่ตอบสนองตลาด

1. Apple III  (1981)


ขุดกรุสินค้า 7 อย่าง ที่ทำให้สตีฟ จ็อบส์ ขายหน้า


เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากแอปเปิลประสบความสำเร็จจาก  Apple II โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจและด้านราคาอย่างสอดคล้อง แต่โชคร้ายที่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์กลับกลายเป็นสิ่งที่ไว้ใจไม่ได้ ทำให้แอปเปิลต้องสูญเสียตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ พีซีให้แก่ไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญในขณะนั้น และออกผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกันในปีเดียวกัน และติดตลาดอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา


 

2. Lisa (1983)


ขุดกรุสินค้า 7 อย่าง ที่ทำให้สตีฟ จ็อบส์ ขายหน้า


เป็นคอมพิวเตอร์ที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์เครื่องแรกที่ใช้ระบบการควบคุมและสั่งงานเครื่องโดยการใช้กราฟฟิก (Graphical User Interface) แม้จะมีคุณสมบัติล้ำหน้าคอมพิวเตอร์ในยุคเดียวกันสักเพียงไหน โดยมีสนนราคาที่ 9,995 ดอลล่าร์เมื่อตอนเปิดตัว ซึ่งทำให้ Lisa ตกเป็นรองคอมพิวเตอร์แม็คอินทอชที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งเปิดตัวในปีถัดมาอย่างช่วยไม่ได้

3. NeXT Computer (1989)


ขุดกรุสินค้า 7 อย่าง ที่ทำให้สตีฟ จ็อบส์ ขายหน้า


ผลงานของสตีฟ จ็อบส์ หลังจากที่โดนบีบออกจากแอปเปิล เขาได้สร้างสรรค์คอมพิวเตอร์ที่มีความโดดเด่นเกินหน้ายุคสมัยนั้น และเป็นเฉกเช่นเดียวกับ Apple III และ Lisa สินค้ารุ่นนี้ถือว่าแพงมากเกินไปสำหรับผู้ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป

4. Puck Mouse (1998)


ขุดกรุสินค้า 7 อย่าง ที่ทำให้สตีฟ จ็อบส์ ขายหน้า


นี่ถือเป็นผลิตภัณฑ์หลักตัวแรกที่จ็อบส์คิดค้น หลังจากกลับมาทำงานให้ Apple อีกครั้งในปี 1996 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้เป็นเพียงเม้าส์กลมๆ อันเล็กๆ แต่ถึงกระนั้น แม้จะเป็นที่ฮือฮา แต่กลับไม่เป็นที่ประทับใจผู้ใช้เพราะรูปทรงและขนาดที่ใช้งานยากและเล็กจนเสมือนหายเข้าไปในอุ้งมือ

5. The Cube (2000)


ขุดกรุสินค้า 7 อย่าง ที่ทำให้สตีฟ จ็อบส์ ขายหน้า


คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปขนาดเล็กเครื่องนี้ ถูกบรรจุอย่างสวยงามอยู่ในกล่องรูปทรงลูกบาศก์ที่ทำจากพลาสติกใส ผลงานชิ้นนี้ชนะการประกวดการออกแบบ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในแง่ของยอดขาย เนื่องจากราคาที่สูงลิ่ว ขณะที่ตัวผลิตภัณฑ์เองก็ไม่มีประโยชน์โดดเด่น หรือพิเศษกว่าสินค้าแม็คตัวอื่นๆ แม้ว่า
การดีไซน์สินค้าของแอปเปิลจะเป็นสิ่งที่น่าจดจำ แต่ผู้คนทั่วไปก็ไม่ได้เต็มใจที่จะจ่ายเงินจำนวนมากให้กับดีไซน์อันโดดเด่นอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ไอเดียของ The Cube นั้นก็ปรากฏใน Mac Mini ซึ่งเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่า แม้ว่าจะไม่ได้เป็นรุ่นที่โดดเด่นมากนัก

6. iTunes phone (2005)


ขุดกรุสินค้า 7 อย่าง ที่ทำให้สตีฟ จ็อบส์ ขายหน้า


เป็นเรื่องยากที่จะลืมว่า โทรศัพท์ iPhone ไม่ได้เป็นความพยายามแรกของแอปเปิล ในการบุกตลาดโทรศัพท์มือถือ แอปเปิลได้ร่วมมือกับโมโตโรลา อิงค์ เพื่อออกโทรศัพท์รุ่น ROKR ในช่วงปลายปี 2005 เมื่อมองในฐานะโทรศัพท์ ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าในฐานะเครื่องเล่นเพลง มันขาดความน่าตื่นเต้นโดยสิ้นเชิง และถือว่าเป็นรองเครื่องเล่น iPod อยู่หลายขุม เนื่องจาก ROKR สามารถจุได้เพียง 100 เพลง และการถ่ายโอนเพลงจากคอมพิวเตอร์จากมือถือก็ใช้เวลานาน อีกทั้งโดนวิจารณ์ว่าผู้ใช้ไม่สามารถดาวน์โหลดเพลงลงโทรศัพท์รุ่นนี้ผ่านทางระบบเครือข่ายมือถือ ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดที่เกิดกับเครื่อง iPhone รุ่นแรกด้วยเช่นกัน  ซึ่งผู้ใช้บางรายตั้งชื่อให้ว่า ROKR "the iPhone"

7. Apple TV (2007)


ขุดกรุสินค้า 7 อย่าง ที่ทำให้สตีฟ จ็อบส์ ขายหน้า


ความพยายามของ Apple ในการจู่โจมไปอยู่ในห้องนั่งเล่นของผู้ใช้นั้นเป็นความพยายามที่ขาดคุณลักษณะโดยใช้"ใจ"อย่างสิ้นเชิง  ต่อมาจ็อบส์เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ทีวีนั้นเสมือนเป็น"งานอดิเรก"  สินค้าชิ้นนี้เป็นเหมือนกล่องเล็กๆ ที่เชื่อมต่อทีวีเข้ากับเครื่อง Mac ภายในบ้าน รีโมทคอนโทรลขนาดเล็ก ทำให้ผู้ใช้ใช้สำหรับกดเล่นเพลงและภาพยนตร์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ไปเล่นบนเครื่องทีวี นอกจากนี้ยังมีราคาแพงถึง 249 ดอลล่าร์ และยุ่งยากในการติดตั้งและใช้งาน และภาพยนตร์ที่ผู้ใช้ซื้อผ่าน iTunes ยังมีขนาดความละเอียดภาพต่ำและแสดงภาพได้ไม่คมชัดหากเล่นบนเครื่องที่เป็นระบบ HDTV ในปี 2010 แอปเปิลได้เปิดตัว Apple TV ออกมาอีกรุ่นที่ราคาถูกกว่าเดิมมากและพัฒนากว่ารุ่นเดิมมาก และออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อโดยตรงกับอินเตอร์เน็ต

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์