อธิกวินาที(leap second) คืออะไร?

อธิกวินาที(leap second) คืออะไร?

        อธิกวินาที(leap second) คืออะไร? คำว่าอธิก แปลว่า การเพิ่ม เช่นคำว่า ปีอธิกสุรทิน คือ ปีที่มีการเพิ่มวันที่ 29 เข้าไปในเดือนกุมภาพันธ์ อันเนื่องมาจากปีหนึ่งๆ มีเวลาเท่ากับ 365 วันกับอีก 1/4 วัน ดังนั้น 4 ปีจึงรวมเป็น 1 วันคือเพิ่มไปในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ อธิกมาส แปลว่า ปีที่มีการเพิ่มเดือนทางจันทรคติ คือปีที่มีเดือน 8 สองครั้ง เป็นต้น ดังนั้น อธิกวินาที ก็คือการเพิ่มวินาทีนั่นเอง

        ทำไมต้องมีการเพิ่มวินาที? เวลานั้นคือที่สิ่งที่มนุษย์เรากำหนดขึ้นโดยสังเกตจากธรรมชาติ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเวลาให้เข้ากับธรรมชาติ แต่เดิมมนุษย์เราก็อาศัยดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่บอกเวลาในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนก็อาศัยการดูดาวฤกษ์เป็นเครื่องบอกเวลา ต่อมามนุษย์เราก็มีเครื่องมือบอกเวลาก็คือนาฬิกา ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาในยุคแรกๆ ที่เป็นนาฬิกาลูกตุ้ม นาฬิกาควอทซ์ จนกระทั่งพัฒนามาถึงนาฬิกาอะตอมซึ่งอาศัยการสั่นของอะตอมของธาตุกัมมันตรังสีที่มีความเที่ยงตรงสูงมาก มากเสียยิ่งกว่าเวลาที่โลกหมุนจริง ซึ่งไม่เที่ยงตรงเท่า แต่เราก็ต้องยึดเวลาตามธรรมชาติเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องปรับเวลาที่เที่ยงตรงมากนี้ ให้ไม่เที่ยงตรงตามธรรมชาติ คือตามการหมุนของโลก โดยการเพิ่มวินาทีในบางปี

         การเพิ่มวินาทีนี้จะทำในวันที่ 30 มิถุนายน ในเวลาสิ้นสุดของวันคือในช่วงกลางปี และวันที่ 31 ธันวาคมคือในปลายปี ในเวลาสิ้นสุดของวันเช่นกัน โดยเอาเวลามาตรฐานสากลที่กรีนิช เป็นเกณฑ์ในการตั้ง ดังนั้นใน 1 วันที่มีอยู่ทั้งหมด 86,400 วินาที วันที่มีอธิกวินาทีก็จะมี 86,401 วินาที

         แต่อธิกวินามีจะไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวเหมือนปีอธิกสุรทินที่มี 4 ปีครั้งหนึ่ง สาเหตุก็เพราะว่าโลกนั้นหมุนเร็วช้าไม่สม่ำเสมอ ในแต่ละปี เร็วบ้างช้าบ้าง แต่ในภาพรวมแล้วโลกจะหมุนช้าลง จึ่งทำให้นาฬิกาอะตอมที่เที่ยงตรงมากไม่ตรงกับเวลาธรรมชาติ จึงต้องเพิ่มหรือลดวินาที แต่ที่ผ่านมานั้นเพิ่มทั้งสิ้น

         ในทางดาราศาสตร์จะใช้การสังเกตดวงอาทิตย์ที่ผ่านตำแหน่งหนึ่งๆ ครบหนึ่งรอบหรือในเวลากลางคืนใช้วิธีสังเกตจากดวงดาวเรียกว่าเวลาสุริยะ (Universal time 1: UT1) โดยมีองค์กรหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เทียบเวลาการหมุนของโลกเทียบกับตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้า โดยเปรียบเทียบกับเวลา UTC (เวลาที่ได้จากการเฉลี่ยเวลาจากนาฬิกาอะตอมที่ตั้งอยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก)คือเวลาที่ใช้อ้างอิงการหมุนของโลก เมื่อพบว่าเวลาทั้งสองต่างกันมาก ก็จะมีการเพิ่มหรือลดวินาทีดังกล่าวข้างต้น

          โดยเมื่อเทียบเวลา UT 1 กับเวลา UTC แล้วแตกต่างกันเกิน 0.9 วินาที ก็จะมีการเพิ่มหรือลดวินาทีขึ้น โดยจะมีการประกาศเป็นครั้งๆ ไป โดยการเพิ่มวินาทีนั้นเช่น โดยปกติเมื่อถึงเวลา 23.59 :59 แล้วก็จะเป็น 00.00:00 แต่ถ้าเป็นอธิกวินาทีจะได้ว่า 23.59 :59 จากนั้นจะเป็น 23.59:60 แล้วจึงขึ้นวันใหม่เป็น 00.00:00 ตามลำดับ ซึ่งในวันนี้ 30 มิถุนายน 2555 (ตามเวลากรีนิช ก็จะมีการเพิ่มวินาทีเช่นกัน เทียบกับเวลาในไทยคือ UTC+7 ก็จะเป็นเวลา 06.59:59 ต่อด้วย 06.59:60 และตามด้วย 07.00:00 ตามลำดับในเช้าวันนี้นั้นเอง

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์