ขีปนาวุธเร็วกว่าเสียง

ขีปนาวุธเร็วกว่าเสียง


ถ้าจะว่าไปแล้ว ประวัติศาสตร์ด้าน การบิน ของมนุษยชาติ


น่าจะเริ่มตั้งแต่คราวที่สองพี่น้องตระกูลไรท์ทำการทดลองบินเครื่องบินลำแรกของโลก เมื่อราวร้อยกว่าปีก่อน นับตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา อากาศยานรูปแบบต่าง ๆ ก็ได้ถูกพัฒนามาเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ที่เราสามารถส่งยานอวกาศออกไปนอกโลกได้ ถ้าไม่นับรวมถึงยานอวกาศ จุดสูงสุดของเทคโนโลยีทางด้านอากาศยานในปัจจุบันนี้ ก็น่าจะเป็นเครื่องบินที่สามารถทำการบินด้วยความเร็วเหนือเสียง ซึ่งนอกจากเครื่องบินขับไล่แบบไอพ่นแล้ว เครื่องบินคองคอร์ด ที่เพิ่งปิดฉากอำลาการบินในเชิงพาณิชย์เมื่อไม่นานมานี้ น่าจะเป็นตัวอย่างที่คุณผู้อ่านรู้จักและคุ้นเคยกันมากที่สุด
 
แต่พัฒนาการของอากาศยานที่มีความเร็วเหนือเสียง ยังไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น

ถ้าใครติดตามข่าวสารในแวดวงการบินก็คงจะพอทราบว่า ยังมีอีกโครง การหนึ่งของ NASA ชื่อว่าโครงการ X-43A ซึ่งเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานที่มีความเร็วเหนือเสียง โดยจากการทดลองบินล่าสุดเมื่อในปี พ.ศ. 2547 นั้น สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 9.4 มัค หรือ 9.4 เท่าของความเร็วเสียงเลยทีเดียว นอกจากโครงการดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกโครงการที่น่าสนใจชื่อว่าโครงการX-51Aซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทัพสหรัฐกับออสเตรเลีย

ขีปนาวุธเร็วกว่าเสียง


โดยถือเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบของขีปนาวุธที่สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเหนือเสียงซึ่งหมายความว่า


ขีปนาวุธดังกล่าวสามารถวิ่งไปทำลาย  เป้าหมายทั่วโลกได้ในระยะเวลาไม่เกิน2-3ชั่วโมง! โครงการ X-51Aอาศัยเทคโน โลยีของโครงการX-43Aซึ่งอาศัยเครื่องยนต์ที่เรียกว่าscramjets(supersonic combustion ramjets)โดยการทำงานของเครื่องยนต์ scramjetsนั้นอากาศจะไหลเข้าไปในเครื่องยนต์ด้วยความเร็วเหนือเสียง ทำให้เกิดภาวะ “คลื่นกระแทก” อากาศที่มีความเร็วเหนือเสียงจะถูกผสมเข้ากับเชื้อเพลิง “ไฮ   โดรเจน” หลังจากนั้นจะถูกจุดระเบิดเกิดเป็นแรงขับดันมหาศาลทำให้สามารถเร่งความเร็วจนกระทั่งมีความเร็วเหนือเสียงได้หลายเท่าอย่างที่กล่าวมาแล้ว
 
แต่สำหรับโครงการ X-51A นั้น ความยุ่งยากซับซ้อนจะน้อยกว่าโครงการ X-43A

เนื่องจากว่าขนาดของอากาศยานจะเล็กกว่าเกือบ10 เท่าและถูกออกแบบโดยไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเป็นอากาศยานที่มีคนโดยสารที่สำคัญก็คือเป็นการ “ใช้ครั้งเดียวทิ้ง”เพราะว่าจุดประสงค์หลักก็คือการทำลายเป้าหมายต่างๆอยู่แล้วนั่นเอง สำหรับตัวอากาศยานนั้น บริษัท Boeing รับผิดชอบในการสร้าง ซึ่งจะต้องถูกเชื่อมติดกับจรวดขับดัน อีกทีหนึ่ง ส่วนเครื่องยนต์ scramjets นั้นถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Pratt & Whitney ที่   มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องยนต์  สำหรับเครื่องบินอยู่แล้ว
 
การทดลองบินครั้งแรกของ X-51A จะมีขึ้นภายในปีนี้

โดยที่เครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 จะทำหน้าที่พาเอาเจ้า X-51A พร้อมจรวดขับดันขึ้นไปยังระดับความสูงราว 10 กิโลเมตร จากนั้นจรวดขับดันจะเริ่มทำงานหลังจากที่แยกตัวออกจากเครื่องบิน B-52 เมื่อจรวดขับดันทำความเร็วได้ถึงราว 4.5 มัคแล้ว เครื่องยนต์ scramjets ก็จะเริ่มทำงานและ X-51A ก็จะแยกตัวออกจากจรวดเป็นอิสระก่อนที่จะทำความเร็วไปจนกระทั่งถึง 7 มัค หรือ 7 เท่าของความเร็วเสียงก่อนที่จะตกลงในมหาสมุทร การทดลองบินของโครงการ X-51A จะมีขึ้นราว 10 เที่ยวบิน ตลอดระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า และทางกองทัพอากาศประเทศสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะนำขีปนาวุธที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมาประจำการได้ไม่เกินปี พ.ศ. 2578 หรืออีก 28 ปีข้างหน้าถึงจะได้เห็นกัน. 

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์