มาดูกันว่าทฤษฎี “คลื่นความโน้มถ่วง” ที่ค้นพบ ใช้ทำอะไรได้บ้าง!!


นายวิมุติ วสะหลาย กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย อธิบายถึงเรื่องที่ ห้องปฏิบัติการ Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory ( LIGO) ตีพิมพ์การค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงที่ออกมาจากหลุมดำที่ชนกัน ว่า นี่ไม่ใช่ทฤษฎีใหม่ทางฟิสิกส์ ที่จะออกมาทำลายทฤษฎีความเชื่อดั้งเดิมที่มีอยู่ เพราะนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกนั้นเชื่ออยู่แล้วว่าคลื่นความโน้มถ่วงนั้นมีจริง แต่ตลอดระยะเวลาร้อยกว่าปีที่ผ่านมานั้น การพิสูจน์ในทฤษฎีนี้ทำยากมาก เป็นเพราะ โลกยังไม่มีเทคโนโลยีชั้นสูงพอที่จะตรวจจับได้ จนกระทั่ง LIGO สามารถทำได้ อีกทั้ง ปรากฏการณ์ที่จะทำให้เกิดคลื่นความโน้มถ่วงที่สามารถตรวจจับได้ก็มีน้อยมาก แม้เกิดขึ้นมาแล้ว คลื่นนั้นไม่มีความแรงพอที่จะตรวจจับได้ ก็พิสูจน์ไม่ได้อีกเช่นกัน ซึ่ง การจะสามารถตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงดังกล่าวนี้ได้คลื่นนั้นจะต้องมีความแรงพอ และการที่คลื่นจะแรงพอต้องให้ดาวนิวตรอนมาชนกัน โดยดาวนิวตรอนก็คือ ซากดาวที่ตายแล้ว แต่มาอัดตัวกันแน่นมากเป็นอนุภาคอิเล็คตรอนและโปรตรอน หรือให้หลุมดำ 2 แห่งมาชนกัน ซึ่งการเกิดคลื่นความโน้มถ่วงที่แรงพอได้นั้นไม่ใช่เกิดจากการชนกันแล้วมีแรงคลื่น แต่จะเกิดก่อนที่วัตถุ 2 ก้อนนี้มาชนกัน

"เมื่อเกิดปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นมาแล้ว เราสามารถตรวจจับได้แล้ว ถือเป็นข้อพิสูจน์ที่ยิ่งใหญ่ และน่ายินดีอย่างมาก เรารอเรื่องนี้มากว่า 100 ปี พิสูจน์ในสิ่งที่เราเชื่อว่ามี แต่ร้อยกว่าปีที่ผ่านมาไม่มีหลักฐาน ถามว่า รู้ในทฤษฎีนี้แล้ว ได้ประโยชน์อะไร หรือเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ตอนนี้ผมมั่นใจว่ายังไม่มีใครตอบได้ เพราะทฤษฎีนี้เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งวิทยาศาสตร์บริสุทธินั้นนำไปสู่การทำอะไรต่ออะไรตามมามากมาย ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อเกือบสองร้อยปีก่อน ไม่เคิ่ล ฟาราเดย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เขาค้นพบ พบว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ซึ่งตอนนั้น ไม่มีใครรู้ว่า อะไรคือ กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ตอนนั้น ฟาราเดย์ค้นพบแล้ว เขาก็เข้าไปบอกพระราชาของเขา พระราชาก็ถามว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ เอาไปทำอะไรได้บ้าง ซึ่งในตอนนั้น ฟาราเดย์ก็ตอบพระราชาไม่ได้ เพราะในตอนนั้น เรื่องของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำยังเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์อยู่ แต่ในเวลาต่อมา ทฤษฎีของฟาราเดย์ก็ถูกนำมาใช้ กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้จัก เพราะเวลานี้ทุกบ้าน ต้องมีไฟฟ้าใช้ ซึ่งก็มาจากทฤษฎีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำของไมเคิ่ลฟาราเดย์นั่นเอง"นายวิมุติ กล่าว

ไม่แปลกหากวันนี้ จะมีหลายคนตั้งคำถามว่า การค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง เพราะหลักสำคัญของวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม เพียงแต่ว่าเวลานี้ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ในวันหน้าเชื่อว่าจะต้องมีคำตอบในเรื่องนี้แน่นอน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง




 


 มาดูกันว่าทฤษฎี “คลื่นความโน้มถ่วง” ที่ค้นพบ ใช้ทำอะไรได้บ้าง!!


 มาดูกันว่าทฤษฎี “คลื่นความโน้มถ่วง” ที่ค้นพบ ใช้ทำอะไรได้บ้าง!!


 มาดูกันว่าทฤษฎี “คลื่นความโน้มถ่วง” ที่ค้นพบ ใช้ทำอะไรได้บ้าง!!


 มาดูกันว่าทฤษฎี “คลื่นความโน้มถ่วง” ที่ค้นพบ ใช้ทำอะไรได้บ้าง!!

ขอบคุณที่มา > > matichon


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์