LIGO ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นครั้งที่ 2 จากการชนกันของหลุมดำ


LIGO ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นครั้งที่ 2 จากการชนกันของหลุมดำ

สถานีตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วง Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory หรือ LIGO ได้รายงานผล (15 มิถุนายน 2559) ว่าได้ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2558


จากการคำนวณพบว่าน่าจะเป็นการชนของหลุมดำขนาด 14.2 และ 7.5 เท่าของดวงอาทิตย์ เมื่อ 1.4 พันล้านปีที่แล้ว โดยช่วงวินาทีสุดท้ายก่อนจะชนกันนั้น หลุมดำโคจรรอบกันและกันประมาณ 55 รอบที่ความเร็วประมาณครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง หลังจากชนกันแล้วมีมวลเท่ากับ 20.8 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ หรือมีมวล 0.9 เท่าของดวงอาทิตย์ที่กลายเป็นพลังงานคลื่นความโน้มถ่วง




ตอนนี้ LIGO อยู่ระหว่างการอัพเกรดให้เครื่องมือมีความละเอียดมากขึ้นไปอีก เมื่อพร้อมและกลับมาใช้งานอีกครั้ง น่าจะตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงที่มากขึ้น และอาจจะสามารถตอบคำถามได้ว่า หลุมดำเหล่านี้มากจากไหน พวกมันมากจากดาวคู่ที่โคจรรอบกันและกันก่อนระเบิดเหลือเป็นหลุมดำที่โคจรรอบกัน หรือเป็นเพียงหลุมดำอิสระที่บังเอิญมาเจอกัน

ชมเสวนาอธิบายคลื่นความโน้มถ่วงจากการเสวนา Science Cafe ในหัวข้อ "คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational Waves)" - 100 ปีแห่งการรอคอย เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์





ที่มา : vcharkarn.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์