ชีววิทยาที่แปลกประหลาดของแมงมุมทะเลขายาว


โลกใต้น้ำนั้นไม่ได้มีแค่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว ยังมีความน่าสะพรึงกลัวรวมอยู่ด้วยอีกมากมาย สัตว์บางชนิดที่เราคิดว่าจะพบเจอแต่บนบกแต่ในทะเลก็มีเช่นกันอย่าง แมงมุมทะเลขายาว (Sea spider) เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกับแมงมุมบนบกแต่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นตัวร้ายที่น่ากลัวแห่งท้องทะเลลึก พบมากแถบมหาสมุทรแอนตาร์กติก

แมงมุมทะเลขายาว จะมีขาที่ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร นักวิทยาศาสตร์จำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ของแมงมุมชนิดนี้ให้อยู่ในชั้นพิคโนโกนิดา (Pycnogonida) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มไฟลัมอาร์โธพอดา (Arthropoda) หรือ อาร์โธพอด ซึ่งมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ตั้งแต่ 600 ล้านปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมอนทานา ในสหรัฐอเมริกาให้ความสนใจศึกษาถึงการดำรงอยู่ของสัตว์ชนิดนี้ เนื่องจากพวกมันมีกลยุทธ์ทางสรีระในการดำรงชีวิตที่แปลกประหลาดไม่น้อย การเต้นของหัวใจแมงมุมทะเลขายาวจะไม่ช่วยทำให้เลือดและออกซิเจนผ่านไหลเวียนในร่างกาย หัวใจของมันเต้นค่อนข้างอ่อนแรงและเลือดก็ไหลเวียนอยู่เฉพาะส่วนกลางของร่างกายเท่านั้น แต่ลำไส้ซึ่งเป็นท่อลงไปจนถึงปลายขาเรียวเล็กกลับมีความแข็งแรง

ขณะลักษณะการเดินจะหดตัวขึ้นๆลงๆ ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่าเพอริสทอลซิส (peristalsis) คือการบีบตัวและผ่อนคลายกล้ามอย่างเป็นจังหวะโดยไม่ตั้งใจ กระบวนการนี้ปรากฏในมนุษย์เช่นกัน เพื่อช่วยย่อยอาหารในกระเพาะผ่านไปยังลำไส้ แต่ในแมงมุมทะเลขายาวนั้นกระบวนการดังกล่าวอยู่ไกลกว่าจะเป็นที่ต้องการสำหรับการย่อยอาหาร เพราะต้องได้รับออกซิเจนเพียงพอในร่างกายด้วย อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หวังว่าซากแมงมุมทะเลขายาวที่เคยค้นพบ จะช่วยให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการและการเอาตัวรอดของพวกมันได้.


ชีววิทยาที่แปลกประหลาดของแมงมุมทะเลขายาว

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์