ไทยเป็นชาติแรกในเอเชียให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษา


ไทยเป็นชาติแรกในเอเชียให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษา

ที่ประชุม สนช. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่...) พ.ศ.... ในวาระ 3 ด้วยคะแนน 166 เสียง งดออกเสียง 13 เสียง โดยถือเป็น "มติเอกฉันท์" อีกครั้งของ สนช. ต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ หลังสมาชิกเคยลงมติเอกฉันทรับหลักการในวาระแรกมาแล้ว

สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ยาเสพติดฉบับใหม่ มีการแก้ไขเนื้อหาของ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ในหลายประเด็น อาทิ เพิ่มจำนวนคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เป็น 25 คน จากเดิม 17 คน โดยเพิ่ม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม, อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นต้น

นอกจากนี้ก็เพิ่มอำนาจของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดฯ ให้สามารถให้ความเห็นชอบแก่ผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออก รวมถึงเห็นชอบประกาศหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องที่หน่วยงานราชการเสนอมาเพื่อควบคุมหรือปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป


นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ใช้กัญชาและกระท่อมในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์, ทางราชการ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนา รวมถึงเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรม, อนุญาตให้พกพาเพื่อใช้รักษาโรคในปริมาณที่จำเป็น โดยต้องมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม, ทันตกรรม, แพทย์แผนไทย, การแพทย์แผนไทยประยุกษ์ หรือ หมอพื้นบ้าน โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ รมว. สาธารณสุขกำหนดและผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

ส่วนบทลงโทษ การครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ถึง 10 กิโลกรัม จำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท, ครอบครองเกิน 10 กิโลกรัม ให้ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย ต้องโทษจำคุก 1-15 ปี ปรับ 1 แสนบาท ถึง 1 ล้านบาท เป็นต้น

การขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครอง กัญชาและกระท่อม ให้สิทธิเฉพาะ

1. หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือการเรียนการสอนวิชาด้านการแพทย์ , เกษตรศาสตร์,

2. หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ป้องกัน ปราบปรามและแก้ปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย

3. ผู้ประกอบวิชาชีพเครือข่ายแพทย์ ทั้งไทย และหมดพื้นบ้านตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

4. สถาบันอุดมศึกษาที่ศึกษาและวิจัย และเรียนด้านการแพทย์

5. ผู้ประกอบอาชีพเกษตรที่รวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย

6. ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ

7. ผู้ป่วยที่เดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาเสพติดติดตัว

8. ผู้ขออนุญาตที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบ ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับอนุญาตสามารถส่งต่อให้กับทายาทหรือผู้ได้รับความยินยอมได้ กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเสียชีวิตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ

ไทยเป็นชาติแรกในเอเชียให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษา

รัฐควรแก้ไขเรื่องสิทธิบัตรควบคู่กันไป

นายบัณฑูร นิยมาภา ผู้ที่รณรงค์ประเด็นกัญชาทางการแพทย์มานาน บอกกับบีบีซีไทยว่าหลังจากการผ่านกฎหมายนี้ รัฐบาลก็ควรจะหันมาแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการแพทย์ ที่ได้อนุมัติให้บริษัทต่างชาติไปแล้ว ซึ่งเอาอ้างถึงรายงานของมูลนิธิชีววิถีว่ามีการให้สิทธิบัตรไปแล้วถึง 7 รายด้วยกัน "ไม่เช่นนั้น ก็จะกลายเป็นว่าเราเตะหมูเข้าปากหมา เพราะว่าบริษัทต่างชาติเหล่านี้ได้สิทธิบัตรการผลิตผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการแพทย์ไปแล้ว และคนไทยก็จะไม่ได้ประโยชน์เลย" เขากล่าว

นายบัณฑูร ยังได้บอกอีกว่าในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ (27 ธ.ค.) กลุ่มเคลื่อนไหวใช้กัญชาทางการแพทย์จะออกเดินหน้าเรียกร้องให้ยกเลิกสิทธิบัตรของบริษัทต่างชาติอย่างเป็นทางการ "มันผิดตั้งแต่กระดุมเม็ดแรกแล้ว ให้บริษัทต่างชาติมาจดสิทธิบัตรได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นกัญชาทางการแพทย์ยังเป็นผิดกฎหมายอยู่เลย เหมือนกับเราให้ใบอนุญาตฆ่าคน ทั้ง ๆ ที่การฆ่าคนมันผิดกฎหมาย"

นายบัณฑูร หรือที่รู้จักทั่วไปว่า "ลุงตู้" กล่าวว่าจริง ๆ แล้วควรจะอนุมัติให้คนไข้สามารถซื้อกัญชาไปทำยาเองได้ ก่อนหน้าปี 2522 ที่มีกฎหมายออกมาให้กัญชาเป็นยาเสพติดผิดกฎหมาย ร้านขายยาไทย (ประเภท ข. และ ค.) ยังสามารถขายกัญชาแท่งเพื่อให้ผู้ป่วยซื้อไปทำยาเองได้ ซึ่งถ้ากลับไปเป็นเช่นนั้นอีก ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์มากที่สุด

ไทยเป็นชาติแรกในเอเชียให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษา

Cr:::bbc.com/thai

ไทยเป็นชาติแรกในเอเชียให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์