ทำความรู้จัก ยาฟาวิพิราเวียร์ ใช้รักษา โควิด-19 ไทยกำลังจะผลิตเองได้


ทำความรู้จัก ยาฟาวิพิราเวียร์ ใช้รักษา โควิด-19 ไทยกำลังจะผลิตเองได้

หลังจากที่ ครม. ได้แถลงความคืบหน้ากรณีการวิจัยและพัฒนาการผลิต "ยาฟาวิพิราเวียร์" ในประเทศไทย พบว่าล่าสุด.. องค์การเภสัชกรรมวิจัยสำเร็จแล้ว และกำลังจะนำขึ้นทะเบียนกับ อย. จากนั้นไทยจะสามารถผลิตยานี้ในราคาที่ถูกกว่านำเข้า

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนคนไทยมารู้จัก "ยาฟาวิพิราเวียร์" ให้มากขึ้น เจาะลึกว่ายาชนิดนี้สามารถรักษาอาการป่วย "โควิด-19" ให้หายได้อย่างไร?

1. "ยาฟาวิพิราเวียร์" คืออะไร?

ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลในบทความวิชาการ (18 พ.ค.64) เอาไว้ว่า ฟาวิพิราเวียร์ถูกขึ้นทะเบียนเป็นยาที่ใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ แต่เนื่องจากเป็นยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์กว้าง จึงใช้ได้กับโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ด้วย เช่น ชิคุนกุนยา และ โควิด-19

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ให้คำอธิบายในบทความทวิชาการ (8 ก.ค.64) ในทิศทางเดียวกันว่า ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ใหม่ๆ มีกลุ่มนักวิจัยชาวจีนได้ตรวจหาฤทธิ์ยาและสารอื่นจำนวนกว่า 70,000 ชนิด เพื่อนำมาใช้รักษาโรคปอดอักเสบจากไวรัสโควิด-19




ทำความรู้จัก ยาฟาวิพิราเวียร์ ใช้รักษา โควิด-19 ไทยกำลังจะผลิตเองได้

2. "ยาฟาวิพิราเวียร์" ใครวิจัยและค้นพบครั้งแรก?

ฟาวิพิราเวียร์ ถูกค้นพบโดยบริษัท โตยามะเคมิคอล ประเทศญี่ปุ่น ยานี้ได้รับอนุมัติให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 เพื่อใช้รักษาโรคไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล

อีกทั้ง มีการใช้ยานี้ในช่วงที่มีการระบาดอย่างหนักของไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ในแถบอาฟริกาตะวันตกช่วงปี พ.ศ. 2557 ถึง 2559 อีกด้วย

จากข้อมูลในอดีต ผู้ที่ใช้ยานี้ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครสุขภาพดี ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ และผู้ป่วยโรคอีโบลา มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 คน พบว่ายามีความปลอดภัย ข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้ยานี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับยาต้านโคโรนาไวรัสชนิดอื่นคือปัญหาเรื่องไวรัสดื้อยา

3. เมื่อโควิดระบาด "ฟาวิพิราเวียร์" ถูกนำมาใช้อีกครั้ง

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา "ยาฟาวิพิราเวียร์" ได้รับอนุมัติในประเทศจีนให้ใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ และอนุญาตให้นำมาใช้ในการศึกษาทางคลินิกกับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ ส่วนในประเทศเกาหลีใต้ ในเวลา ณ ขณะนั้น ก็เร่งพิจารณาขออนุมัติทะเบียนยาแบบเร่งด่วน (fast-track approval) เพื่อใช้รักษาโควิด-19 จนมาถึงปัจจุบัน ยาฟาวิพิราเวียร์ได้รับการยอมรับและใช้รักษาโรคโควิด-19 กันทั่วโลก




ทำความรู้จัก ยาฟาวิพิราเวียร์ ใช้รักษา โควิด-19 ไทยกำลังจะผลิตเองได้

4. รู้ฤทธิ์ "ยาฟาวิพิราเวียร์" ต้านไวรัสได้ยังไง?

"ยาฟาวิพิราเวียร์" มีฤทธิ์ต้านไวรัสในกลุ่ม RNA virus ได้หลากหลายชนิด เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus), ไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย (foot-and-mouth disease virus), ไวรัสไข้เหลือง (yellow fever virus) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องกับไวรัสที่ก่อโรคในคนอีกหลายชนิด

โดยลักษณะการออกฤทธิ์ของฟาวิพิราเวียร์ คือ ตัวยาจะมีฤทธิ์ในการเข้าไปเปลี่ยนแปลงเอนไซม์ภายในเซลล์ของร่างกาย เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส นอกจากนี้สารสำคัญจากตัวยา ยังทำให้เกิดการสร้างสารพันธุกรรมอาร์เอนเอของไวรัสที่ผิดปกติ และทำให้ไวรัสตาย ทั้งนี้ ยาฟาวิพิราเวียร์เมื่อกินเข้าไปแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ของคนและสัตว์

ยานี้ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดีเกือบสมบูรณ์ เกิดระดับยาสูงสุดภายใน 1 ชั่วโมง (ช่วงตั้งแต่ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง) จากนั้น ยาจะถูกเปลี่ยนสภาพที่ตับให้กลายเป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์และถูกขับออกทางปัสสาวะได้

5. การใช้ "ยาฟาวิพิราเวียร์" กับผู้ป่วยโควิด-19

ผศ.นพ.พิสนธิ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า แพทย์จะใช้ฟาวิพิราเวียร์กับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่รับไว้ในสถานพยาบาล โดยกรมควบคุมโรคระบุให้ใช้กับผู้ที่เริ่มมีอาการของโรค ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่ยังไม่มีอาการ หรือใช้เพื่อป้องกันโรค

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่จะเริ่มใช้ยานี้กับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการบางรายที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น อายุมาก เป็นเบาหวาน หรืออ้วน เป็นต้น หรือมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น ก็สามารถใช้ยานี้ได้ในทันที แต่ต้องใช้อย่างสมเหตุผล หากนำมาใช้เกินจำเป็นจะทำให้ไวรัสดื้อยาได้

6. ไทยกำลังจะผลิต "ฟาวิพิราเวียร์" ได้แล้ว

ล่าสุด.. (13 ก.ค. 64) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีความคืบหน้าการวิจัยและพัฒนาการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ในประเทศไทย ระบุว่า

ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 ทางองค์การเภสัชกรรมคาดว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ที่ได้วิจัยและพัฒนาขึ้นนั้น จะได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจาก อย. และจากนั้นจะเป็นการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด-19 เข้าถึงยาอย่างเพียงพอ เมื่อทุกอย่างสำเร็จลุล่วง ประเทศไทยจะสามารถผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ในราคาที่ถูกกว่านำเข้าอย่างมาก

โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. อภ. และ บริษัท ปตท. ที่เริ่มการวิจัยมาตั้งแต่การทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ (Laboratory scale) การถ่ายทอดเทคโนโลยี จนถึงระดับอุตสาหกรรม (Industrial scale) ตลอดจนการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Feasibility Study) ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์



เครดิตแหล่งข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ





เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : เป็ดผี
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 101.109.253.189

101.109.253.189,,node-1e4d.pool-101-109.dynamic.totinternet.net ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
กำลังๆๆๆๆ สัส!


[ วันพฤหัสบดี ที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 08:46 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์