~~~เชื่อหรือไม่ ลายนิ้วมือสามารถบอกถึงศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็ก ~~~

~~~เชื่อหรือไม่ ลายนิ้วมือสามารถบอกถึงศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็ก ~~~


เชื่อหรือไม่ ลายนิ้วมือสามารถบอกถึงศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็ก 

 บริษัท MindMax จำกัด นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ช่วยให้พ่อ-แม่ทราบถึงรูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของลูก ทั้งนี้เพื่อการฟูมฟักและส่งเสริมความสามารถทั้งหลายของพวกเขาที่มีติดตัวมา แต่กำเนิด


เรื่องโดย วีณา นพคุณทอง

Dermatoglyphics Multiple Intelligence (DMI) เป็นชื่อของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นมาจากการเก็บสถิติลายนิ้วมือ โปรแกรมตัวนี้ออกแบบขึ้นเพื่อการตรวจสแกนลายนิ้วมือและการวิเคราะห์เปรียบเทียบลายนิ้วมือที่สแกนกับตัวอย่างลายนิ้วมือกว่า 7 ล้านแบบของคนทั่วโลก ที่เก็บสถิติไว้ ทั้งนี้เพื่อการระบุถึงความสามารถทั้งหลายที่มีมาแต่กำเนิดและรูปแบบการเรียนรู้เฉพาะตัวของแต่ละคน Dermatoglyphics คือคำศัพท์ที่คิดค้นขึ้นโดย ฮาโรลด์ คัมมิน (Harold Cummins) ในปี พ.ศ. 2469 หมายถึงการศึกษาลายนิ้วมือด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คัมมินสรุปว่า ความผิดปกติต่างๆ ในโครโมโซม และการที่สมองมีความสัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะของลายนิ้วมือเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมองกับลายนิ้วมือ

ทำความรู้จักกับ Dermatoglyphics Multiple Intelligence (DMI)

 Dermatoglyphics Multiple Intelligence (DMI) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดซึ่งนำเข้ามาจากประเทศสิงค์โปร์ เทคโนโลยีนี้ออกแบบขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ลายนิ้วมือของเด็ก ดร.อัญจลา จารุมิลินทร ผู้อำนวยการบริษัท MindMax จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่นำเอาเทคโนโลยี DMI มาสู่ประเทศไทยกล่าวว่า "ลายนิ้วมือของเด็กจะได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ในระยะเวลา 6 เดือน ที่อยู่ในครรภ์มารดาและจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไปจนตลอดชีวิต" ก่อนที่เด็กจะเข้ารับการสแกนลายนิ้วมือ พ่อ-แม่ของเด็กจะได้รับการเชิญให้เข้ารับฟังการเสวนาเป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่งเพื่อเป็นการ ทำความรู้จักและบอกเล่าถึงประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยี DMI เทคโนโลยี DMI มีประโยชน์คือการทำให้พ่อ-แม่รับทราบและเข้าใจถึงศักยภาพในการเรียนรู้ของลูกที่แอบแฝงอยู่ ทั้งนี้เพื่อที่พ่อ-แม่ จะสามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาอบรมแก่ลูกได้ตามคุณลักษณะพิเศษที่ลูกของพวกเขามี DMI จะทำการประเมินความสามารถต่างๆ ที่มีมาแต่กำเนิดของเด็กคนนั้นๆ และบอกให้พ่อ-แม่ทราบถึงขอบเขตของศักยภาพที่ลูกของพวกเขาจะสามารถพัฒนาให้เป็นเลิศได้ ดร. อัญจลา กล่าวว่า "สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เป็นพ่อ-แม่ว่า จะทำอย่างไรที่จะควบคุมสมดุลของจุดเด่นและจุดด้อยในด้านต่างๆ ที่มีมาแต่กำเนิดของลูก เพื่อที่จะทำให้ลูกสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข" การสแกนลายนิ้วมือนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 ถึง 10 ปี ซึ่งสามารถเข้ารับการสแกนได้เลยในวันเสวนาโดยมีค่าใช้จ่ายประมาณคนละ 7,000 บาท

 ลินดา โช (Linda Cho) ที่ปรึกษาด้าน DMI กล่าวว่า "ในการสแกนลายนิ้วมือ สิ่งที่เราจะดูคือ ความหนา ความลึก แนวของลายนิ้วมือ และรูปแบบของเส้นในแต่ละลายนิ้วมือ จากนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคจะพยายามจับคู่ลายนิ้วมือที่สแกนมาในแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับตัวอย่างที่มีเก็บไว้" ภาพสแกนลายนิ้วมือนี้จะถูกส่งไปยังประเทศสิงค์โปร์ เพื่อทำการวิเคราะห์หาผลแล้วจึงส่งผลกลับมาที่ประเทศไทย หลังจากเข้ารับการสแกน 1 เดือน พ่อ-แม่ของเด็กจะได้เข้าพบกับเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาซึ่งมีความรู้ในด้านจิตวิทยาเด็กหรือด้านการศึกษา เพื่อรับฟังการอธิบายและการแปลผล DMI เป็นเวลา 45 นาที

ลายนิ้วมือบ่งบอกอะไร

"หัวใจของ DMI คือการให้คำปรึกษา ไม่ใช่การสแกนลายนิ้วมือ" ดร. อัญจลา กล่าว การให้คำปรึกษาจะมุ่งตรงไปที่ผลของการสแกนลายนิ้วมือซึ่งจะประกอบไปด้วยความฉลาดในด้านที่เห็นได้ชัดในหลายๆ ด้านของเด็กคนนั้น ความถนัดในการใช้สมองซีกซ้ายหรือสมองซีกขวา และ รูปแบบหรือวิธีการในการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของเด็กคนนั้น และรูปแบบในการสื่อสารแบบต่างๆ

การฟูมฟักและส่งเสริมศักยภาพ

ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Dr. Howard Gardner) นักจิตวิทยาผู้ซึ่งนำเสนอทฤษฏีที่ว่า มนุษย์เรามีความเป็นอัจฉริยภาพอยู่ 8 ประการ

 ประกอบด้วย

 อัจฉริยภาพด้านภาษา

 อัจฉริยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

 อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์และการจินตภาพ

 อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์

 อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง

 อัจฉริยภาพด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น

อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ และ

 อัจฉริยภาพด้านดนตรี

และจังหวะ คุณPaviraket Songkhao หนึ่งในผู้เข้าร่วมการทดลองนำร่องกล่าวว่าผล DMI ของลูกชายวัย 7 ขวบของเขาพบว่ามีความเป็นอัจฉริยภาพในด้านการเข้าใจตนเองซึ่งหมายความว่าลูกชายของเขาจะเป็นเด็กที่มีความมั่นใจในตนเองและรักอิสระเสรี เด็กผู้มีความเข้าใจในตนเองจะเป็นนักคิดที่มีความคิดเป็นอิสระและจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ทำการศึกษาด้วยตัวเอง คุณPaviraket กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาได้ให้คำอธิบายว่าความมั่นใจในตนเองของลูกชายของเขาจะแสดงออกโดยการที่เด็กจะมีความคิดเห็นเป็นของตัวเองซึ่งทำให้เขาออกจะดูดื้อๆ เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาให้คำแนะนำว่าเขาและภรรยา คุณวราภรณ์ ควรให้ลูกชายเลือกที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองและไม่ควรบังคับเขาให้ทำตามใจเรา

คุณภาวิดากร กาญจนาโอภาส (Pavidhakorn Karnjana-o-past) อาชีพแม่บ้าน เป็นอีกหนึ่งครอบครัวที่เข้าร่วมการทดลองนำร่อง เธอกล่าวว่าผล DMI ของลูกสาวแสดงว่า เธอเป็นเด็กที่มีความอัจฉริยภาพในทางดนตรีและทางภาษา คุณภาวิดากรเองก็มีความเห็นด้วยกับผลที่ออกมาดังกล่าว เพราะลูกสาววัย 3 ขวบของเธอชื่นชอบในเสียงดนตรีมาก เธอสามารถจำเนื้อร้องและร้องเพลงตามได้ทั้งๆ ที่เพิ่งได้ฟังเพลงนั้นเป็นครั้งแรก ผลยังแสดงอีกว่าลูกสาวของเธอควรจะปรับปรุงทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่น ผู้เป็นแม่ยอมรับว่าลูกสาวต้องใช้เวลานานเพื่อที่จะปรับตัวให้เข้ากับเด็กคนอื่นก่อนที่จะเข้าไปเล่นด้วย นอกจากนี้เธอยังต้องการให้ลูกสาวเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อการปรับปรุงทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่นอีกด้วย

ทรรศนะเกี่ยวกับสมอง

ผล DMI ยังแสดงให้เห็นว่าเด็กคนนั้นมีความถนัดในการใช้สมองซีกซ้ายหรือสมองซีกขวามากกว่ากัน ตามการศึกษาของ ดร.โรเจอร์ สเปอรรี (Dr.Roger Sperry) นักจิตวิทยาทางด้านสมองแสดงว่า สมองทั้งสองซีกรับผิดชอบในภารกิจที่แตกต่างกัน สมองซีกซ้ายสั่งการให้มนุษย์คิดวิเคราะห์โดยใช้ความจริงมาทำการตัดสินใจ ขณะที่สมองซีกขวาสั่งการให้มนุษย์เชื่อมั่นตามสัญชาตญาณและให้คิดวิเคราะห์น้อย เด็กที่มีความถนัดในการใช้สมองซีกซ้ายจะเป็นคนที่มีเหตุผลมากกว่า ขณะที่เด็กที่มีความถนัดในการใช้สมองซีกขวาจะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่า รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 3 สไตล์ถูกระบุอยู่ในผล DMI ได้แก่ การเรียนรู้จากการมอง (Visual) การเรียนรู้จากการฟัง (Auditory) และ การเรียนรู้จากการทำ (Kinesthetic) เด็กที่มีรูปแบบการเรียนรู้ในแบบการมองจะชอบที่จะเรียนโดยผ่านรูปภาพกราฟฟิค หรืออุปกรณ์ช่วยสอนที่เป็นรูปภาพ การอ่าน และการสำรวจ ส่วนเด็กที่มีรูปแบบในการเรียนรู้ในแบบการฟังจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการฟังและการซักถาม ขณะที่เด็กที่มีรูปแบบการเรียนรู้ในแบบการทำจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการลงมือปฏิบัติจริงตามกิจกรรมต่างๆ

 ผล DMI ยังบอกถึงวิธีในการสื่อสารที่เด็กคนนั้นจำเป็นต้องเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น ถ้าพ่อ-แม่ทราบว่าลูกของตนเป็นเด็กที่มีการเรียนรู้แบบต้องใช้ความคิด (Cognitive Learner) เขาจะได้รับการกระตุ้นให้เรียนรู้ผ่านทางการแสดงเหตุผล พ่อ-แม่และครูควรจะอนุญาตให้เขาใช้ความคิดมากขึ้นและพยายามให้คำตอบแก่เขาให้น้อยลง ขณะที่ถ้าเด็กเป็นผู้มีการเรียนรู้แบบต้องใช้อารมณ์ (Affective Learner) การชมเป็นประจำจะช่วยขับเคลื่อนให้เขาเรียนรู้มากขึ้น เพราะเขาต้องการเป็น ที่ชื่นชมของคนอื่น ดร.อัญจลากล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ไม่ว่าผล DMI จะออกมาเป็นอย่างไร ใจความสำคัญที่สุดสำหรับพ่อ-แม่คือการปฏิบัติกับลูกของตนในแบบที่เขาเป็นและเลี้ยงดูเขาให้แตกต่าง เพราะเด็กแต่ละคนมีสไตล์ของเขาและเธอที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

ขอขอบคุณ : สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์