กราฟไทเทรต กรด-เบส

กราฟไทเทรต กรด-เบส


หมายเหตุ


การเลือกอินดิเคเตอร์ในการไทเทรต กรด-เบส ให้เลือกอินดิเคเตอร์ชนิดที่มีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีตรงหรือใกล้เคียงกับ pH ของเกลือ (ละลายน้ำ) ที่เกิดไทเทรต กรด-เบส คู่นั้น

ตัวอย่างกราฟไทเทรต กรด-เบสตัวอย่างกราฟไทเทรต กรด-เบส



รูปที่ 1


กราฟไทเทรตของการไทเทรต กรดอ่อนด้วยเบสแก่ กราฟแสดงการไทเทรตกรดฟรอมมิก 0.5 mol/dm3 25 cm3 ด้วยเบสโซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.5 mol/dm3 ด้วยปริมาตรต่าง ๆ กัน โดยใช้ค่า pH ที่เปลี่ยนไปมาเขียนกราฟ

รูปที่ 2


กราฟไทเทรตของการไทเทรต เบสอ่อนด้วยกรดแก่ กราฟแสดงการไทเทรตเบสแอมโมเนีย 0.2 mol/dm3 20 cm3 ด้วยกรดไนตริก 0.4 mol/dm3 ปริมาตรต่าง ๆ กัน โดยใช้ค่า pH ที่ เปลี่ยนไปมาเขียนกราฟกับปริมาตรของกรดไนตริกที่ใช้

รูปที่ 3


กราฟสำหรับกรดที่มีความแรงต่าง ๆ กัน (pKa ต่าง ๆ กัน) แสดงการไทเทรตกรดด้วยเบส โดยกรดแก่ กว่าจะมีช่วง pH เปลี่ยนไปกว้างกว่า (เช่น กรดที่ pKa ต่ำ ๆ) และกรดอ่อนกว่า ก็จะมีช่วง pH เปลี่ยนแปลงไปแคบกว่า

รูปที่ 4


กราฟไทเทรต สำหรับเบสที่มีความแรงต่าง ๆ กัน (pKb ต่าง ๆ กัน) แสดงการไทเทรตเบส ด้วยกรดโดยเบสแก่กว่า จะมีช่วง pH เปลี่ยนแปลงไปกว้างกว่า (เช่น เบสที่มีค่า pKb = 11) และเบสอ่อนกว่าก็จะมีช่วง pH เปลี่ยนแปลงไปแคบกว่า

กราฟไทเทรต กรด-เบส (Titration curve) คือกราฟที่เขียนขึ้นระหว่างค่า pH ที่เปลี่ยนแปลงไปขณะไทเทรตกับปริมาตรของกรดหรือเบสที่ใช้ในการไทเทรต ลักษณะของกราฟ เป็นรูปตัวเอส จุดสมมูลอยู่บนเส้นกราฟตรงส่วนที่มีความชันมากจากกราฟจะพบว่าก่อนและหลังถึงจุดสมมูลเล้กน้อยจะมี pH เปลี่ยนแปลงมาก

กราฟไทเทรต กรด-เบส


ประโยชน์ที่ได้จากกราฟไทเทรต กรด-เบส


1. สามารถหาจุดสมมูลของการไทเทรต กรด-เบสได้

2. สามารถใช้เลือกอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมในการไทเทรต เพื่อบอกจุดยุติได้ตรงกับจุดสมมูล หรือใกล้เคียงกับจุดสมมูลได้


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ กิตติยาดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

กราฟไทเทรต กรด-เบส


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์