ก่อนจะมาเป็น WiMAX IEEE 802.16

ก่อนจะมาเป็น WiMAX IEEE 802.16


ความเดิม

ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารนับวันยิ่งเป็นที่จำเป็นอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพของธุรกิจหรือชีวิตประจำวัน

ที่พบเห็นกันมากและบ่อยที่สุดคือ การใช้โทรศัพท์มือถือสื่อสารกันไม่ว่าจะเป็นคนอยู่ในวัยใด จะพบการสื่อสารประเภทนี้ค่อนข้างมาก นอกจากการสื่อสารทางโทรศัพท์แล้วการใช้ computer ในการติดต่อกันนั้นก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจ หรือแม้แต่ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ในการธุรกิจ หรือจะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ Internet

เบื่อสาย

เมื่อต้องการที่จะเชื่อมโยงอุปกรณ์สักอย่างเข้ากับระบบเครื่อข่ายนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเชื่อมต่อนั้นก็คือ

สื่อ ที่นิยมและพบเห็นได้บ่อยก็คือสายเชื่อมโยงที่มักจะเรียกกันง่ายว่า สาย LAN เพื่อที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ของตนเองเข้ากับเครื่อข่าย บางครั้งสาย LAN เองก็ไม่ได้วางไว้อย่างมีระเบียบสักเท่าไรนัก เสี่ยงต่อการที่ให้คนอื่นมาทำให้สายหลุด บางครั้งสาย LAN เสียก็ต้องไปหาสายเพื่อที่จะมาเชื่อมต่อให้ได้ หรือแม้แต่บางครั้งก็ต้องมานั่งปอกสายแล้วทำสาย LAN ขึ้นมาใหม่

อีกทั้งจุดเชื่อมต่อของสาย LAN นั้นมีจำกัดไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ หรือในบางสถานที่การวางระบบสาย LAN บางก็วางไว้ตามผนัง เพดาน หรือพื้นล่าง เพื่อไม่ให้ไปเกะกะทางเดิน ในบางครั้งโต๊ะทำงานนั้นอยู่ไกลต้องมีการวางสายเชื่อมต่อกัน ต้องเจาะกำแพงบ้าง ผนังบ้าง เสียงก็ดัง ฝุ่นก็มี ฝุ่นเข้าร่างกาย ไม่สบายอีก หรือบางทีกำลังทำงานอยู่ก็ต้องเข้าประชุม ก็ต้องถอดสายเชื่อมต่อ แล้วไปเข้าห้องประชุมก็ต้องนำสาย LAN มาเชื่อมต่อใหม่ บางครั้งห้องประชุมนั้นสาย LAN ก็ไม่เพียงพออีก

ไร้สาย

จากที่กล่าวมา ถ้าในกรณีที่การเชื่อมต่อนั้นไม่จำเป็นต้องมี สื่อ

ที่เป็นสายมาเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อล่ะ ทุกที่สามารถเชื่อมต่อได้ทันทีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของที่ทำงานหรือสถานที่ส่วนตัว ในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ก็ไม่ต้องมีสายมาให้ถอดเข้าถอดออก หรือเวลาจะเดินไปไหนมาไหนในสถานที่ทำงานจะได้ไม่ต้องกังวลกับการที่จะต้องไปสะดุดกับสาย LAN ของเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นถ้ามีการเชื่อมต่อที่สะดวกทำได้ทุกที่ รวดเร็วในการรับส่งข้อมูล สามารถเชื่อมต่อได้โดยที่ไม่ต้องกังวลกับระยะทางในการเชื่อมต่อ สิ่งนั้นคือ “WiMAX”

WiMAX IEEE 802.16

ทำไมเมื่อกล่าวถึง WiMAX จะต้องมาคู่กับ IEEE 802.16 เพราะ IEEE คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ออกแบบ และวางข้อกำหนดต่างๆ ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาคือ ซึ่งย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronics Engineer และเป็นผู้กำหนดมาตราฐานของการสื่อสารแบบไร้สาย

ก่อนจะมาเป็น WiMAX IEEE 802.16


จากรูป

จะเห็นได้ว่าระยะการให้บริการการเชื่อมต่อนั้นถูกแบ่งออกเป็นบริเวณต่างๆ PAN (Personal Area Network) จัดอยู่การสื่อสารแบบไร้สายอัตราเร็วต่ำ ใช้ได้กับระยะใกล้ๆ อัตราความเร็วรับส่งจะอยู่ในช่วงที่น้อย มาตราฐานช่วงนี้จะเป็น IEEE 802.15 ส่วนการสื่อสารในส่วนอื่นจะเป็น การสื่อสารไร้สายแบบบรอดแบนด์ ได้แก่ เครื่อข่ายเฉพาะที่ LAN (Local Area Network) , การสื่อสารไร้สายในพื้นที่กว้าง MAN (Metropolitan Area Network) และ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์โดยทั่วไป WAN (Wide Area Network)

ขอขอบคุณสาระดีดีจาก วิชาการ.คอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์