คนเป็นโรค ปวดหลัง-ปวดตามข้อ อ่านซะ.!

สกัดสาร "เถาวัลย์เปรียง" เป็นยารักษาโรคปวดหลัง-ปวดตามข้อ


นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าในการวิจัยสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ถือเป็นหนึ่งในยุทธ์ศาสตร์สำคัญของกรม

ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาฤทธิ์ในสมุนไพรหลายชนิดและทดลองสกัดในห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาใช้ในการักษาผู้ป่วย ทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และจากการทดลองวิจัย "เถาวัลย์เปรียง"

พบว่าสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบประเภทสเตียรอยด์ที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวดหลังและปวดตามข้อได้

ซึ่งหลังจากที่ใช้เวลาทำการทดลองนานเกือบ 10 ปี ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งระยะที่ 1 และ 2 ให้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ

โดยให้ยาแก่อาสาสมัครครั้งละ 1 แคปซูล (200 มก./ แคปซูล) หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง นาน 2 เดือน ร่างกายสามารถดูดซึมยานี้ได้ดี ไม่มีความเป็นพิษหรือผลข้างเคียง ทั้งยังช่วงเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย



เถาวัลย์เปรียงเถาวัลย์เปรียง



นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเตรียมขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว และเตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม ให้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง

เบื้องต้นได้ประสานไปยังองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อให้มีการผลิตเป็นจำนวนมาก โดยให้โรงพยาบาลต่าง ๆ นำไปใช้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุในแถบภาคเหนือและอีสานที่มักเจ็บป่วยด้วยโรคปวดหลังและตามข้อ หรืออาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับชุมชนเพื่อให้มีการนำไปใช้รักษาอย่างแพร่หลาย

นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้เถาวัลย์เปรียงได้นำจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้วทันทีที่การวิจัยแล้วเสร็จ และในปี 2550 นี้ จะมีการผลิตออกมาเป็นยาในรูปแคปซูลเพื่อใช้รักษา

ทั้งนี้เถาวัลย์เปียงอยู่ในตระกูลพืชประเภทเถาวัลย์ พบมากตามป่า แต่สามารถนำมาปลูกได้ นับว่าเป็นความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการวิจัยสมุนไพรไทยภายหลังจากที่ใช้เวลาศึกษาและทดลองนายหลายปี" อธิบดีกรมวิทย์ฯ กล่าว



ลักษณะ ดอก  เถาวัลย์เปรียงลักษณะ ดอก เถาวัลย์เปรียง


นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า


นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่อยู่ระหว่างการศึกษาสารสกัดและทดลอง อาทิ พรมมิ ที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคอัลไซด์เมอร์ มังคุดที่มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง

อย่างไรก็ตามในส่วนของแมงลักคาที่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไข้หวัดนกจากการวิจัยในห้องปฏิบัติการ แต่จากการทดลองในคนพบว่ายังมีปัญหาในเรื่องการดูดซึมยาเข้าร่างกาย จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมหลังจากนี้

ทั้งนี้ "เถาวัลย์เปรียง" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens Benth หรือที่รู้จัดในชื่อท้องถิ่นว่า เถาตาปลา เครือตาปลา เครือเขาหนัง พานไสน ย่านเหมาะ

มีลักษณะเป็นไม้เถาขนาดใหญ่เป็นพุ่มเลื้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปวงรี ดอกออกเป็นช่อห้อยลงด้านล่าง มีสีขาว กลีบดอกสีม่องดำ ผลเป็นฝักแบนเล็ก มีเมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย แก้เส้นเอ็นขอด ทำให้เส้นอ่อน บางแหล่งนิยมนำเถาหั่นตากแห้งคั่วไฟ ชงน้ำดื่มแทนชา ใช้แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ถ้าใช้ดอกเหล้าจะเป็นยาขับระดู และตามตำรับยาแผนโบราณยังนำมาใช้เป็นส่วนประกอบยาอายุวัฒนะเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง



ขอขอบคุณ : ข้อมูลข่าวที่มีคุณภาพ โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์