จุดกำเนิดของ กูเกิ้ล (The birth of Google)

Larry Page (ลาร์รี่ เพจ)Larry Page (ลาร์รี่ เพจ)


จุดกำเนิดของ กูเกิ้ล (The birth of Google)

ผศ.ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นักเขียนประจำ
วิชาการ.คอม



แหม เห็นแฟนๆเรียกร้องกันมามากมาย ก็เริ่มทนไม่ได้ครับ ต้องหาเวลาที่ว่างที่สุดของวันที่ไม่ค่อยว่าง ปั่นต้นฉบับเรื่องจุดกำเนิดของ Google ออกมาซักหน่อย เข้าใจว่าหลายคนคงเรียกร้องเพราะจะเอาไปทำรายงาน (ผมแนะนำให้ cut-paste ไปเลย – พูดเล่นครับ – เพราะถ้าทำจริงขอให้ได้ 0 และ คงได้ 0 แน่นอนครับ เพราะภาษาที่ผมใช้เขียนต่อไปนี้เป็นภาษาพูดครับ ไม่ใช่ภาษารายงาน อ่านแล้วก็เอาไปเรียบเรียงใหม่เป็นรายงานเองนะจ๊ะหนูๆ)


จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) อีกหนึ่งสุดยอดแห่งมหาวิทยาลัยด้านไอที (จริงๆแล้ว Stanford ก็จัดว่าเป็นอันดับต้นๆของโลกในสาขาอื่นๆอีกมากมาย ด้วยเช่นกัน) มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกจากจะเป็นต้นกำเนิดของสุดยอด 2 ไอเดียออนไลน์ระดับโลกอย่าง Yahoo! และ Google แล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ๆกันอยู่ด้วยซ้ำไป ที่นี่เป็นที่ที่ คุณ John von Neuman (จอห์น วอน นูแมน) คิดและประิดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมที่เหมือนกับที่เราใช้อยู่นี่แหล่ะ เป็นคนแรกของโลก (แม้จะไม่ใช่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกก็ตาม – สับสนมั้ยครับ – คืออย่างงี้ครับ คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกชื่อว่า ENIAC ซึ่งเป็นเครื่องที่มีความซับซ้อนสูง ต่อมาคุณ von Neuman ซึ่งก็ช่วยงานในการสร้างคอมพิวเตอร์ ENIAC อยู่ด้วย แกเสนอว่า เราน่าจะแยกส่วนของคอมพิวเตอร์ออกเป็น หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยรับเข้าและส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์เครื่องแรก และเป็นสถาปัตยกรรมที่เรายังใช้มาอยู่จนในปัจจุบัน หลายสถาบันก็เลยยกย่องให้ von Neuman เป็นบิดาของคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว) แหม! พูดถึงมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซะยืดยาวเลย พักไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวหาใครที่กำลังเรียนแถวนั้นมาบรรยายสรรพคุณของ Stanford ต่อ ตอนนี้เข้าเรื่องกูเกิ้ลดีกว่าครับ เดี๋ยวกระดาษจะหมดซะก่อน



 


Sergey Brin (เซอร์เก บริน1)Sergey Brin (เซอร์เก บริน1)

เรื่ิิองก็เริ่มตอนปิดเทอมภาคฤดูร้อนปี 1995 ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้แหละครับ ตอนนั้น Sergey Brin (เซอร์เก บริน1) 1 ใน 2 ของผู้ก่อตั้ง กูเกิ้ล เป็นแค่นักเรียนปริญญาเอก ที่กำลังจะขึ้นปี 2 ของภาควิชา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science) ธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่อาสาเข้ามาเป็นนักศึกษาช่วยงาน Open House

โดยปกติทุกๆปีในช่วงก่อนเปิดเทอมนี้ มหาวิทยาลัยต่างๆเค้าจะมีการเปิดบ้านต้อนรับผู้มาเยือน เราเรียกว่า Open House (ที่เมืองไทยก็เห็นมีบ้างแล้วหลายมหาวิทยาลัย) คือว่าใครที่สนใจที่จะเรียนในมหาิวิทยาลัยไหน คณะไหน ก็จะไปงาน Open House ของที่นั่น ที่จะมีคนมาคอยพาทัวร์ และแนะนำสถานที่ แนะนำคณะ แนะนำ Lab แนะนำครูอาจารย์ เป็นปกติเหมือนทุกๆปี แต่ปีนี้เองพระเอกคนที่สองของเรา คือคุณ Larry Page (ลาร์รี่ เพจ) ก็โผล่มาในงาน Open House ในปีนี้ หลังจากได้ดีกรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (
Michigan
University
) มาหยกๆทั้งสองเจอกันเพราะ Larry Page ไปอยู่ในกลุ่มทัวร์ ที่มี Sergey Brin เป็นหัวหน้ากลุ่มทัวร์พอดี

ดูท่าว่างานนี้ไม่ใช่รักแรกพบครับ เพราะระหว่างทางที่เดินทัวร์มหาวิทยาลัย และเมือง San Francisco อยู่ ทั้งสองคนนี้ก็มีเรื่องให้ถกเถียงกันได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องของการจัดผังเมืองของ San Francisco (??!!??)

Page เล่าให้ฟังว่าตอนนั้นเค้าจำได้ว่า Sergey Brin เป็นคนที่มีความคิดที่ค่อนข้างจะติดยึด
เป็นคนที่ไม่ค่อยโสภาที่น่าจะอยู่ใกล้เท่าไหร่ ถ้าคิดว่าตัวเองถูกละก็จะเีถียงหัวชนฝา ซึ่งบังเอิญว่า ตัวเอง (Page) ก็เป็นคนแบบนั้น ส่วน Sergey ก็บอกว่าจริงๆแล้ว Larry ก็ออกจะแปลกๆอยู่เหมือนกันแหละ เถียงหัวชนฝา ไม่ค่อยยอมใคร (เอากันเข้าไป มิน่าหล่ะ เถียงกันได้ทั้งวัน)

เอาเป็นว่า ทั้งคู่ถกเถียงกันเรื่องต่างๆทั้งวันที่เดินทัวร์ แม้จะไม่ลงรอยด้วยดี แต่ทั้งคู่ก็จำกันได้ดีก่อนจะแยกจากกันในตอนเย็น (แหม! พล็อตยังกับหนังไทยเลยครับ พระเอกกับนางเอกเจอกันครั้งแรกจะต้องมีทะเลาะตบตี ต่างคนต่างบอกว่าเกลียด แต่ในใจคิดถึงอยู่)

อีก 2-3 เดือนถัดมา มหาวิทยาลัยก็เปิดเทอมครับ Page ก็เข้ามารายงานตัว และเลือก Prof. Terry Winograd ผู้เชี่ยวชาญด้านการโต้ตอบระหว่างคอมพิวเตอร์และมนุษย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และก็เริ่มมองหาหัวข้อวิทยานิพนธ์

พ่อของ Larry Page (ขณะนั้นเป็นอาจารย์ด้าน Computer Science อยู่ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน) บอกว่า Thesis ปริญญาเอก จะเป็นเหมือนกรอบ ที่จะคอยกำหนดอนาคต ด้านวิชาการของเราไปทั้งชีวิต ก่อนจะตัดสินใจเลือกทำให้ไตร่ตรองให้ดี ทำให้ Page ใช้เวลาอยู่นานในการเลือกหัวข้อทำวิทยานิพนธ์ หลังจากลองนึกๆดูสิบกว่าเรื่อง สุดท้ายก็มาลงที่เรื่อง World Wide Web นี่เอง


และแล้วจุดเริ่มต้นของไอเดียเล็กๆ ก็กลายเป็นไอเดียที่เปลี่ยนโลกอินเตอร์เน็ตทั้งใบ จุดกำเนิดของยักษ์ใหญ่ในวงการซอฟท์แวร์อีกตน ก็เริ่มขึ้นที่นี่ …

ขอขอบคุณที่มา : วิชาการดอทคอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์