ตัวช่วยจับสิ่งผิดปกติขณะหลับ

ตัวช่วยจับสิ่งผิดปกติขณะหลับ



         ก่อนฟันธง 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าสาเหตุของสภาพฟันสึกกร่อน อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อกราม ใบหน้าลามไปถึงไหล่ แถมยังปวดศีรษะหรือไมเกรนกำเริบหลังตื่นนอนนั้นมาจากพฤติกรรมการนอนขบเขี้ยว-เคี้ยวฟันหรือไม่ ผู้ที่กำลังสงสัยอาจปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ โดยอาจต้องพักค้างคืนที่โรงพยาบาลเพราะต้องเข้าไปนอนหลับภายในห้องปฏิบัติการที่มีอุปกรณ์ในการตรวจ

    อุปกรณ์ชิ้นสำคัญต้องยกให้เครื่องคอมพิวเตอร์ Polysomnography ที่จะบันทึกผลการตรวจวัดระดับการนอนหลับ วัดชีพจร รวมทั้งคลื่นสมอง การหายใจ และวัดระดับออกซิเจนในกระแสโลหิต วิเคราะห์ความผิดปกติของการนอนหลับได้ทั้งการนอนกัดฟัน การนอนขากระตุกขณะหลับ การนอนกรน การนอนไม่หลับ ซึ่งสามารถทราบผลได้ภายในวันรุ่งขึ้น

     ขณะที่การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ  Electromyography หรือ EMG ใช้เวลา 30 นาที – 1 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญสามารถเจาะจงการตรวจกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการนอนกัดฟันอย่างกล้ามเนื้อหน้าผากและกราม เพื่อตีกรอบปัญหาให้แคบลง แต่วิธีตรวจด้วย EMG จะทำให้รู้สึกเจ็บเล็กน้อย เนื่องจากต้องใช้เข็มพิเศษปักไปลงกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องการตรวจ เพื่อบันทึกผล

      เพิ่มเติมเรื่องราวน่ารู้สำหรับผู้ที่มักมีอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน ทั้ง ๆ ที่นอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืนอย่างเพียงพอ ทางการแพทย์สามารถตรวจหาความผิดปกติด้วยวิธี Multiple Sleep Latency Test หรือเรียกสั้น ๆ ว่า MSLT โดยใช้เวลาเพียง 5 นาที ขณะผู้ที่เข้ารับการตรวจงีบหลับเท่านั้น

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์