นักวิทยาศาสตร์สร้างความรู้สึกของการล่องหน

พลังของการล่องหนนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์นั้นหลงไหลมาเป็นเวลานานและเป็นแรงบันดาลใจของผลงานต่างๆ จากทั้งผู้สร้างและนักปราชญ์ทั้งหลาย ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งจาก Karolinska Institutet ที่สวีเดนนั้น ทีมนักประสาทวิทยาได้รายงานปรากฏการณ์มายาของการรับรู้ของการที่ตัวเองนั้นมีร่างกายล่องหน อีกทั้งยังได้แสดงให้เห็นว่า ความรู้สึกของการล่องหนนั้นเปลี่ยนการตอบสนองทางกายภาพต่อความเครียดในสถานการณ์ทางสังคมที่ท้าทายอีกด้วย

ประวัติศาสตร์ของวรรณกรรมนั้นได้แสดงถึงบทบรรยายอันเป็นที่รู้จักดีหลายชิ้นเกี่ยวกับการล่องหนและผลกระทบของมันต่อจิตใจของมนุษย์ และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์วัสดุได้แสดงให้เห็นว่า การทำให้วัตถุขนาดใหญ่ๆ เช่นร่างกายของมนุษย์ให้ล่องหนด้วยนั้นอาจจะเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่ไม่รู้แน่ชัดว่า การล่องหนนั้นจะส่งผลต่อการรับรู้ของร่างกายและสมองของเราอย่างไรบ้าง

ในบทความชิ้นหนึ่งจากวารสาร Scientific Reports นั้น กลุ่มนักวิจัยได้อธิบายมายาของการรับรู้จากการมีร่างกายล่องหน ซึ่งการทดลองดังกล่าวได้ให้ผู้เข้าร่วมทดสอบยืนขั้นและใช้หน้าจอสำหรับสวมศรีษะ จากนั้นพวกเขาก็ได้ถูกก้มหน้ามองร่างกายของตัวเอง แต่แทนที่จะได้มองเห็นร่างกายของตัวเองพวกเขากลับเห็นพื้นที่ว่างเปล่า และเพื่อจะกระตุ้นความรู้สึกของการมีร่างกายล่องหนนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำการสัมผัสร่างกายของผู้เข้าร่วมทดสอบในที่ต่างๆ ด้วยแปรงทาสีขนาดใหญ่ในขณะที่มืออีกข้างก็ถือแปรงทาสีอยู่และทำท่าทางเดียวกันกับมืออีกข้างหนึ่งในอากาศซึ่งผู้เข้าร่วมทดสอบสามารถมองเป็นได้

“ด้วยภายในเวลาที่น้อยกว่าหนึ่งนาที ผู้เข้าร่วมทดสอบส่วนใหญ่เริ่มที่จะมีการส่งผ่านความรู้สึกของการสัมผัสไปยังพื้นที่ว่างเปล่าที่ๆ พวกเขาเห็นแปรงทาสีขยับและรู้สึกถึงร่างกายล่องหนในตำแหน่งนั้น” Arvid Guterstam ผู้นำการวิจัยในครั้งนี้กล่าว “พวกเราได้แสดงให้เห็นในงานวิจัยครั้งก่อนว่า ปรากฏการณ์มายาอย่างเดียวกันนั้นสามารถสร้างในมือข้างหนึ่งได้ และงานวิจัยในครั้งนี้ได้สาธิตให้เห็นแล้วว่า ‘มายามือล่องหน’ นั้นสามารถขยายผลไปทั่วร่างกายได้ด้วย”

งานวิจัยดังกล่าว ได้ทำการตรวจสอบประสบการณ์มายาของการรับรู้กับผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 125 คน ซึ่งเพื่อสาธิตว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นใช้งานได้จริงๆ นักวิจัยจะทำท่าทางแทงในขณะที่ถือมืดอยู่ไปที่พื้นที่ว่างเปล่าซึ่งสะท้อนถึงส่วนหน้าท้องของร่างกายที่ล่องหนอยู่ โดยผู้เข้าร่วมทดสอบมีอาการเหงื่อออกเป็นการตอบสนองต่อการมองเห็นมีดนั้นเกิดขึ้นในขณะที่พวกเขากำลังเผชิญกับภาวะมายาแต่กลับไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆ เมื่อปรากฏการณ์มายาดังกล่าวได้ถูกทำลายลง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า สมองนั้นตีความภัยอันตรายในพื้นที่ว่างเปล่าว่า เป็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อร่างกายของตนเอง

ในอีกส่วนหนึ่งของการวิจัยครั้งนี้นั้น ทางนักวิจัยได้ทำการตรวจสอบว่า ความรู้สึกของการล่องหนนั้นส่งผลกระทบต่อความกังวลทางสังคมหรือไม่โดยการนำผู้เข้าร่วมทดสอบไปยืนด้านหน้ากลุ่มผู้ฟังซึ่งเป็นคนแปลกหน้า

“พวกเราพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจและระดับความเครียดที่ผู้เข้าร่วมทดสอบได้รายงานไว้ระหว่างการ ‘แสดง’ นั้นต่ำกว่าเมื่อพวกเขาได้เผชิญกับภาวะมายาร่างกายลองหนเมื่อเทียบกับการที่ต้องเผชิญกับภาวะดังกล่าวในพร้อมกับร่างกายของตัวเอง” Arvid Guterstam กล่าว “ผลลัพธ์เหล่านี้น่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะมันแสดงให้เห็นว่า ลักษณะทางกายภาพของร่างกายเราที่เรารับรู้ได้นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีที่สมองของเราประมวลผลเงื่อนงำต่างๆ จากสังคมด้วย”

พวกเขาหวังว่าผลลัพธ์ต่างๆ ของงานวิจัยชิ้นนี้จะมีประโยชน์ต่องานวิจัยทางการแพทย์ในอนาคต เช่นการพัฒนาการรักษาใหม่ๆ ของภาวะกังวลต่อสังคม เป็นต้น

“งานวิจัยติดตามผลต่างๆ นั้นควรที่จะตรวจสอบด้วยว่า ความรู้สึกของการล่องหนนั้นส่งผลอย่างไรก็การตัดสินใจทางด้านศีลธรรม เพื่อที่จะมั่นใจว่า เทคโนโลยีล่องหนในอนาคตนั้นไม่ทำให้พวกเราสูญเสียความรู้สึกถูกหรือผิดที่ Plato ได้เคยยืนกรานไว้เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว” ดร. Henrik Ehrsson ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ในแผนกประสาทวิทยาและผู้ควบคุมดูแลการวิจัยในครั้งนี้กล่าว


ที่มา : vcharkarn.com

นักวิทยาศาสตร์สร้างความรู้สึกของการล่องหน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์