พบยุงลายดื้อสารเคมี..ไม่ตายแค่สลบ

พบยุงลายดื้อสารเคมี..ไม่ตายแค่สลบ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการศึกษาและเฝ้าระวังยุงลายดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงในการควบคุมยุงลายตามภาคต่างของประเทศไทย พบว่ายุงลายเกือบทุกพื้นที่ดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงเพอร์เมทริน (permethrin) ชี้สาเหตุอาจเกิดจากการใช้สารเคมีดังกล่าวติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ยุงลายสร้างความต้านทานขึ้นมา

นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ ติดต่อโดยมียุงลายบ้านเป็นพาหะสำคัญ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากไม่มียารักษาแต่จะรักษาตามอาการเท่านั้น ส่วนวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา

วิธีป้องกันคือการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดและการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยการใช้ สารเคมีทีมีฟอส การพ่นหมอกควันหรือพ่นฝอยละเอียดด้วยสารเคมี permethrin , deltamethrin และ fenitrothion เพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค แต่การใช้สารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ยุงสร้างความต้านทานขึ้นมา

ส่งผลให้เกิดปัญหาการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ในการควบคุม ยุงลาย เพื่อศึกษาการดื้อต่อสารเคมีทีมีฟอสของลูกน้ำยุงลาย รวมทั้งการดื้อต่อสารเคมีที่ใช้พ่นกำจัดตัวเต็มวัยที่มีการใช้ในปัจจุบัน

พบยุงลายดื้อสารเคมี..ไม่ตายแค่สลบ


 เมื่อพบเจอยุงวิธีกำจัดยุงส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีหรือสเปรย์กำจัดแมลง นอกจากยุงจะไม่ตายแล้ว เมื่อยุงได้รับสารเคมี ยุงจะสามารถพัฒนาตัวเองเพื่อต่อต้าน โดยเมื่อแม่ยุงได้รับสารเคมี ลูกยุงที่อยู่ในท้องจะรับเอาสารเคมีแล้วสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อลูกยุงเกิดมาและได้รับสารเคมีชนิดเดิม ยุงก็ไม่ตาย ซึ่งปัจจุบันสารเคมีในท้องตลาด ไม่สามารถฆ่ายุงให้ตายได้ บริษัทก็ได้พัฒนาเพิ่มความเข้มข้นให้ผลิตภัณฑ์เรื่อยๆ ซึ่งส่งผลต่อผู้ใช้งาน ทำให้คนรับเอาสารเคมีและสะสมในร่างกายเกิดเป็นโรคภัยใหม่ๆ ขึ้นมา

หัวหน้าฝ่ายศึกษาและกำจัดแมลงโดยใช้สารเคมีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า วิธีการกำจัดยุง ที่จะไม่ทำให้ยุงสร้างภูมิคุ้มกันคือ การใช้ผงซักฟอก โดยผสม ผงซักฟอก 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 2 ลิตร หรืออาจใช้สบู่ละลายน้ำ หรือน้ำยาล้างจาน ละลายน้ำก็ได้ เมื่อผสมแล้วใส่ในขวดน้ำที่มีหัวเป็นเปรย์ฉีดพ่น นำไปใช้ฉีดพ่นเพื่อกำจัดยุงได้ เนื่องจากไปยับยั้งระบบหายใจของยุง และลูกยุงไม่สามารถพัฒนา สร้างภูมิคุ้มกันได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์






ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์