มลพิษของเสียง

มลพิษของเสียง


มลพิษของเสียง(Noise Pollution)


ถ้าจะพูดถึงเสียงในทางลบ มักจะใช้คำว่า noise

ถ้าจะพูดถึงเสียงในทางที่ดีมักใช้คำว่า sound





นิยามและความหมาย



มลพิษของเสียง หมายถึง

ภาวะแวดล้อมที่มีเสียงที่ไม่พึงปรารถนา รบกวนโสตประสาท จนอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงดังๆเสมอไป เสียงค่อยๆที่เราไม่ต้องการก็เป็นมลพิษทางเสียงได้ เช่น เสียงบ่น..(เกิดเป็นหญิงอย่าขี้บ่นให้มากเพราะจะเป็นการทำลายเสน่ห์ของตัวเองไปโดยไม่รู้ตัว อิอิ) หรือเสียงคนมาทวงหนี้ เป็นต้น

ปกติแล้วเสียงที่ไม่พึงปรารถนานั้น

เรามักมองในแง่ของการเกินขนาดขีดจำกัด และเวลา ที่นานพอที่จะให้ก่อเกิดปัญหาต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ บางครั้งเสียงนั้นอาจไม่นานพอที่จะสร้างมลพิษได้ ส่วนขนาดของเสียงอาจสามารถสร้างให้เกิดปัญหากับคนๆหนึ่ง แต่กับอีกคนๆหนึ่งอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาก็ได้ ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ รูปร่าง สภาพจิตใจในตอนนั้น ฯลฯ

มลพิษของเสียง


ศัพท์น่ารู้



Noise หมายถึง

เสียงที่ไม่ปรารถนา และเกินขีดความสามารถในการที่จะรับได้ ซึ่งมีที่มาหลายๆแหล่ง เช่น จากธรรมชาติ สิ่งก่อสร้าง เครื่องจักร ฯลฯ..หรือเสียงน้ำหยดติ๋งๆในยามค่ำคืนก็รบกวนโสตประสาทได้ เสียงหมาโก่งคอขันเยือกเย็นในยามค่ำคืนที่เราบังเอิญอยู่คนเดียวที่มีงานศพใกล้บ้าน เป็นต้น...เสียงซ่าๆที่ปนมากับเสียงเพลงจากเนื้อเทป เป็นต้น

Sound หมายถึง

เสียงที่มีความไพเราะ ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต เช่น กระซิบคำว่ารักอย่างแผ่วเบาภายใต้บรรยากาศที่โรแมนติกในยามคำคืน (แต่ถ้ากระซิบผิดคนก็เป็นเรื่อง เช่น ไปกระซิบกับน้องเมียงี้...อาจถึงตายหรือพิการได้) เสียงดนตรี(ที่ชอบ..บอกเน้นว่าที่ชอบด้วยเพราะบางคนชอบฟังดนตรีต่างกัน) เป็นต้น

พิทซ์ (Pitch) หมายถึง

ความถี่ของเสียง(Frequency of sound) วัดเป็น cycle per second หรือคิดเป็นหน่วยที่เรียกว่า Hertz(Hz) ซึ่งหมายถึงจำนวนรอบ/วินาทีของคลื่นเสียง ปกติหูคนเราจะรับเสียงได้ในช่วงความถี่ประมาณ 20 - 20,000 Hz ค่าที่น้อยหมายถึงเสียงที่มีความถี่ต่ำ ค่าที่มากๆจะมีความถี่ของเสียงสูงหรือที่เรียกว่าเสียงแหลม

Intensity (ความหนักเบาของเสียง) หมายถึง

ความดังของเสียง (pressure of sound) ที่มีหน่วยวัดเป็น bel ซึ่งเป็นหน่วยใหญ่เกินไป จึงนิยมใช้หน่วยเดซิเบล (Decibel , dB)หูคนเราสามารถรับเสียงดังตั้งแต่ 0 - 120 dB(0 dB หมายถึงเสียงเบาที่สุดที่จะได้ยิน ไม่ใช่แปลว่าไม่มีเสียง)

มลพิษของเสียง


แหล่งกำเนิดเสียงเป็นพิษ


ในธรรมชาติปกติก็มีเสียงอยู่แล้วเช่น สายลม แมกไม้ นกร้อง ฯลฯ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาบ้างแต่คงไม่มากมายนัก ส่วนเสียงเป็นพิษที่เกิดจากฝีมือมนุษย์พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

เสียงจราจรทางบก เช่น รถไฟ รถบรรทุก รถยนต์ วัดได้ค่าระหว่าง 65 - 95 dB (ในกรุงเทพฯ)

เสียงจากการจราจรทางอากาศ เช่นเสียงเครื่องบินขึ้นลงที่ดอนเมืองวัดได้ระหว่าง 70 - 95 dB

เสียงการจราจรทางน้ำ เช่น เรือหางยาว เรือยนต์ วัดได้ระดับ 80 -110 dB (มากกว่าเครื่องบินเสียอีก)

เสียงยายเม้าปากปลาร้า ไม่มีใครกล้าวัดเพราะถูกแกด่ากระเจิงไปเสียก่อน ^_^

เสียงจากแหล่งชุมชน เมือง ตลาด ย่านการค้า วัดได้ค่าระหว่าง 60 - 70 dB

เสียงภายในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย วัดได้ระหว่าง 60 -120 dB

เสียงจากเครื่องจักรทางเกษตรกรรม การก่อสร้าง 60 - 120 dB

เสียงจากอู่ซ่อมรถและเครื่องกล 98 - 110 dB

เสียงจากแหล่งบันเทิง 10 - 120 dB ขึ้นอยู่กับว่าบันเทิงแบบไหน ถ้าในเท็คก็มากหน่อย ถ้าในนวดแผนโบราณก็น้อยหน่อย...(ไม่เค้ยไม่เคยเข้าไปจริงๆ อิอิ) ส่วนนวดแผนอนาคตยังไม่เคยเห็น ที่จริงน่าจะมีนะ ^_^ เพราะนวดแผนโบราณมีมากแล้ว

มลพิษของเสียง



อันตรายต่อระบบการได้ยิน

เสียงที่ดังนานและดังมากพอจะไปทำลายเยื่อปลายประสาทและเซลล์ประสาทได้ ซึ่งมีผลทำให้หูตึงแบบชั่วคราวหรือแบบถาวรได้

อันตรายต่อด้านจิตใจ

ทำให้เกิดความรำคาญ หงุดหงิด ไม่สบายใจ นอนไม่หลับ เครียด เป็นโรคประสาท โดยเฉพาะเสียงบ่น ท่านที่เป็นสุภาพสตรีอย่าบ่นให้มากเพราะเป็นการผลักภาระให้แก่ผู้อื่น คือคนบ่นสบายใจที่ได้บ่น แต่คนฟังจะบ้าตาย เพราะส่วนใหญ่พวกผู้ชายจะ "ใช้ความสงบ สยบการเคลื่อนไหว" รับมือการขบวนท่า "บ่นสลายวิญญาณ " ของผู้หญิง (แต่ก็มีผู้ชายบางท่านใช้แม่ไม้มวยไทยเข้าต่อกรก็มี)

รบกวนต่อการสื่อสาร

เป็นบ่อเกิดของปัญหาและขัดขวางการได้ยินสัญญาณอันตรายต่างๆ เช่น สามีมัวแต่สนใจกับเสียงด่าของภรรยา จึงไม่ทันได้ยินเสียงลูกที่ร้องบอกให้หลบ "สากบินไร้เงา" ที่กำลังพุ่งมาที่ศีรษะ หรือการที่คนคุยกันไม่รู้เรื่องในห้องอาหารที่มีเสียงดนตรีดังๆ(แต่บางคนก็ชอบเพราะเป็นข้ออ้างอย่างหนึ่งในการกระแซะ กระดึ๊บ..กระดึบ เข้าหาฝ่ายเอ๊ย....เพศตรงข้าม แบบคุยกันอย่างใกล้ชิดได้โดยไม่น่าเกลียด)



รบกวนการทำงาน

ทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เช่น คนขับสิบล้อที่มีภรรยาและแม่ยายบ่นอยู่ข้าง ๆ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะคนขับฟังไปฟังมาเห็นหน้ารถคันอื่นเป็นหน้าภรรยาและแม่ยายเลยลืมตัวหักรถเข้าชน

อันตรายต่อสุขภาพทั่วไป

เสียงดังจะทำให้เครียดมาก อาจทำให้เกิดโรคทางกาย เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคแผลในกระเพาะอาหาร เพราะทำให้เครียด กรดเกลือ(ไฮโดรคลอริก)จึงมีการหลั่งในกระเพาะอาหารมาก หัวใจเต้นแรง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้

มลพิษของเสียง


แนวทางในการป้องกันมลพิษทางเสียง



1. ควบคุมทางวิศวกรรม เช่น บำรุงรักษาเครื่องยนต์ สร้างวัสดุกันเสียง

2. ควบคุมตรวจสอบปรับปรุงถนนหรือยานพาหนะที่เสียงดัง

3. ออกกฎหมายควบคุมแหล่งกำเนิดเสียง ทุกๆ แห่ง ให้มีเสียงอยู่ในขีดจำกัด

4. ปลูกบ้าน หรือย้ายบ้านหนีไปให้ไกลจากแหล่งกำเนิดเสียง หรือพาตัวออกให้ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง ในทางปฏิบัติเช่น เดิน หรือวิ่งหนี ^_^ สั่งลาบ้ายบายกับอดีตภรรยาขี้บ่นเสีย..ไปหาสาวเสียงหวานๆมาแทน ^_^ ถ้าบ่นอีกก็หนีอีกที..จะหาคนที่ไม่สร้างมลพิษทางเสียงไม่ได้ก็ให้รู้ไปจะต้องใช้วัสดุกันเสียงในการก่อสร้าง ปลูกต้นไม้ภายในบ้านบุผนังด้วยวัสดุดูดกลืนเสียงเพื่อลดความดังของเสียงภรรยา ^_^


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ กิตติยาดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์