มาตรฐานน้ำปลาไทย

มาตรฐานน้ำปลาไทย


มาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำปลาพื้นเมืองนี้ กำหนดชั้นคุณภาพ

 คุณลักษณะที่ต้องการ วัตถุเจือปน อาหาร ภาชนะบรรจุ เครื่องหมายและฉลาก การจัดตัวอย่าง และเกณฑ์ตัดสิน การตรวจสอบ และการวิเคราะห์น้ำปลา เป็นมาตราฐาน ที่ผู้ผลิตน้ำปลา ประสงค์จะขอรับ เครื่องหมาย มาตราฐานเท่านั้น ซึ่งกำหนดเฉพาะ น้ำปลาแท้ ชนิดเดียว และแบ่งชั้นคุณภาพ สำหรับให้ผู้บริโภค สามารถเลือก ซื้อได้ มาตราฐานอุตสาหกรรม น้ำปลาพื้นเมือง เป็นมาตราฐาน ทั่วไป ไม่ใช่ มาตราฐานบังคับ มีการกำหนดคุณภาพของน้ำปลา ไว้ดังนี้

1. น้ำปลาแบ่งเป็นชั้นคุณภาพที่ 1 และ 2
2. น้ำปลาจะต้องใส มีกลิ่น รส และสีของน้ำปลา
3. มีเกลือใหม่น้อยกว่า 230 กรัมต่อลิตร
4. มีธาตุไนโตรเจนทั้งหมดจากกรดอะมิโนไม่น้อยกว่า 10 กรัมต่อลิตร สำหรับ     ชั้นคุณภาพที่ 1     และไม่น้อยกว่า 7.5 กรัมต่อลิตรสำหรับชั้นคุณภาพที่ 2
5. มีธาตุไนโตรเจนจากกรดอะมิโนไม่น้อยกว่า 10 กรัมต่อลิตร สำหรับชั้นคุณภาพที่ 1      และไม่น้อยกว่า 7.5 กรัมต่อลิตร สำหรับชั้นคุณภาพที่ 2
6. มีอัตราส่วนของกรดลูตามิคต่อปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดอยู่ระหว่าง 0.4-0.6
7. ไม่ใช้สี เว้นแต่สีน้ำตาลเคี่ยวไหม้เท่านั้น
8. ห้ามใช้วัตถุกันเสีย
9. ห้ามใช้วัตถุที่ให้ความหวานชนิดอื่น นอกจากน้ำตาล
10. ภาชนะบรรจุที่ใช้ต้องสะอาดและทนต่อการกัดกร่อน
11. ปริมาณสุทธิต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ฉลาก
12. การแสดงเครื่องหมายและฉลากมีดังนี้
     + คำว่า "น้ำปลา"
     + ชั้นคุณภาพ
     + ปริมาตรสุทธิเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร
     + ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือแบ่งบรรจุ
     + ในกรณีที่ส่งจำหน่ายต่างประเทศให้ระบุประเทศผู้ผลิต
     + เครื่องหมายมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะแสดงได้เมื่อได้รับอนุญาต


          มาตราฐานน้ำปลา ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 118 (2532) กับมาตราฐานของ กระทรวงอุตสาหกรรม มีข้อแตกต่าง ในเรื่องการอนุญาต ให้ใช้วัตถุ เจือปนอาหาร โดยประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ยอมให้ผู้ผลิตใช้ โซเดียมเบนโซเอทได้ ไม่เกินร้อยละ 0.1 แต่ไม่อนุญาต ให้ใช้วัตถุกันเสีย สำหรับน้ำปลา ที่ขอแสดงเครื่องหมาย มาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำปลาพื้นเมือง


          สำหรับมาตราฐานน้ำปลาที่ส่งจำหน่ายต่างประเทศ จะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของ แต่ละประเทศ ซึ่งน้ำปลาที่ส่งออก ไปบางประเทศ จะถูกตรวจสอบคุณภาพ ตามมาตราฐานที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก่อน นอกเหนือจากการตรวจปริมาณสาร ฮีสตามีน ที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนดไว้ เป็นมาตราฐาน ด้านความปลอดภัย โดยทั่วไป ยังไม่มี ข้อกำหนด ของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำอื่น คือ ปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดปริมาณฮีสตามีนไว้ที่ 2 ระดับคือ 50มก./100 ก.เป็นระดับอันตราย (Hazard action level) เช่นเดียวกับกลุ่มสหภาพยุโรป ออสเตรเลียกำหนดไว้ไม่เกิน 20มก. /100ก. สำหรับปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง แต่สำหรับประเทศแคนนาดา ได้กำหนด ปริมาณฮีสตามีนในน้ำปลาไว้ที่ 20มก./100ก. และปริมาณสูงสุดไม่เกิน 50มก./100มก. สำหรับผลิตภัณฑ์ประมง ทั่วไป และถ้าตรวจพบว่ามีปริมาณเกิน 50 มก./100 ก. สินค้านั้นจะถูกปฏิเสธการนำเข้า โดยไม่มีการตรวจซ้ำใหม่



         การผลิตน้ำปลาที่มีคุณภาพได้มาตราฐานที่กำหนด ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้ผลิตและประเทศชาติ ดังนี้

1. ผู้บริโภคได้รับคุณค่าทางโภชนาการ ในด้านโปรตีนของเนื้อปลา นอกจากนั้น      ยังพบว่า   น้ำปลาแท้มีปริมาณวิตามินบีสิบสอง เกลือแร่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส      เหล็ก และไอโอดีน
2. ผู้บริโภคปลอดภัยจากสารพิษ หรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อร่างกายภายหลัง      เมื่อบริโภคแล้ว
3. ผู้ที่บริโภคปลอดภัยได้รับความเป็นธรรมในการซื้อน้ำปลาตามราคาที่เหมาะสม
4. ผู้ผลิตสร้างความเชื่อถือในคุณภาพน้ำปลาต่อผู้บริโภค
5. ผู้ผลิตมีโอกาสขยายตลาดภายในและต่างประเทศ      เนื่องจากธุรกิจด้านการประกอบอาหารขยายตัว

ขอขอบคุณสาระดีดี จาก
 

นางสาววราทิพย์ สมบัญญฤทธิ
สถาบันวิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์