วว.เพาะเห็ดญี่ปุ่นได้ สีเหลือง ฉลองปีมหามงคล

วว.เผยเพาะเห็ดใหม่ได้ 2 พันธุ์


เห็ดนางรมทอง ให้สีเหลืองฉลองปีมหามงคลและเห็ด ชิเมจิขาว พร้อมถ่ายทอดให้เอกชนต่อยอดเชิงพาณิชย์

ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี


ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยว่าทางสถาบันได้พัฒนาเห็ดเมืองหนาวพันธุ์ใหม่ขึ้นมา 2 พันธุ์ ได้แก่ เห็ดนางรมทอง (Golden Oyster Mushroom) ที่ให้สีเหลืองขณะที่สายพันธุ์มีสีเทา ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องพิเศษที่พัฒนาได้สีเหลืองและตรงกับปีมหามงคล และเห็ดอีกชนิดคือ เห็ดชิเมจิขาว (White Buna-shimeji) ที่มีสีขาวแต่สายพันธุ์เดิมมีสีเทา

ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี แนะนำเห็ดจากการพัฒนาของ วว.ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี แนะนำเห็ดจากการพัฒนาของ วว.



ทั้ง 2 พันธุ์พัฒนามาจากเห็ดเมืองหนาวของญี่ปุ่น


และพร้อมจะถ่ายให้เอกชนนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์เช่นเดียวกับ เห็ดเข็มทอง ที่เคยประสบความสำเร็จในการพัฒนาสายพันธุ์เช่นกัน สำหรับเห็ดชิเมจิขาวนั้นพัฒนาได้เมื่อประมาณ ต.ค.49 ส่วนเห็ดนางรมทองพัฒนาได้ช่วงปลายปี 2549

ทั้งนี้ได้มีวิจัยการเพาะเห็ดเมืองหนาวขึ้น


ที่ศูนย์ประสานงานพัฒนาเกษตรที่สูง วว. ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.ดอยปุย จ.เชียงใหม่ และ ดร.นงลักษณ์ยังได้นำชมสถานที่เพาะเห็ดตั้งแต่ขั้นตอนการผสมและบรรจุอาหารลงภาชนะเพาะเห็ด จนถึงห้องเย็นที่รักษาอุณหภูมิเพาะเห็ดคงที่ 12-14 องศาเซลเซียส โดยงบประมาณในการสร้างสถานที่เพาะเห็ดดังอยู่ที่ 40-50 ล้านบาท

ดร.ชนะ พรหมทองดร.ชนะ พรหมทอง


ทางด้าน ดร.ชนะ พรหมทอง นักวิจัยและหัวหน้าศูนย์ประสานงานพัฒนาเกษตรที่สูง วว.กล่าวว่า


วัสดุหลักที่ใช้เพาะเห็ดคือขี้เลื่อย ผสมอาหารเสริมสำหรับเห็ด รำข้าวและส่วนผสมที่ให้โปรตีนหรือไนโตรเจน แล้วนำไปฆ่าเชื้อก่อนนำไปเพาะเห็ดแต่ละชนิด โดยจะเพาะที่ห้องเย็นซึ่งควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ ส่วนจะเพาะข้างนอกโรงเรือนที่มีอากาศอยู่แล้วก็เพาะได้แต่ไม่ค่อยดีนัก ทั้งนี้ทางศูนย์ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพาะเห็ดเข้มทองและเห็ดเออรินจิหรือเห็ดนางรมหลวงไปแล้ว ต่อไปจะถ่ายทอดเห็ดชิเมจิ

เห็ดนางรมทองที่ให้สีเหลือง โดยพันธุ์เดิมที่นำมาพัฒนานั้นมีสีเทาเห็ดนางรมทองที่ให้สีเหลือง โดยพันธุ์เดิมที่นำมาพัฒนานั้นมีสีเทา


พร้อมกันนี้ ดร.ชนะยังได้เผยอีกว่า


เห็ดมีสรรพคุณในการควบคุมการเติบโตของเซลล์มะเร็ง บางชนิดมีฤทธิ์ควบคุมมะเร็งกระเพาะอาหาร บางชนิดควบคุมมะเร็งเต้านม อย่าง เห็ดหัวลิง (Monkey Head) ก็มีฤทธิ์ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีงานวิจัยของทางญี่ปุ่นออกมายืนยัน

ขั้นตอนการบรรจุอาหารลงขวดเพาะเห็ดขั้นตอนการบรรจุอาหารลงขวดเพาะเห็ด


อย่างไรก็ตามการบริโภคเห็ดยังมีข้อควรระวัง


ซึ่ง ดร.ชนะได้แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงเห็ดที่มีสีสัน แต่เห็ดเพาะบางตัวที่มีสีสันก็สามารถรับประทานได้ ทั้งนี้พยายามบริโภคเห็ดให้ลากหลายชนิดและไม่ควรบริโภคแบบดิบๆ เพราะไม่ได้ประโยชน์ เนื่องจากเบต้า-กลูแคน(Beta-Glucan) ที่เป็นสารป้องกันมะเร็งนั้นไม่แตกตัวเนื่องจากไม่สุก และยังส่งผลให้ย่อยได้ยากตามมา นอกจากนี้ห้ามรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะมีปัญหาเรื่องการย่อย อีกทั้งผู้ที่เป็นโรคเก๊าห้ามรับประทานเห็ดเพราะจะไปกระตุ้นการสะสม ยูริก ตามข้อในร่างกาย

เห็ดชิเมจิขาวซึ่งเป็นเห็ดอีกพันธุ์ที่ วว.พัฒนาขึ้นมาใหม่เห็ดชิเมจิขาวซึ่งเป็นเห็ดอีกพันธุ์ที่ วว.พัฒนาขึ้นมาใหม่



ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก โดย: ผู้จัดการออนไลน์


มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์